TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistBitkub Onlineข้อดีของ "การกระจายอำนาจ" ใน "คริปโทเคอร์เรนซี"

ข้อดีของ “การกระจายอำนาจ” ใน “คริปโทเคอร์เรนซี”

ข้อดีของการกระจายอำนาจในคริปโทเคอร์เรนซี มีอะไรบ้าง?

การกระจายอำนาจ (Decentralization) เป็นอีกคำที่นักลงทุนในวงการคริปโทเคอร์เรนซีต้องเจอเมื่อเริ่มต้นศึกษาข้อมูลของเหรียญต่าง ๆ เนื่องจากการกระจายอำนาจเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับระบบการทำงานของสินทรัพย์ประเภทนี้เลยก็ว่าได้

ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของการกระจายอำนาจ รวมถึงข้อดีและข้อจำกัดของระบบนี้ไปด้วยกัน

การกระจายอำนาจคืออะไร?

การกระจายอำนาจคือการแบ่งอำนาจการบริหารออกไปสู่ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายเป็นจำนวนมาก แทนที่จะมอบอำนาจเด็ดขาดให้กับคนคนเดียวหรือไม่กี่คน คล้าย ๆ กับระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนของประเทศมีสิทธิ์ออกเสียงเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางของประเทศให้เป็นไปตามเสียงส่วนมากนั่นเอง

สำหรับวงการคริปโต ยกตัวอย่าง บิตคอยน์ (Bitcoin) การกระจายอำนาจหมายถึงการที่เครือข่ายของบิตคอยน์ไม่ได้ถูกควบคุมโดยผู้ใดผู้หนึ่ง แต่ผู้ที่ในเครือข่ายต่างก็มีส่วนร่วมในการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมและรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายเหมือนกัน ต่างกับระบบเงินเฟียต (Fiat currency) ที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลาง

การประชุม FED คืออะไร ส่งผลกับตลาดคริปโทเคอร์เรนซีอย่างไร?

2021 ปีแห่ง “คริปโทเคอร์เรนซี” กับบทบาทใน 3 อุตสาหกรรมหลัก “การเงิน-ไลฟ์สไตล์-เกม”

ข้อดีของการกระจายอำนาจ

1.ความปลอดภัย

การไม่มีตัวกลางหรือผู้ที่ถืออำนาจในการควบคุมแบบเด็ดขาด โอกาสที่เครือข่ายจะถูกโจมตีสำเร็จจึงเป็นไปได้ยากขึ้น นั่นเพราะว่าผู้โจมตีต้องเข้าควบคุมผู้ที่อยู่ในเครือข่ายให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งหรือถึงจำนวนที่เครือข่ายกำหนด ถึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ ยิ่งเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่เท่าไหร่ โอกาสที่จะโจมตีสำเร็จในทางปฏิบัติก็เป็นไปได้ยากขึ้นเท่านั้น

2.ความโปร่งใส

ระบบกระจายอำนาจในวงการคริปโทเคอร์เรนซีสามารถเรียกอีกอย่างว่า “สมุดบัญชีสาธารณะ” (Distributed ledger) ที่ทุกคนสามารถเข้ามาดูการเคลื่อนไหวในสมุดบัญชีได้อย่างโปร่งใส นั่นจึงทำให้การติดตามและยืนยันธุรกรรมเป็นไปได้ง่ายขึ้น จึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อป้องกันการฟอกเงินหรือติดตามธุรกรรมที่อาจเป็นภัยคุกคามได้นั่นเอง

3.การควบคุมทรัพย์สินที่เป็นอิสระ

ระบบกระจายอำนาจช่วยให้ผู้ใช้ในระบบมีความสามารถในการควบคุมสินทรัพย์ของตัวเองได้อย่างอิสระ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องขออนุญาตหรือความช่วยเหลือจากตัวกลาง คริปโทเคอร์เรนซีจึงสามารถเข้าถึงผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ที่ธนาคารเข้าไม่ถึงได้ง่ายกว่า

ข้อจำกัดของการกระจายอำนาจ

1.ความซับซ้อน

ระบบกระจายอำนาจมักมีความซับซ้อนมากกว่าระบบรวมอำนาจ เนื่องจากพอไม่มีตัวกลางที่รวมอำนาจอย่างเด็ดขาดแล้ว การสร้างเครือข่ายจึงจำเป็นต้องออกแบบให้มีระบบที่ช่วยให้เครือข่ายสามารถบรรลุฉันทามติร่วมกันได้แม้อำนาจจะกระจัดกระจายออกไปก็ตาม ขณะที่ฝั่งผู้ใช้ก็อาจเกิดความสับสนในการใช้งานได้ เนื่องจากคุ้นเคยกับระบบรวมอำนาจมากกว่า

2.การตัดสินใจที่ล่าช้า

ตรงกันข้ามกับระบบรวมอำนาจที่สามารถตัดสินใจและประสานงานกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ระบบกระจายอำนาจอาจไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้อย่างรวดเร็วในบางกรณี จึงอาจนำไปสู่การพัฒนาระบบต่าง ๆ ที่ต้องใช้เวลานานกว่าระบบแบบรวมอำนาจ ไปจนถึงการกระจายทรัพยากรที่อาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

3.ขาดข้อบังคับที่ชัดเจน

เนื่องจากการไม่มีตัวกลางคอยควบคุมหรือออกกฎระเบียบต่าง ๆ ระบบกระจายอำนาจจึงอาจไม่สามารถใช้กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่ใช้กับระบบรวมอำนาจแบบเดิมได้ จึงอาจเกิดความขัดแย้งกับข้อกฎหมายในบางประเทศได้ค่อนข้างง่าย

สรุป

ระบบกระจายอำนาจคือการแบ่งอำนาจออกไปสู่ผู้ที่อยู่ในเครือข่าย แทนที่จะมอบอำนาจเด็ดขาดให้กับตัวกลาง ทำให้ระบบกระจายอำนาจได้เปรียบในด้านความปลอดภัย โปร่งใส และเป็นอิสระจากการถูกควบคุม แต่ระบบกระจายก็มีจุดอ่อนในที่ความซับซ้อน ความล่าช้า และการขาดกฎระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจน จึงอาจเกิดความขัดแย้งกับผู้มีอำนาจในแต่ละประเทศเป็นบางครั้ง

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อขัดแย้งกับหน่วยงานที่มีอำนาจของแต่ละประเทศเป็นบางครั้ง แต่กฎหมายก็เป็นสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคสมัยได้เสมอ เราจึงมีโอกาสเห็นแนวคิดของระบบกระจายอำนาจถูกนำมาปรับใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะปัจจุบันที่คริปโทเคอร์เรนซีเริ่มเป็นที่รู้จักสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว

อ้างอิง Blockchain Council, Indeed, 101Blockchain

===================

ติดตามบทความ ข่าวสาร และความรู้ที่น่าสนใจเรื่อง บิตคอยน์ (Bitcoin), Cryptocurrecy และความรู้อีกมากมายในวงการคริปโต ได้ที่ Bitkub Blog

* คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง คุณอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
** สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
*** ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

Bitkub แนะ 10 วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพออนไลน์

จากชอบกินทุเรียนอร่อย สู่ธุรกิจทุเรียนพรีเมี่ยมส่งออก ‘ทองลาวา’

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