TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterview2 ทศวรรษ ดิทโต้ (ประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “ข้อมูล” กับ New S-Curve ในน่านน้ำใหม่

2 ทศวรรษ ดิทโต้ (ประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “ข้อมูล” กับ New S-Curve ในน่านน้ำใหม่

ดิจิทัล ดิสรัปชัน นำมาซึ่งวิกฤติ โอกาส และความท้าทาย สำหรับทุกธุรกิจ รวมถึง “ดิทโต้ (ประเทศไทย)” องค์กรอายุ 20 ปีที่เกิดก่อนยุคดิจิทัล และอยู่ในธุรกิจที่คลื่นดิสรัปรุนแรง แต่จังหวะและวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร ทำให้แทนที่ดิทโต้จะถูกดิสรัป กลับกลายเป็นการขี่คลื่นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเติบโตต่อในอนาคตได้อย่างลงตัว

จากก้าวที่นับหนึ่งบนเส้นทางธุรกิจที่แตกต่างของ ฐกร รัตนกมลพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว ส่งให้ดิทโต้ผงาดสู่ผู้นำด้านระบบจัดการเอกสารและข้อมูลแบบครบวงจร ได้เท่าทันยุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลยุคของ “ข้อมูล” และ​ “ความปลอดภัย” คือ หัวใจของธุรกิจ

ดิทโต้เกิดขึ้นจากการมองหาโอกาสธุรกิจใหม่ที่จะเป็น New S-Curve ของครอบครัวที่ประกอบธุรกิจขายเคมีเกษตรที่บ้านบึง พบรูปแบบธุรกิจการนำเข้าเครื่องถ่ายเอกสารจากต่างประเทศมาให้หน่วยงานราชการเช่าใช้งานแทนการซื้อ นับเป็นจุดเริ่มต้นของ “ดิทโต้” เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา 

ดิทโต้เติบโตตามพัฒนาของตลาดและสินค้าที่ทำ บริษัทสามารถเข้าไปปักธงและให้บริการจนเป็นผู้นำในตลาดการให้บริการเช่าใช้เครื่องถ่ายเอกสารในหน่วยงานราชการ จนสามารถกลายเป็นพันธมิตรเบอร์ต้น ๆ ของหลายแบรนด์เครื่องถ่ายเอกสาร ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของเครื่องถ่ายเอกสารเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัล และพฤติกรรมผู้ใช้งานปรับเข้าสู่การลดใช้กระดาษ ทำให้ดิทโต้เองก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจล้อตามการเปลี่ยนไปของอุตสาหกรรม 

เมื่อการทำงานแบบไร้กระดาษ (Paperless) ยอดการใช้งานเครื่องถ่ายเอกสารมีแต่ทรงกับลดลงแบรนด์เครื่องถ่ายเอกสารเริ่มล้มหายตายจาก ราคาที่เริ่มแข่งขันไม่ได้ ดิทโต้มองหา New S-Curve ใหม่ทันที จังหวะนั้นเป็นช่วงเดียวกับการเกิด mobile banking ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร เห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องดิสรัป ตัวเองก่อนที่จะถูกคนอื่นดิสรัป  

เขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนธุรกิจหลักจากการให้เช่าใช้เครื่องถ่ายเอกสารสู่น่านน้ำใหม่ คือ ธุรกิจโซลูชันการบริหารจัดการเอกสารและข้อมูล (Document & Data Management Solutions) แบบครบวงจร

“ถือเป็นไฟลท์บังคับให้เกิดการเปลี่ยนผ่านธุรกิจของดิทโต้แบบแรง ๆ ไม่ต่างจากการ disrupt ธุรกิจของตัวเอง เพื่อความอยู่รอดด้วย S-Curve ตัวใหม่สู่ ธุรกิจด้านโซลูชันด้านการบริหารจัดการเอกสารและข้อมูล (Document & Data Management Solutions) แบบครบวงจร”

ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูล (Data Architecture) เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการข้อมูลที่ดีตั้งแต่ต้นทางทั้งการจัดเก็บและนำไปใช้ บริการย้ายข้อมูล (Data Transfer) ไปยังตำแหน่งจัดเก็บข้อมูลที่ต้องการ และดูแลความต่อเนื่องการใช้งานระบบข้อมูล (Ongoing) ไม่ว่าจะเป็นการทำงานกับข้อมูลดิจิทัล ณ ปัจจุบัน และ การจัดการกับข้อมูลอนาล็อกย้อนหลัง (Backlog) เพื่อนำขึ้นสู่การใช้งานข้อมูลแบบไฮบริดทั้งระบบเกิดประสิทธิภาพ และสามารถลดกระบวนการการทำงานขององค์กรให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและคล่องตัว ทั้งหมดอยู่ภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยและป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล ตลอดจนความเป็นส่วนตัวของข้อมูล 

ขณะที่งานบริการเครื่องถ่ายเอกสารเดิมมีการพัฒนาทักษะบุคลากรเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถไปรองรับธุรกิจใหม่ในเรื่อง ระบบไดร์ฟ์ทรู (Drive-Thru) และระบบจัดการงานขายหน้าร้าน (POS)

ดิทโต้ได้ขยายศักยภาพของตัวเองจากการเป็นผู้ให้บริการเครื่องถ่ายเอกสารมาสู่การเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านการบริหารจัดการข้อมูล จากความต้องการของลูกค้าคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ที่เลือกใช้บริการดิทโต้ให้นำเอกสาร 300 ล้านกว่าแผ่นเข้าสู่ระบบดิจิทัล  

ภาระงานที่ได้รับทำให้ดิทโต้ได้ขยายขีดความสามารถของทีมงาน สู่การพัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบเพื่อควบคุมการใช้ข้อมูล ตั้งแต่ความถูกต้องในการนำข้อมูลขึ้นสู่ระบบ (Data-Entry) ไปจนถึงปริมาณการเข้า-ออกของข้อมูลที่นำไปใช้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด 

จากความเชี่ยวชาญที่ได้มา ทำให้ดิทโต้ สามารถต่อยอดการพัฒนาแอปพลิเคชันด้านการจัดการข้อมูลเพิ่มเติม และได้ขยายฐานลูกค้าสู้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีความต้องการย้ายข้อมูลจำนวนมากจากการเข้าสู่ระบบดิจิทัล อาทิ ปูนซีเมนต์ไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต และโรงพยาบาลหลายแห่ง 

ยิ่งได้ทำงานให้ลูกค้ามากขึ้น ยิ่งบ่มเพาะความเชี่ยวชาญของดิทโต้ในการทำ data transformation มากขึ้น จากฐานลูกค้าเอกชน ดิทโต้นำบริการใหม่วกกลับมาให้บริการฐานลูกค้าภาครัฐซึ่งเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่

บริการที่ท้าทายและเป็นที่ภูมิใจคือ อาทิ หอสมุดแห่งชาติกับโครงการนำหนังสือที่อายุกว่า 50-60 ปีและใบลานเข้าสู่ระบบดิจิทัล เพื่อการสืบค้นแทนการนำต้นฉบับออกมาจากห้องสมุด โครงการแปลงข้อมูลสัญญาหลังโฉนดของกรมที่ดินทั่วประเทศซึ่งมีอยู่ปะมาณ 45 ล้านแปลง เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายและโอนที่ดินผ่านระบบดิจิทัลในทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยสามารถบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงหลังโฉนดได้ ดิทโต้รับจัดสรรโฉนดราว 6-7 ล้านแปลงมาดำเนินการแปลงข้อมูลสัญญาหลังโฉนด และเสร็จสิ้นไปแล้ว 6 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต สงขลา เพชรบุรี และสิงห์บุรี 

“องค์กรบริหารส่วนจังหวัดและตำบล ซึ่งมีแนวทางเรื่องการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์จากการส่งจดหมายเวียนมาเป็นดิจิทัล เราก็เข้าไปนำเสนอเรื่องโซลูชันระบบจัดเก็บข้อมูลกลางให้”  

