TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewก้าวใหม่ 'ดอนเมืองโทลเวย์' ให้บริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มุ่งส่งมอบคุณค่า สู่องค์กรเพื่อความยั่งยืน

ก้าวใหม่ ‘ดอนเมืองโทลเวย์’ ให้บริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มุ่งส่งมอบคุณค่า สู่องค์กรเพื่อความยั่งยืน

แนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ส่งผลให้หลาย ๆ หน่วยงานต้องออกมาปรับทัพใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และ (Governance) การกำกับดูแลกิจการ

บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT เป็นหนึ่งในองค์กรสำคัญที่มีบทบาทต่อคนใช้รถใช้ถนนในกรุงเทพมหานครมายาวนานกว่า 30 ปี วันนี้ลุกขึ้นมาปรับทัพใหม่ พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม นำไปสู่การสร้างธุรกิจที่เติบโตและยั่งยืนในอนาคต 

ธานินทร์ พานิชชีวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายหลังที่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีการปรับเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนธุรกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม นำไปสู่การสร้างธุรกิจที่เติบโตและยั่งยืนในอนาคต โดยครอบคลุมมิติความยั่งยืน ESG เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนรับทราบแนวการปฏิบัติ การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการบูรณาการ โดยมีเป้าหมายการส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนใน 3 มิติ ดังนี้

1) Environmental ดำเนินธุรกิจด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นข้อกังวลหลักของโลกในการลดและป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2) Social การดำเนินธุรกิจด้วยคุณภาพการบริการ ความสะดวก ความรวดเร็ว ความปลอดภัย อาชีวอนามัยในการทำงาน ความสัมพันธ์กับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกัน และ 3) Governance / Economic ธรรมาภิบาลเพื่อผลตอบแทนที่ยั่งยืนด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบ และถ่วงดุลภายใต้กฎระเบียบและข้อบังคับที่เข้มงวดความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สำหรับวิสัยทัศน์ใหม่ หลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในองค์กรใหม่นั้น ธานินทร์บอกว่า ทางยกระดับดอนเมืองจะก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการทางพิเศษชั้นนำ ที่เชื่อมโยงโครงข่ายถนนและระบบคมนาคมขนส่ง เน้นบริการที่เป็นเลิศ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทางผ่านระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาเทคโนโลยี และศึกษาโครงการใหม่ ๆ ทั้งในส่วนของธุรกิจเก็บค่าผ่านทาง และธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่เก็บค่าผ่านทาง พร้อมยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้เกิดคุณค่าที่ยั่งยืน ภายใต้กรอบการทำงาน 3 หัวข้อสำคัญคือ

1) Change of Technology – พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทั้งการชำระเงิน, พลังงานสีเขียวและพลังงานแสงอาทิตย์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติของกระบวนการหุ่นยนต์ (RPA) รวมถึงศึกษาการลงทุนโครงการใหม่ทั้งกลุ่มธุรกิจทางด่วนหรือทางพิเศษ และการลงทุนในกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ 2) Change of Law and Environment – ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเพื่อส่งมอบคุณค่าสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, การเปลี่ยนแปลงนโยบาย CG เป็น E/S/CG Sustainability Company, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA), มาตรฐาน ISO และการปรับปรุงและบูรณาการ ERP และ 3) Change of Consumer Behavior – มุ่งให้การบริการเป็นเลิศด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับการเดินทาง ตอบสนองพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้บริโภค อาทิ สังคมไร้เงินสด, รถ EV, การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์ (CRM) และการให้ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และนโยบาย 5-พ ได้แก่ พัฒนาคน พัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบความปลอดภัย พัฒนาธุรกิจ และพัฒนาเทคโนโลยี ตามที่ตั้งไว้ ฝ่ายบริหารจึงได้กำหนดแผนกลยุทธ์ประจำปี 2565 ไว้ดังนี้

