TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessสมรภูมิ "ขนส่งพัสดุ"​ รู้ซึ้ง ศึกพรีเซนเตอร์ไม่ได้ช่วยอะไร

สมรภูมิ “ขนส่งพัสดุ”​ รู้ซึ้ง ศึกพรีเซนเตอร์ไม่ได้ช่วยอะไร

ธุรกิจขนส่งพัสดุในประเทศไทย เป็นอีกธุรกิจที่มีความดุเดือดร้อนแรงมาก โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีทึ่ผ่านมา เดิมทีมีเพียงไปรษณีย์ไทยทีครองความเป็นเจ้าตลาดมาเนิ่นนาน จนเริ่มมีบริษัทเอกชนอย่าง เคอรี่ เอ็กซ์เพรส เริ่มเข้ามาให้บริการเมื่อ 13 ปีที่แล้ว คล้อยหลังจากนั้นมา 10 ปี ช่วงปลายปี 2559 เริ่มมีผู้ให้บริการหน้าใหม่ ๆ เข้ามาเปิดธุรกิจมากขึ้นราวดอกเห็ด อาจจะเป็นเพราะมูลค่าตลาดรวมของธุรกิจขนส่งที่มีเม็ดเงินเติบโตแบบก้าวกระโดดเป็นสิ่งเย้ายวนใจ

มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจขนส่งพัสดุ

  • ปี 2559 ตลาดมีมูลค่า 18,000 ล้านบาท
  • ปี 2560 ตลาดมีมูลค่า 25,000 ล้านบาท
  • ปี 2561 ตลาดมีมูลค่า 35,000 ล้านบาท
  • ปี 2562 ตลาดมีมูลค่า 49,000 ล้านบาท
  • ปี 2563 คาดการณ์ตลาดมีมูลค่า 66,000ล้านบาท

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

ส่วนแบ่งการตลาด ก็เป็นการดำเนินธุรกิจก่อนหลัง  เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาดไปรษณีย์ไทย 55% ส่วนแบ่งทางการตลาดเคอรี่ เอ็กซ์เพรส   30% และส่วนแบ่งทางการตลาดที่เหลือก็กระจายไปในหลาย ๆ บริษัท

รายงานวิเคราะห์อุตสาหกรรมขนส่งพัสดุของไทย มองว่าธุรกิจนี้ยังไปได้อีกไกล โดยมีธุรกิจอี-คอมเมิร์ซเป็นแรงผลักดันสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้นปี 2563 ที่เกิดวิกฤติโควิด-19 ตลาดธุรกิจขนส่งพัสดุอาจจะโตทะลุ 66,000 ล้านบาทก็เป็นได้ และส่วนแบ่งทางการตลาดอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เพราะหลายบริษัทมีการวางกลยุทธ์ทางการตลาดหลายอย่างเพื่อช่วงชิ่งส่วนแบ่งทางการตลาด

กลยุทธ์หนึ่ง ที่นิยมใช้กัน คือ พรีเซนเตอร์  โดยเฉพาะบริษัทบริการขนส่งพัสดุที่เพิ่งเข้ามาเปิดบริการในช่วงหลังปี 2560 

เริ่มจากเคอรี่ เอ็กซ์เพรส บริษัทที่ทำธุรกิจขนส่งในประเทศไทยมานาน แต่ต้องการเรียกเสียงฮือฮาในก้าวขึ้นสู่ปีที่ 14 ด้วยการเปิดตัว “เวียร์ – ศุกลวัฒน์ คณารศ” เป็นตัวพรีเซนเตอร์ ด้วยเหตุผล เรื่องความมีเสน่ห์ของเวียร์ มีความอบอุ่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความห่วงใย (Warm – Humble – Caring) ที่สะท้อนภาพลักษณ์ของเคอรี่ เอ็กซ์เพรสได้เป็นอย่างดี รวมทั้งดูมีชีวิตชีวา เข้าถึงง่าย ซึ่งสามารถสื่อสารภาพตัวแทนของพนักงานเคอรี่ที่พร้อมนำส่งประสบการณ์การให้บริการที่ดีที่สุดถึงมือลูกค้าของเราอีกด้วย

เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย 1 ในทุนจีนที่เข้ามาในธุรกิจขนส่ง เปิดตัว “มาริโอ้ เมาเร่อ” เพราะอยากชูภาพลักษณ์แบรนด์แห่งความสมาร์ทและทันสมัย

แฟลซ เอ็กซ์เพรส ที่มีทุนจีนร่วมกับผู้บริหารไทยให้บริการขนส่งพัสดุ ก่อนที่จะยกเลิกการร่วมทุนกับนักลงทุนจากประเทศจีน ทำให้ “แฟลช เอ็กซ์เพรส” เป็นแบรนด์ไทย ก็ใช้ยังใช้กลยุทธ์ทางการตลาดด้านพรีเซนเตอร์ ด้วยการแต่งตั้งให้ “ติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี” เป็นพรีเซนเตอร์ ทั้งที่แฟลซ รู้ดีแก่ใจว่า กลยุทธ์ราคาถูกกว่าคู่แข่งต่างหากที่สามารถสร้างให้แฟลซ มียอดรายได้ที่ดีขึ้นและยังเคยสร้างความสั่นสะเทือนกับเคอรี่มาแล้ว