Data Visualisation

จากความเชี่ยวชาญเรื่องการบริการจัดการ“ข้อมูล” ทำให้ดิทโต้สามารถขยายบริการออกสู่ด้านข้างได้ คือ ธุรกิจการให้บริการและรับเหมาวิศวกรรมด้านเทคโลยี (Innovation Engineering) สำหรับโครงการของหน่วยงานราชการต่าง ๆ และได้รับงานโครงการปรับปรุงท้องฟ้าจำลองที่เอกมัย เป็นงานที่นำข้อมูลมาแสดงเป็นภาพ “Data Visualization”

ข้อมูลเรื่องท้องฟ้า ดวงดาว กาแลคซีที่ค้นพบใหม่โดยนักดาราศาสตร์ ที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ นำมาให้นักพัฒนาและออกแบบโปรแกรมการแปลงข้อมูลให้กลายเป็นฐานความรู้และแสดงผลภาพในรูปแบบที่สัมผัสได้ จับต้องได้ (Data Visualisation) บนจอที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และรองรับได้มากกว่าการฉายภาพท้องฟ้าและดวงดาว

“ใช้เทคโนโลยีเครื่องฉายดาวที่มีความละเอียดของการฉายภาพ Full Dome เทียบเท่า 4K เป็นระบบที่ฉายภาพแล้วเสมือนนั่งยานอวกาศขึ้นไปบนท้องฟ้าจริง ๆ”

ดิทโต้ ขยายจากท้องฟ้าจำลองที่เอกมัย สู่ท้องฟ้าจำลองที่พิษณุโลก รวมถึงพิพิธภัณฑ์เพื่อการค้นคว้าในศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ และพิพิธภัณพ์ทางทะเล เป็นต้น 

3 ธุรกิจเสาหลักของดิทโต้

ฐกร กล่าวา กระแสการเปลี่ยนแปลงการใช้ข้อมูล ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านธุรกิจแบบแรง ๆ และส่งผลให้ดิทโต้เติบโตอย่างแข็งแกร่งในสามธุรกิจหลัก คือ

ธุรกิจจัดจำหน่ายและให้บริการระบบริหารจัดการเอกสารและข้ออมูลแบบครบวงจร (Data & Document Management) รวมถึงบริการพัฒนาซอฟต์แวร์การจัดการเอกสารและบริการบริหารรบบระบบธุรกิจ (BPO Service) ในการวิเคราะห์และให้คำแนะนำโซลูชันเหมาะสมกับการทำงาน การ พร้อมด้วยบริการแปลงเอกสารเข้าระบบดิจิทัลด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ครองสัดส่วนรายได้ของบริษัท 40% สัดส่วนลูกค้าภาคเอกชน 50% และราชการ 50%

ธุรกิจด้านการให้บริการและรับเหมาวิศวกรรมด้านเทคโลยี (Innovation Engineering) สัดส่วนรายได้ 30% ลูกค้าคือ หน่วยงานราชการทั้งหมด 100%

ธุรกิจบริการด้านเทคนิค (Technical Service) อาทิ บริการติดตั้งระบบ Drive Thru ระบบบริหารยอดขายหน้าร้าน (POS) ตลอดจนการให้บริการจำหน่ายและซ่อมบำรุงเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ และสินค้าเทคโนโลยีอื่น ๆ  สัดส่วนรายได้ 30%  สัดส่วนลูกค้าภาคเอกชน 80% ราชการ 20%

โอกาสและความท้าทาย 

ฐกร เชื่อเสมอว่าในธูรกิจข้อมูลที่ถูกดิสรัปาโดยตลอดมีโอกาสมหาศาล นั่นคือ ตลาดข้อมูลที่ใหญ่มากทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะทุกภาคส่วนต่างรู้ว่าการจัดการข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น โอกาสขนาดใหญ่คือความท้าทาย ว่าจะทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่พร้อมเปลี่ยนกลุ่มนั้น โดยเฉพาะตลาดภาครัฐที่มีทั้งโอกาส เม็ดเงิน และแผนลงทุนไปได้หลายทิศทาง 

“การยึดพื้นที่ได้ก่อนเพื่อสร้างระบบให้เกิดและตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้ตรงจุด ต่อเนื่องถึงระบบบริการบำรุงรักษา (M&A ได้) ถือว่าสามารถยืนยาวในการสร้างรายได้และธุรกิจอย่างต่อเนื่อง” 

