TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Business Binance พาย้อนรอยโลกคริปโทปี 2022 เผยท่ามกลางเรื่องร้าย ยังมีเรื่องดีซ่อนอยู่

Binance พาย้อนรอยโลกคริปโทปี 2022 เผยท่ามกลางเรื่องร้าย ยังมีเรื่องดีซ่อนอยู่

ปี 2022 ถือเป็นปีที่หนักหน่วงสำหรับแวดวงคริปโทและบล็อกเชน เนื่องจากการเกิดเหตุการณ์ที่ทำลายความเชื่อมั่นจนทำให้ทั้งนักลงทุนรวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลมองอุตสาหกรรมคริปโทและบล็อกเชนเปลี่ยนไป และส่งผลกระทบในระยะยาวซึ่งอุตสาหกรรมคริปโทจำเป็นต้องพยายามกู้คืนความเชื่อมั่นกลับมา

แต่ทั้งนี้ หากมองให้ลึกลงไปจะพบว่า ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมคริปโทก็ยังมีเรื่องราวดี ๆ ซ่อนอยู่ ทั้งในด้านความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขยายการเข้าถึง การเปิดตัวโซลูชันใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงข้อคิดที่ได้จากบทเรียนครั้งสำคัญที่เพิ่งเกิดขึ้น

BUIDLing – การสร้างและพัฒนาเพื่อการใช้งานในวงกว้าง – ด้านการขยายเครือข่ายบล็อกเชนให้รองรับธุรกรรมได้มากขึ้น

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผู้คนในอุตสาหกรรมต่างพยายามพัฒนาโซลูชันในการขยายเครือข่ายบล็อกเชน (Scalability) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะความพร้อมดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติอันพึงประสงค์ 3 ประการของบล็อกเชน (Blockchain Trilemma) เช่นเดียวกับความปลอดภัย (Security) และการกระจายศูนย์ (Decentralization) ซึ่งเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2022 ที่ผ่านมา อีเธอเรียมได้ทำการอัปเกรด The Merge หรือการเปลี่ยนกลไกจากระบบ Proof-of-Work เป็น Proof-of-Stake เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้งานในวงกว้าง โดยการเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับความพร้อมด้านการขยายเครือข่าย หรือ scalability ที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมนับตั้งแต่การเปิดตัว Taproot ของบิทคอยน์ รวมถึงยังช่วยให้เครือข่ายอีเธอเรียมสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 99.95% อีกด้วย

ด้านการเพิ่มการเข้าถึงบริการและทรัพยากรคริปโท

การเข้าไม่ถึงการใช้งานคริปโทถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต้องเร่งแก้ไข เพราะถ้าไม่สามารถขยายการเข้าถึงในวงกว้างได้ การใช้งานคริปโทอย่างแพร่หลายก็ไม่มีทางเกิดขึ้น ดังนั้นในปีที่ผ่านมา Binance จึงได้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มการเข้าถึงบริการและทรัพยากรด้านคริปโทมาโดยตลอด ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มให้สามารถรองรับได้มากถึง 40 ภาษา การเปิดใช้งาน Binance Cards กว่า 1.7 ล้านใบให้ผู้ใช้งานในเขตเศรษฐกิจยุโรป และปัจจุบัน Binance มีผู้ใช้งาน Binance NFT มากกว่า 6 แสนรายต่อสัปดาห์ รวมถึงจัดการธุรกรรมคริปโทมูลค่าราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน

ด้านความปลอดภัยและการกำกับดูแลกฎระเบียบ

ปีที่ผ่านมาช่วยให้เราเห็นว่าหากต้องการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้า ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยและการกำกับดูแลกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดเพื่อให้สามารถปกป้องผู้ใช้งานคริปโทจากผู้ไม่ประสงค์ดีให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับ Binance เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ได้ทำการจดทะเบียน การขอใบอนุญาต และขออนุญาตเข้าดำเนินกิจการมากถึง 14 รายการในประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงประเทศเศรษฐกิจสำคัญอย่างดูไบและฝรั่งเศส พร้อมเสริมความแข็งแกร่งด้านการกำกับดูแลกฎระเบียบ ด้วยการขยายทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลจนมีจำนวนถึง 750 คน เพิ่มขึ้น 500% เมื่อเทียบกับปี 2021 รวมถึงการยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ด้วยการอนุญาตเฉพาะผู้ใช้งานที่ยืนยันตัวตนด้วยเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการให้สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์ม Binance ได้เท่านั้น ซึ่งนี่ถือเป็นแนวทางที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานในระบบนิเวศของเรามีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ความคืบหน้าของการใช้งานในระดับโลก

