TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterview“โอบอุ้ม-จิรัฏฐ์ณิชชา กิติยาณัณท์” นักธุรกิจนวัตกรรม ผู้คิด “อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy” กับเป้าหมาย “ไทยทำ ไทยใช้ เพื่อคนไทย”

“โอบอุ้ม-จิรัฏฐ์ณิชชา กิติยาณัณท์” นักธุรกิจนวัตกรรม ผู้คิด “อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy” กับเป้าหมาย “ไทยทำ ไทยใช้ เพื่อคนไทย”

ความน่ากลัวของการระบาดของโควิด ไม่ใช่เพียงอาการป่วยและเสียชีวิต แต่คือการติดเชื้อที่นำมาซึ่งการรักษาและกักตัวในจำนวนหลายวัน ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับปัจเจกและระดับองค์กร จะดีกว่าหรือไม่หากมีนวัตกรรมที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ เพื่อให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตประจำวันแบบปกติ ภายใต้มาตรการการรักษาระยะห่าง การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย 

ความคิดนี้ของ โอบอุ้ม-จิรัฏฐ์ณิชชา กิติยาณัณท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป จำกัด เป็นที่มาของนวัตกรรมอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy ที่มีการทดลองใช้งานแล้วที่สำนักงานของ บริษัทการท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) ที่สนามบินสุวรรรณภูมิ 

บริษัท เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป จำกัด คือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนวัตกรรมเครื่องกำจัดเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย ก่อนหน้านี้ทำธุรกิจให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้วยวิกฤติเศรษฐกิจและสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ทำให้จิรัฏฐ์ณิชชา มองหาธุรกิจใหม่ และธุรกิจที่เธอชอบ คือ นวัตกรรม เป็นที่มาของผลิตภัณฑ์อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy 

โดยส่วนตัวเธอเป็นคนชอบคิดและประดิษฐ์สิ่งของ แม้ไม่ได้เรียนมาตรงสาย แต่ด้วยความหลงไหล และจากประสบการณ์ผู้ติดตามคณะทำงานของรัฐมตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอยู่ช่วงหนึ่ง ทำให้เธอได้สัมผัสกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการทำงานของกลุ่มสตาร์ตอัพ ทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจในการลงมือทำนวัตกรรมอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy 

ร้อยเรียงประสบการณ์ และความชอบนวัตกรรม

นวัตกรรมอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy เกิดจากการร้อยเรียงประสบการณ์การทำงานและความชอบส่วนตัวในเรื่องนวัตกรรมบวกกับโอกาสทางธุรกิจที่เธอมองเห็น เพราะก่อนจะเป็นอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy จิรัฏฐ์ณิชชา ค้นหาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมมาหลายอย่าง 

เริ่มจากอุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ในคนด้วยการฉีดพ่นสเปรย์ แต่ ณ ตอนนั้น (ต้นปี 2563) คิดและลงมือทำแต่ไม่ได้นำมาทำเป็นธุรกิจ เพราะน้ำยาฆ่าเชื้อนั้นยังไม่มีผลรับรอง และตอนนั้นยังอยู่ในหน้าที่คณะทำงานฯ แต่มีการนำไปใช้งานจริงบ้างในบางที่โดยเฉพาะที่วัด และมีการงดใช้ช่วงกลางปี เพราะมีการรณรงค์ไม่ใช้น้ำยาฉีดพ่นร่างกาย

จากนั้นเธอก็คิดและผลิตเครื่องฟอกอากาศ ที่เกิดจากจังหวะ โอกาส และความชอบในนวัตกรรม เธอลงทุนและออกแบบเครื่องฟอกอากาศด้วยรังสี UVC และจ้างผลิตจำนวน 30 เครื่อง จากนั้นนำไปมอบให้คนที่เธอนับถือและถวายวัด 

นวัตกรรมถัดมาคือ ตู้อบฆ่าเชื้อโรคกระเป๋าและรองเท้า เธอคิด ออกแบบ และจ้างผลิตอีกเช่นกัน นำมาใช้ที่บ้านของเธอเอง 

“แม้จะไม่มีผลรับรอง แต่จากการใช้งานปีกว่า ทุกคนในบ้านไม่ป่วย ไม่เป็นแม้แต่หวัด เรามีความมั่นใจว่าเราได้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคทุกสิ่งอย่างก่อนนำเข้าบ้าน”