ฐกร มองว่า ตลาดที่ใหญ่ในขณะนี้คือภาครัฐ เช่น หน่วยงานศาล ที่มีเอกสารราชการที่ต้องนำเข้าสู่ระบบดิจิทัลทั้งงานเอกสารข้อมูลเก่าที่เกิดขึ้นแล้ว (backlog data) และเอกสารข้อมูลที่เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน (ongoing data) รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ในกระบวนการยุติธรรม เช่น สำนักงานอัยการ สำนักงานตำรวจ กรมราชทัณฑ์ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น 

“หน่วยงานเหล่านี้ปัจจุบันยังเดินงานส่วนใหญ่ด้วยเอกสารและไม่มีระบบรองรับ ตรงนี้คือโอกาสและความท้าทายถ้าเราทำได้” 

ส่วนการรุกในตลาดภาคเอกชน เน้นการทำประชาสัมพันธ์ สื่อสารการตลาด และสร้างการรับรู้และกำหนดจุดยืนของแบรนด์ (Brand Positioning) ให้เห็นถึงสิ่งที่ทำให้ดิทโต้แตกต่างจากคู่แข่ง 

“ความเชี่ยวชาญของเรา คือ การเอาข้อมูลเข้าสู่ดิจิทัล และออกแบบระบบให้เกิดประสิทธิภาพในการนำดึงข้อมูลไปใช้ด้วยวิธีการที่ง่ายที่สุด”

ฐกร ย้ำว่า “ประสบการณ์” บวกกับ “การเข้าถึงความต้องการ” ของลูกค้า และการพัฒนา “ระบบจัดการข้อมูลที่ดีตั้งแต่ต้นทาง” เพื่อให้การใช้งานในระบบเกิดประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการทำงาน คือ ความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ 

เพราะธุรกิจของลูกค้าต่างมีข้อมูลต้นทางที่ไม่เหมือนกัน เช่น ข้อมูลต้นทางของธนาคาร คือ เอกสารบัญชี เอกสารสัญญาชำระเงิน L/C จึงมีวิธีการเก็บและการนำไปใช้ที่ต่างกัน เช่น ต้องทำดัชนีเอกสารเท่าไหร่ เก็บเป็นไฟล์ Jpeg หรือ PDF ดังนั้น “หัวใจของระบบข้อมูลจึงไม่ได้อยู่แค่การเก็บ แต่อยู่ที่การเรียกข้อมูลออกมาใช้ได้ถูกต้องตรงโจทย์ด้วย” 

“เราต้องรู้ให้ลึกว่าลูกค้าเดินเอกสารด้วยระบบอย่างไร เข่น ระบบศาลเดินด้วยเลขสำนวนคดี ระบบบัญชีเดินเรื่องใบเสร็จด้วยเลขที่ใบแจ้งหนี้หรือเลขที่ใบสั่งซื้อ เป็น และออกแบบระบบที่จะสนับสนุนและแก้ไขการทำงานของลูกค้าให้เกิดประสิทธิภาพ” 

ความพร้อมของดิทโต้ คือ การมีประสบการณ์จากการลงมือทำจริง มีซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเอง ผ่านการทดสอบใช้งานและพัฒนาปรับปรุงมาโดยตลอด รวมถึงฐานลูกค้าอ้างอิงทั้งองค์กรขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่ซึ่งบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือ 

ดิทโต้ให้บริการโซลูชันที่ครบทั้งในขั้นตอนของการพัฒนาและติดตั้งระบบ มีทีมบุคลากรที่พร้อมพูดคุยให้คำแนะนำให้กับลูกค้า ทีมเก็บประเมินข้อมูลความต้องการของลูกค้า ทีมวิเคราะห์ทางธุรกิจ และทีมการพัฒนาและให้การสนับสนุนระบบงานที่พร้อมปรับเปลี่ยน (Customize) ซอฟต์แวร์มาตรฐานที่มีอยู่ให้เหมาะกับลักษณะงานและการนำไปใช้ และทีมปฏิบัติงานในการติดตั้งระบบ ย้ายข้อมูล และดูแลต่อเนื่อง 