ถึงแม้ว่าตลาดคริปโทจะเผชิญกับความท้าทายและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโดยรวม แต่การใช้งานคริปโททั่วโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับผู้ใช้รายย่อยและองค์กรต่างๆ ที่เริ่มนำเครื่องมือและบริการบล็อกเชนมาปรับใช้ โดยตัวเลขจากผู้ตอบแบบสอบถามของ Statista เผยว่า ปีที่ผ่านมาการครอบครองและใช้งานคริปโทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องใน 56 ประเทศหลักที่มีการสำรวจเมื่อเทียบกับปี 2021 ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการครอบครองและใช้งานคริปโทกว่า 44% ซึ่งถือเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศไนจีเรีย นับว่าอัตราการเติบโตที่สูงเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวตรงกับรายงานของ Hootsuite แพลตฟอร์มเครื่องมือจัดการโซเชียลมีเดียระดับโลก ที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยติด 5 อันดับแรกของจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถือครองคริปโทในกลุ่มอายุ 16 – 64 ปี โดยยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2027 จำนวนผู้ถือครองคริปโทในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 5.12 ล้านคนเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ Binance Research พบว่า ในปีที่ผ่านมามีองค์กรดั้งเดิมหลายแห่งเริ่มเข้าสู่วงการคริปโตทและมีการนำคริปโทและเทคโนโลยีบล็อกเชนมาปรับใช้ อาทิ JPMorgan, Rakuten, Tencent, Tesla, Instagram, PayPal, American Express, Nasdaq, McDonald’s, Google Cloud, Mastercard, Sony และ Nike ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอนาคตอันสดใสของการยอมรับเทคโนโลยีบล็อกเชน ตลอดจนการใช้งานและคุณค่าที่แท้จริงของคริปโทที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

บทเรียนสำคัญจากปี 2022

อุตสาหกรรมคริปโทยังคงต้องมีความฉับไว พร้อมรับมือเหตุการณ์เขย่าวงการได้อย่างทันท่วงที

ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมคริปโทมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนการยอมรับคริปโทและพัฒนาเทคโนโลยีเป็นหลัก จนทำให้หลายบริษัทหลงลืมถึงการเตรียมพร้อมรับมือต่อเหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ ซึ่งจากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ทำให้แพลตฟอร์มคริปโทต้องพยายามมากขึ้นเพื่อที่จะลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ต่าง ๆ และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มความโปร่งใส ยกระดับเกณฑ์การบริหารความเสี่ยง ตลอดจนส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้ใช้งาน

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การปฏิบัติตามกฎระเบียบถือเป็นหนึ่งเรื่องที่ Binance ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเมื่อปี 2022 Binance ได้ทำการขยายจำนวนทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลจาก 500 คนเป็น 750 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเสริมความแข็งแกร่งในด้านการกำกับดูแลกฎระเบียบให้เกิดขึ้นจริง อีกทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ Binance ยังได้ประกาศการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Association of Certified Sanctions Specialists (ACSS) องค์กรเดียวที่เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตร เพื่อนำข้อมูลจากสื่อการฝึกอบรม ฐานข้อมูลที่ครอบคลุม และเครือข่ายเชิงลึกภายใน ACSS มาเพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญให้กับทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลของ Binance เพื่อเดินหน้าในการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบควบคู่ไปกับผู้เล่นรายอื่น ๆ ต่อไป

จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต?

อุตสาหกรรมคริปโทเติบโตขึ้นอย่างเกินความคาดหมายในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา และแม้ว่าจะมีเหตุการณ์ด้านลบเกิดขึ้นในปี 2022 แต่อย่างไรก็ตามเราก็ได้สร้างความสำเร็จและความคืบหน้าต่างๆที่ไม่อาจคาดหมายได้เมื่อ 2-3 ปีก่อน ซึ่ง Binance ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโทที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ปริมาณการซื้อขาย ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เราจึงศึกษาเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา พร้อมร่วมพูดคุยเพิ่มเติมกับผู้กำหนดนโยบาย รวมถึงการเรียกร้องให้ผู้ประกอบการรายอื่นดำเนินการเช่นเดียวกัน เพื่อเดินหน้าสู่หนทางการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโทที่มั่นคงยั่งยืนต่อไป

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ข้อดีของ “การกระจายอำนาจ” ใน “คริปโทเคอร์เรนซี”

Hardware Wallet คืออะไร ทำไมเป็นที่ต้องการของนักลงทุนคริปโท?