ทั้งสามนวัตกรรมเกิดจากความคิดในการนำนวัตรรมมาสร้างเป็นเครื่องที่สามารถช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด เกิดจากความคิดความต้องการที่อยากจะผลิตนวัตกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด การทำความสะอาดสิ่งของ การฆ่าเชื้อโรค จนตกผลึกเป็นความคิดในการผลิตอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy 

อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy เกิดจากความคิดที่ว่าจิรัฏฐ์ณิชชาอยากจะมีเครื่องฆ่าเชื้อโรคที่สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคสิ่งของสัมภาระก่อนเข้าสถานที่ใด ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 

เธอคิดอย่างละเอียดว่าหากจะมีเครื่องฆ่าเชื้อโรคบนกระเป๋าและสัมภาระตามสถานที่ต่าง ๆ จะต้องออกแบบให้รังสี UVC สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ติดบนกระเป๋าและสิ่งของได้จะต้องหน้าตาเป็นอย่างไร และจะนำไปวางใช้กับเครื่องตรวจกระเป๋าได้อย่างไร โดยที่รังสี UVC ไม่ส่งผลกระทบกับรังสี X-Ray และจะต้องมีความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคได้ในระยะเวลาสั้น

จากนั้นเธอลงมือออกแบบเครื่องและนำไปปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเกิดความร่วมมือภภายใต้ MoU ระหว่าง เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป และคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงผลิตเครื่องต้นแบบอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy ด้วยรังสี UVC ซึ่งไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่แต่ทำอย่างไรที่จะนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยและใช้ประสิทธิภาพรังสี UVC ได้อย่างเต็มที่ในฆ่าเชื้อโรค 

อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy ผ่านการทดสอบมาตรฐานด้านวิศวกรรมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการทดสอบฆ่าเชื้อโรคจากคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่ง Smart handy อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ ได้ขึ้นทะเบียนจดสิทธิบัตร จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว

“ตอนทดสอบเรากำหนดโจทย์ว่าแสง UVC ที่สามารถฆ่าเชื้อให้ได้ภายใน 10 วินาที  จะต้องใช้ปริมาณรังสี UVC เท่าใด ซึ่งในการทดลองเลือกใช้เชื้อแบคทีเรียที่มีความแข็งแรงกว่าเชื้อไวรัส 200 เท่า (บาซิลลัส อะโทรเฟียส (Bacillus atrophaeus)) ผลการทดลองสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ 95% ทำให้อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ 99% ภายใน 18 วินาที” 

อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy ใช้เวลาในการทำวิจัยและพัฒนาเกือบ 1 ปี ใช้เวลามากตอนเขียนแบบแก้แบบ เพราะจิรัฏฐ์ณิชชาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานเป็นอันดับแรก จุดเด่นของอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy นอกจากนำเทคโนโลยีรังสี UVC มาใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคได้รวดเร็ว ก็คือการออกแบบอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานง่าย สะดวก และตอบโจทย์เรื่องการฆ่าเชื้อ (UX/UI และ function) ที่ “จุดคัดกรอง” ที่จะสามารถ “คัด” และ “กรอง” สิ่งของเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดได้ 

อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy ถูกออกแบบมาให้มีความสวยงามควบคู่กับความมสามมารถในการฆ่าเชื้อ โดยมีน้ำหนัก 250 กิโลกรัม รองรับน้ำหนักได้ 30 กิโลกรัม 

“อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy ออกแบบมาให้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในระบบคลาวด์ สามารถซ่อมแซมตัวเครื่องได้ หากเครื่องมีปัญหาจะส่งข้อมูลกลับมาที่บริษัทให้เข้าไปให้บริการทันที ไฟดับหนึ่งหลอดเราจะรู้ทันทีเข้าไปเปลี่ยนได้ทันที หน่วยงานหรือบริษัทที่นำเครื่องไปติดตั้งจะมีข้อมูลว่าเครื่องที่ติดตั้งนั้นฆ่าเชื้อไปแล้วกี่ชิ้น ส่งข้อมูลเป็นเรียลไทม์ให้หลังบ้าน สามารถนำไปวางแผนการบริหารจัดการได้” 