“ทั้งนี้เพราะ การเปลี่ยนแปลงระบบข้อมูลซึ่งเป็นหัวใจของธุรกิจ หมายถึงเราอาจต้องขยับปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของคนและองค์กร (Workflow) ลูกค้าที่เลือกเราก็จะอยู่กันไปยาว ๆ เพราะการเปลี่ยนไประบบใหม่ก็จะยาก  ยกตัวอย่าง เซ็นทรัลซึ่งเราเข้าไปทำให้เป็นลูกค้าที่อยู่กับดิทโต้มาถึง 7 ปี”

“คู่แข่งที่มีโซลูชันครบเหมือนดิทโต้  คิดว่ายังไม่มี ถ้าจะมีชนกันบ้างก็เป็นแค่บางระบบ คู่แข่งจากต่างประเทศก็มีเข้ามาบ้างแต่เราไม่ได้ไปชนกับเขา เพราะพอเวลาทำจริง เขาไม่รู้ว่าคนไทยใช้แบบไหน ความเสียเปรียบอีกอย่างคือเรื่องภาษาไทยในการเข้าใจทั้งตัวข้อมูลต่าง ๆ และกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูล  รวมถึงไม่ได้มีทีมย้ายข้อมูลเหมือนเรา เพราะการย้ายข้อมูลต้องมีเครื่องมือ เช่น ต้องมีตัวช่วยอ่านข้อความจากเอกสาร PDF ไฟล์ภาพ หรือลายมืออิเล็กทรอนิกส์ (Optical Character Recognition-OCR)  ต้องใช้เทคโนโลยีการจับภาพ เป็นต้น ซึ่งบางรายก็ไม่มีบริการตรงนี้ ส่วนคู่แข่งที่เป็นคนไทย ก็จะเจอในเรื่องของการพัฒนาและติดตั้งซอฟต์แวร์ แต่ไม่มีครบทั้ง “สร้าง – ย้าย – ดูแลต่อเนื่อง” เหมือนเรา”

บิ๊กดาต้า – ความปลอดภัยไซเบอร์ คือ S-Curve

ธุรกิจที่ดิทโต้ทำอยู่เป็นเหมือนการทำฐานให้แน่นเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล จากข้อมูลเอกสารเป็น paperless ไปเป็นข้อมูลบนดิจิทัล ทำการจัดเรียงข้อมูลให้พร้อมใช้งาน ซึ่งบิ๊ก ดาต้า คือขาที่จะมาต่อยอดการนำข้อมูลเหล่านี้ขึ้นสู่ไปสู่การวิเคราะห์ (Data Analytic) เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการดำเนินงาน หรือสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และต้องมีเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้อง 

“เรามองว่า ทั้ง บิ๊ก ดาต้า และ ความปลอดภัยไซเบอร์ คือโอกาสทางธุรกิจทั้งคู่ เพียงแต่ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าก่อน”

จากบุคลากรที่มีอยู่ประมาณ 300 คน (ไม่รวมการจ้างงานบุคคลภายนอก) บริษัทมีการพัฒนาและยกรดับทักษะของทีมอย่างต่อเนื่อง จนตอนนี้มีทีมพัฒนาระบบและทีมพร้อมปฏิบัติงานด้านไอทีราว 40 คน ทีมช่างบริการกว่า 100 คน แต่ยังคงเดินหน้าต่อในการสร้างทีมโดยเฉพาะที่ต้องการมากคือ Data Architecture และผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบความปลอดภัยของข้อมูล