ด้าน เบสท์ เอ็กซ์เพรส ในเครือ BEST INC หนึ่งในยักษ์ใหญ่ด้านโลจิสติกส์ของจีน ที่มี “อาลีบาบา” ร่วมถือหุ้น ก็ใช้ ณเดช คูกิมิยะ เป็นพรีเซนเตอร์ ร่วมกับมาสคอต(Mascot) “น้องกวางเบสท์” หรือ Dear (De ตี้ – Ar เอ๋อ) ซึ่งเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของแบรนด์คู่ 

เป็นที่น่าสังเกตว่า บริษัทขนส่งพัสดุส่วนใหญ่ใช้พรีเซนเตอร์เฉพาะผู้ชาย ซึ่งณัฎฐรัก ดิลกพิทยะรัชต์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่อาสุโส เบสท์ ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า การที่บริษัทขนส่งพัสดุส่วนใหญ่เลือกใช้พรีเซนเตอร์ผู้ชาย เพราะอยากให้เห็นถึงความแข็งแรง  แกร่ง สามารถยกกล่องพัสดุใหญ่ ๆ ได้ รวดเร็ว เหมือนบริการขนส่ง

แม้การใช้กลยุทธ์พรีเซนเตอร์ จะช่วยสะท้อนในเรื่องแบรนด์ได้ และนักการตลาดต้องหารสร้างความแตกต่างและเป็นที่จดจำในสายตาของผู้บริโภค แต่ผู้บริหารฝ่ายการตลาด หรือฝ่ายสื่อสารของบริษัทขนส่งพัสดุหลายบริษัทยอมรับว่า

พรีเซนเตอร์ของบริษัทที่ใช้ ไม่ได้เป็นพรีเซนเตอร์ที่เป็นตัวแทน (Represent) หรือผู้ติดกับแบรนด์ หรือบริการของตนเองมากเท่าไร

ด้วยความเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์และบริการจำนวนมาก ผู้บริโภคส่วนใหญ่จำไม่ได้ว่า พรีเซนเตอร์คนนั้น ๆ โฆษณาแบรนด์อะไรบ้าง และพูดไม่ได้เต็มปากเต็มคำว่า พรีเซนเตอร์เป็น 1 ใน ตัวช่วยที่ทำให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า แต่เชื่อว่ากลุ่มคนที่เป็นแฟนคลับของพรีเซนเตอร์ จะมีความสนใจในแบรนด์และจะเลือกใช้บริการ เหมือนเวลามาร่วมงานอีเว้นท์เปิดตัวพรีเซนเตอร์เช่นกัน

จากการสอบถามผู้มาใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุหลายแห่ง (ทำวิจัยแบบไม่เป็นทางการ) ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า พรีเซ็นเตอร์ไม่ได้มีผลต่อการเลือกใช้ หรือไม่ใช้บริการขนส่งพัสดุเลย ไม่เหมือนกับผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น โลชั่นหรือเครื่องประทินผิวที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ตามพรีเซนเตอร์ 

แต่สำหรับบริการขนส่งพัสดุ ส่วนใหญ่ พิจารณาคัดเลือกจาก 3 เรื่องหลักคือ 

  1. เรื่องของความรวดเร็วในการให้บริการและการจัดส่ง รวมทั้งดูแลสินค้าพัสดุดีกล่องไม่ยุบ บุบ หรือเสียหาย
  2. เรื่องราคา การจัดส่งที่ถูกหรือเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีการจัดรายการโปรโมชั่นทำให้ราคาแต่ละแบรนด์ไม่พงมาก 
  3. เรื่องจุดบริการ มีจุดให้บริการเยอะ สร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน เช่น จุดบริการ
  • ไปรษณีย์ไทย          10,000 แห่ง
  • เคอรี่ เอ็กซ์เพรส       10,000 แห่ง
  • แฟลช เอ็กซ์เพรส      3,500 แห่ง
  • เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส  1,000 แห่ง
  • เบสท์ เอ็กซ์เพรส        500 แห่ง

การใช้กลยุทธ์พรีเซนเตอร์อาจช่วยสร้างความฮือฮาและเพิ่มพื้นที่ข่าวให้บริษัทขนส่งพัสดุ แต่ไม่ใช่กลยุทธ์ที่ทำให้เกิดผู้ใช้บริการมากขึ้นแน่ ๆ สิ่งที่ยืนยันได้อีกอย่างว่า พรีเซนเตอร์ไม่ได้มีผลต่อการใช้งานบริการส่งพัสดุ คือ ไปรษณีย์ไทย ที่ไม่มีพรีเซนเตอร์กลับมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด ดังนั้น บริษัทขนส่งพัสดุควรต้องเร่งพัฒนาเรื่องความเร็ว ราคา และจุดบริการ จึงจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้ 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