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

AGS ร่วมกับ DIPT ติดปีกสินค้าไทย ขายออนไลน์ข้ามพรมแดนกับ Amazon

อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ร่วมกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เสริมศักยภาพภาคธุรกิจให้ได้รับประโยชน์จากขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ

สปสช. จับมือกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีจัดสรรสถานพยาบาลให้ผู้มีสิทธิบัตร

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จัดสรรสถานพยาบาลประจำแก่ผู้มีสิทธิบัตรทองที่ยังไม่มีสถานพยาบาลประจำ 1.9 แสนคน

มาม่า โอเค เปิดตัว 2 รสชาติใหม่ ใช้ CHAT GPT ช่วยคิดไอเดียโฆษณา หวังเจาะกลุ่ม Gen Z

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดตัวมาม่า โอเค 2 รสชาติใหม่ รสหม่าล่าเนื้อ และ เห็ดทรัฟเฟิล นำ CHAT GPT ต่อยอดไอเดียจัดทำเป็นภาพยนตร์โฆษณา

โตชิบ้า ยืนยัน ข่าวขายกิจการในต่างประเทศ ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจในไทย

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ ส่งจดหมายชี้แจง กรณีที่มีข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก เกี่ยวกับ “บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชัน จำกัด ปิดดีล ขายกิจการมูลค่า 2 ล้านล้านเยน

SCB 10X เปิดเวที Hackathon เฟ้นหาทีมนักพัฒนา ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยบล็อกเชน

เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เปิดเวที “BANGKOK BLOCKATHON 2023” ภายใต้แนวคิด “Blockchain for the Next Billion Users”

GRAMMY x RS ตั้งบริษัทร่วมทุน เตรียมจัด 3 คอนเสิร์ตใหญ่ ก.ค.- ต.ค. นี้ เมืองทองธานี

GMM MUSIC และ RS MUSIC ประกาศจัดตั้ง กิจการร่วมค้าอะครอสเดอะยูนิเวิร์ส (Across The Universe Joint Venture) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดซีรีส์คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์

AWS เชื่อมั่นตลาดคลาวด์พุ่งไม่หยุด เล็งเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดส่ง ‘Lift’ ลุย SMB

อัตราการเติบโตของคลาวด์ในประเทศไทย ปี 2023 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 30% AWS เชื่อมั่นแผนรับมือที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มคู่ค้า จัดทีมดูแลลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

Blendata เปิดบริการ Analytics as a Service ในรูปแบบ Pay Per Use

เบลนเดต้า (Blendata) เปิดตัวบริการใหม่ Analytics as a Service บริการวิเคราะห์ข้อมูลครบวงจร รองรับทุกความต้องการด้าน Data Analytics ในรูปแบบการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก WeChat Pay จัดแคมเปญใหญ่ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผนึก WeChat Pay ผู้ให้บริการ E-Wallet รายใหญ่จากประเทศจีน มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวก รวดเร็ว

ดีป้า จับมือพันธมิตร เปิดตัว Tech Thailand แพลตฟอร์มชุมชนคนสายเทค

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์ฟ็อกซ์ จำกัด ร่วมเปิดตัว Tech Thailand

MUST READ

NETA ผนึก กฟผ. เสริมความแข็งแกร่งระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของไทย

บริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด จับมือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เดินหน้าสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศ

SCB 10X เปิดเวที Hackathon เฟ้นหาทีมนักพัฒนา ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยบล็อกเชน

เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เปิดเวที “BANGKOK BLOCKATHON 2023” ภายใต้แนวคิด “Blockchain for the Next Billion Users”

ไฮฟ์กราวนด์ จับมือ ยนต์ผลดี ลุยโมเดลนาข้าวอัจฉริยะด้วยโดรน

ไฮฟ์กราวนด์ เทค สตาร์ตอัพ สัญชาติไทย จับมือ ยนต์ผลดี บูรณาการเกษตรดั่งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่และหลักบริหารธุรกิจ นำร่องโมเดลสาธิตนาข้าวอัจฉริยะ 35 ไร่ ใน ต.หนองกรด จ.นครสวรรค์ ใช้เทคโนโลยีโดรน

ทรูออนไลน์ รับรางวัล บรอดแบนด์ดีที่สุดในไทย – อินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ดีที่สุดจาก nPerf 3 ปีซ้อน

ทรูออนไลน์ ย้ำศักยภาพผู้นำบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตของไทย คว้า 2 รางวัล เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันทั้ง “อินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ดีที่สุดในไทย” และ “อินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ดีที่สุด”

เหลียวหลังแลหน้า Swedish Model บทเรียนการจัดการป่าอย่างยั่งยืนจากสวีเดน “ตัดไม้ แต่ได้ป่า”

สวีเดน คือ ประเทศแห่งการส่งออกไม้เศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก มูลค่ารวมกว่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ด้วยการใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ (Forestry Act) ถ้าตัดต้นไม้หนึ่งต้น ต้องปลูกเพิ่มอย่างน้อยสามต้น เป็นที่มาของวลีที่ว่า ตัดไม้ แต่ได้ป่า
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น