ตัวอย่างเช่น ระบบ Cybersecurity Observation Center (Hybrid CSOC) ของธนาคารกรุงไทย ภายใต้งบลงทุน 900 กว่าล้านบาท ที่ดิทโต้ถือสัดส่วนอยู่ 40% โดยทำร่วมกับพาร์ตเนอร์อีก 3 ราย (เอ็มเฟค เอไอที จีเอเบิล) เพื่อดูเรื่องความปลอดภัยด้านไซเบอร์ให้กับการทำงานทุกระบบของธนาคาร ด้วยการสอดส่องข้อมูลที่ออกจากทุก ๆ จะผ่านระบบหลัก (Core) ทั้งหมด ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายส่วน ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ กระบวนการทำงานของบุคลากร ห้องควบคุมปฏิบัติงาน โดยมีซอต์แวร์ตรวจสอบชื่อว่า สปังค์ (Splunk Infrastructure Monitoring) ดูแลจัดการทั้งข้อมูล อีเมล์ ทุกอุปกรณ์ในระบบให้เห็นทุกทรานแซ็คชันที่มีความผิดปรกติและแจ้งเตือนเจ้าหน้าทีไอทีซึ่งประจำห้องควบคุมตลอด 24 ชม เพื่อให้ทำการสอบประเมินและแก้ไขความผิดปกติเช่น ไฟร์วอลล์คุมไม่อยู่ เราเตอร์ไม่อัปเดต ทั้งสามารถบันทึกการโจมตีกี่ครั้ง ด้วยวิธีการไหน เป็นต้น

เทคโนโลยีสีเขียวอีกหนึ่ง S-Curve 

S-Curve ตัวใหม่ คือ กรีน เทคโนโลยี (Green Technology) หรือ เทคโนโลยีสีเขียว เกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ที่โลกกำลังพูดถึงแต่อาจไม่เป็นรูปธรรมชัดเจนนัก ณ ขณะนี้ แต่ในอีก 3 ปีข้างหน้าจะชัดขึ้นแน่นอน สำคัญว่าใครจะพร้อมก่อน 

กรีน เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดิทโต้ศึกษาอยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจ Innovation Engineering เนื่องจากเป็นงานฮาร์ดแวร์ที่ต้องอาศัยทีมวิศวกรมาผสมผสานความรู้ด้านซอฟต์แวร์เพื่อเติมเต็มและต่อยอด 

อาทิ เรื่องการคัดแยกขยะบริษัทเคยทำเรื่องเทคโนโลยีอุปกรณ์แยกขยะให้กับ อบจ. ที่หนึ่ง ก็มาพัฒนาต่อเรื่องของระบบในการแยกขยะ เพราะขยะเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ถ้าองค์กรไหนทำเรื่องคัดแยกขยะจะได้คาร์บอนเครดิตถึง 27 เท่า เรื่องของการจัดการน้ำ ระบบเตือนภัยน้ำท่วม หรือ กระทั่งการจัดการข้อมูลเพื่อลดการใช้เอกสารก็จะได้คาร์บอนเครดิตที่นำมาเป็นรายได้ให้กับธุรกิจได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน 

“เราพยายามมุ่งไปที่กรีน เทคโนโลยี ที่กี่ยวกับกับสิ่งแวดล้อม เกี่ยวพันกับคน เราจะจับที่แนวคิดนี้ว่าธุรกิจที่ทำสุดท้ายต้องเป็นประโยชน์ต่อโลกและสังคมโดยรวม มองให้ให้เห็นโอกาส มาดูกันต่อว่า จะสร้างให้เป็นโมเดลธุรกิจได้อย่างไร โดยใช้ความเชี่ยวขาญที่เรามี ต่อยอดจากสิ่งที่เราเคยทำ ตรงนี้จะทำให้ธุรกิจเรามีความยั่งยืนมากกว่าการทำกำไรอย่างเดียว ซึ่งหากมีผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นอยู่แล้วเราก็อาจจะไปจับมือกับเขา แต่ถ้าไม่มีเราก็ต้องสร้างขึ้นมาเอง”

ฐกร ทิ้งท้ายอย่างมั่นใจว่า ดิทโต้จะมุ่งมั่นเดินหน้ารักษาเป้าเติบโตทางธุรกิจบนเส้นทางการพัฒนาธุรกิจไอทีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
WASINA- เรียบเรียง

บทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เปิดแผนขับเคลื่อน Metaverse กับ “ดร.นที เทพโภชน์” นายกสมาคมเมตาเวิร์สไทย

จาก “หัวใจคนบ้านปู” สมฤดี ชัยมงคล สู่การขับเคลื่อน องค์กรดิจิทัลด้านพลังงาน ที่ยั่งยืน

‘เอสทีที จีดีซี ประเทศไทย’ รุกบริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกล

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