ปัจจุบันเครื่องฆ่าเชื้อ Smart Handy มีการติดตั้งและใช้งานจริงที่สำนักงานการท่าอากาสยานไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ บริษัทเตรียมขยายผลสู่การใช้งานที่อาคารผู้โดยสารต่อไปในอนาคต

เป้าหมาย คือ การเพิ่มมาตราการจุดคัดกรอง อยากให้เพิ่มการติดตั้งอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy ในทุกจุดที่เป็นจุดชุมชน อาทิ ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงเรียน และสนามบิน 

สำหรับกำลังการผลิตของบริษัทสามารถปรับเพิ่มได้ถ้าได้รับการสนับสนุน จะทำให้สามารถผลิตและส่งอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy ได้รวดเร็ว ซึ่งตอนนี้ได้รับการติดต่อจากหลายบริษัทในการจ้างผลิตเพื่อนำอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy ไปมอบให้สถานที่ต่าง ๆ อาทิ มีบริษัทให้การสนับสนุนให้ผลิตเพื่อนำไปมอบให้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ 

นอกจากนี้ รูปแบบการรับการสนับสนุนการผลิตแล้ว ทางเอชเค แมเนจเมนท์ เองก็เปิดโอกาสรับการระดมทุนจากนักลงทุนเข้ามาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตซึ่งอยู่ในแผนงาน

อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy นวัตกรรมโดยคนไทย เพื่อคนไทย

เป้าหมายสูงสุด คือ อยากให้หน่วยงานต่าง ๆ มองเห็นความสำคัญในการเพิ่มมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาด และอยากให้สนับสนุนนวัตกรรมของคนไทย ซึ่งอุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy เป็นนวัตกรรมที่วิจัยและพัฒนา ผลิตโดยคนไทย เพื่อคนไทย เพื่อให้คนในสังคมไทยสามารถออกมาใช้ชีวิตตามวิถีใหม่ได้ และฟื้นคืนเศรษฐกิจของประเทศ 

“อยากจะตะโกนบอกชาวโลกว่า คนไทยก็สามารถคิด พัฒนา ทำ และผลักดันสินค้าของคนไทยให้มีใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้เป็นที่รู้จักของต่างชาติในเรื่องของการเฝ้าระวัง ป้องกัน นำนวัตกรรมเข้ามาใช้” 

สิ่งนี้เป็นภาพสะท้อนของหลักการในการทำงานของจิรัฏฐ์ณิชชา ที่ทำในสิ่งที่รัก แม้บางครั้งยังจะมองไม่เห็นประโยชน์ในตอนนั้นว่าสิ่งที่ทำได้ประโยชน์จริงหรือไม่ แต่สิ่งที่เธอมุ่งนั้น คือ มาตรฐานคุณภาพชีวิตในการได้รับความปลอดภัยจากโควิด (รวมถึงโรคอุบัติใหม่ในอนาคต) ในชีวิตประจำวัน 

“บริษัทอุ้มเป็นบริษัทเล็ก ๆ แต่ไม่เคยลดเงินเดือนพนักงาน เงินเดือนเป็นสื่งหนึ่งที่ทำให้พนักงานเกิดคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในการใช้ชีวิตของทุกคนคือมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ทุกคนควรได้รับ เพราะหากขาดงานจากการติดโควิด ต้องรักษา หรือแม้แต่กักตัว นั่นหมายถึงการขาดรายได้” 

บริษัท เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป จำกัด ดำเนินการผลิต ติดตั้ง ตรวจสอบระบบทั้งก่อนติดต้ัง และหลังติดตั้ง ให้บริการหลังการขายตลอด 24 ชั่วโมง อุโมงค์ฆ่าเชื้อ Smart Handy บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการขอการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล และวางแผนนำสินค้านี้ไปสู่เวทีโลกเพื่อสร้างความภูมิใจให้คนไทย จิรัฏฐ์ณิชชา กล่าวทิ้งท้าย

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
WASINA- เรียบเรียง

บทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทศวรรษที่ 3 ของครี-ฟูล นำเทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดของลูกค้า

ก้าวใหม่ ‘ดอนเมืองโทลเวย์’ ให้บริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มุ่งส่งมอบคุณค่า สู่องค์กรเพื่อความยั่งยืน

เปิดเคล็ดลับการทำงานของ “อ้อ-พรทิพย์ กองชุน” ผู้หญิงคุณภาพของวงการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