  1. พัฒนาคน – เน้นการพัฒนาคนเป็นสิ่งแรกโดยมีนโยบาย ในการพัฒนาด้านความรู้ (Knowledge) พัฒนาด้านทักษะ (Skill) และพัฒนาทัศนคติ (Attitude) ประกอบกันทั้ง 3 ด้าน ผ่านการฝึกอบรม การศึกษาดูงานองค์กรภายนอกและการเปิดโอกาสให้พนักงานมีความคิดริเริ่มในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยการวางแผนพัฒนาคนนั้นจะต้องให้เหมาะสมกับศักยภาพและลักษณะงานที่พนักงานรับผิดชอบด้วย
  2. พัฒนาระบบงาน – เนื่องจากบริษัทฯ ได้เปิดดำเนินการมากว่า 31 ปีแล้ว กระบวนการและระบบงานต่างๆ ที่ได้ใช้งานมาตั้งแต่ต้นก็ล้าสมัยและเก่าลงบางระบบไม่สามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ ได้ ดังนั้น การพัฒนาระบบงานอยู่เสมอเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดการซ้ำซ้อนเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานแต่ยังคงไว้ซึ่งการควบคุมภายในที่ดี
  3. พัฒนาระบบความปลอดภัย – สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านความปลอดภัย ไม่ว่าจะโดยวิธีการจัดการจราจร การกู้ภัย การพัฒนาระบบตรวจตราจราจรให้ดียิ่งขึ้น หรือการดูแลรักษาซ่อมบำรุงให้ทางยกระดับสามารถใช้งานได้ดีและปลอดภัยเสมอ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยของพนักงาน มีการจัดสรรงบประมาณต่าง ๆ เพื่อช่วยให้พนักงานได้รับความปลอดภัยในการทำงาน
  4. พัฒนาธุรกิจ –  บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจที่รับสัมปทานจากกรมทางหลวงและมีอายุสัมปทานจำกัด ดังนั้นเพื่อการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องและการดำรงอยู่ของบริษัทฯ อย่างมั่นคง จึงต้องหาธุรกิจใหม่ ๆ มารองรับ อีกทั้งการหาโอกาสทางธุรกิจโดยการสร้างเครือข่ายทางเชื่อม ทางขึ้นลง ทางต่อขยาย เป็นการสร้างปริมาณจราจรและรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้นจากการเรียนรู้ในการประมูลที่ผ่านมาฝ่ายบริหารพบว่า บริษัทฯ ขาดพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานออกแบบก่อสร้าง (Design and Construction) ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนที่ทำให้สามารถแข่งขันได้ บริษัทฯ จึงได้ปรับกลยุทธ์โดยนำประสบการณ์ด้าน Operation and Maintenance ที่เป็นจุดแข็งมาวางกลยุทธด้านพัฒนาธุรกิจให้บริษัทฯ เป็น Operation and Maintenance Contractor (O&M Contractor) ที่เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ ในระยะยาวต่อไป
  5. พัฒนาเทคโนโลยี – ส่งเสริมให้พนักงานนำเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านบุคคลากร ด้านระบบ ด้านความปลอดภั ยและด้านธุรกิจ โดยกระตุ้นให้พนักงานติดตามความเคลื่อนไหวของแนวโน้มทางเทคโนโลยีต่างๆ ที่สำคัญและตระหนักถึงประโยชน์ในการนำเทคโนโลยีมาใช้งานให้มากขึ้น

ธานินทร์ กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้คณะกรรมการผู้จัดการยังได้มีการอนุมัติปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ภายในสายงานสำนักกรรมการผู้จัดการ ให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และแผนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน โดยการปรับปรุงโครงสร้างภายในสำนักกรรมการผู้จัดการ จากตำแหน่งงานและบุคลากรที่มีอยู่ในโครงสร้างเดิม รวมกันเป็นสายงานพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซึ่งประกอบไปด้วย 

  • ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และระบบบริหารคุณภาพ (ชื่อเดิมฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และสื่อสารองค์กร) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาบุคลากรและมอบหมายให้ทำหน้าที่คงรักษาไว้ซึ่งระบบมาตรฐานคุณภาพและสิ่งแวดล้อม (ISO 9001:2015 และ ISO 14001:2015) 
  • ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (ชื่อเดิมเป็นส่วนพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์) เพื่อวางแผนพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน 
  • รวมกันเป็นสายงานใหม่ ภายใต้สำนักกรรมการผู้จัดการ ซึ่งเป็นการกำหนดบทบาทและหน้าที่ให้ชัดเจนมากขึ้นในการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน

ระบบบริหารงานด้านคุณภาพ 

ธานินทร์ยังบอกอีกว่า ล่าสุด บริษัทฯ ได้รับการรับรอง ระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 และ ISO14001:2015 ขอบเขตการรับรองการดำเนินงานและบำรุงรักษาทางยกระดับอุตราภิมุข ตอนดินแดง ดอนเมือง  อนุสรณ์สถานแห่งชาติ และได้มีการจัดพิธีรับมอบใบรับรองระบบบริหารงานด้านคุณภาพ ISO9001:2015 และ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001:2015 จาก Certification Body (CB) บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 ซึ่ง ต่อไป DMT จะต้องวางแผนเพื่อให้คงรักษาไว้ซึ่งระบบมาตรฐาน ISO ที่ได้รับ และทบทวนปรับปรุงเปลียนแปลงให้ทันยุคทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อการทำงานที่เป็นมาตรฐานและความยั่งยืนขององค์กร ต่อไป

บรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission ในปี 2065

สืบเนื่องจากเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทำให้เกิดภาวะโรคร้อน ประชาคมโลกหันมาสนใจและสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยมลพิษ และส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ในปี 2564 ภาครัฐและตลาดหลักทรัพย์มีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์มีกิจกรรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และเปิดเผยในรายงานความยั่งยืน รวมทั้งมีกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 

ดังนั้น ในอนาคตบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำเป็นต้องวางแผนงานและทรัพยากรทั้งงบประมาณและบุคลากรไว้รองรับ โดยในปี 2564 ได้เริ่มดำเนินการวางระบบมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และวาง Roadmap การพัฒนาองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดรับกับนโยบายภาครัฐ ที่มีเป้าหมาย Carbon Neutral ในปี 2050 และ Net Zero Emission ปี 2065

ร่วมกับ GEPP Sa-Ard (เก็บ สะอาด) สตาร์ทอัพด้านการจัดการขยะ วางแผนจัดการขยะจากการทำงานของ DMT รวมถึงการวางแผนการใช้ Solar Energy และสนับสนุน รถ EV

การรับผิดชอบต่อสังคม

บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง เล็งเห็นความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติตามแนวหลักการรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรจะสามารถนำพาธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้อยู่รอดร่วมกันได้ โดยกำหนดแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการตอบแทนสังคม 5 ด้าน ได้แก่ 1) Tollway Smart Way ยกระดับโอกาสการศึกษา 2) Tollway Happy Way ยกระดับชุมชนปลอดยาเสพติด 3) Tollway Safety Way ยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนน 4) Tollway Better Way ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสังคม และ 5) Tollway Green Way ยกระดับสิ่งแวดล้อมชุมชน

พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

ธานินทร์ กล่าวว่า เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนด้านกำกับดูแลกิจการ หรือมิติเศรษฐกิจ ที่มีประเด็นสำคัญด้านนวัตกรรม บริษัทฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง (Innovation and Deep Tech Working Team) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่มีทั้งวิกฤติและโอกาสในอนาคต เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี กฎหมาย และพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ต้องติดตามและพัฒนาให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง และเพื่อสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจไปยังกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ เพิ่มแหล่งรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนที่สำคัญของแผนธุรกิจของบริษัทฯ ด้านนวัตกรรม

โดยมีการการปรับปรุงคุณภาพทางยกระดับเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ระบบ M-Pass / Easy Pass – ปัจจุบันมีการติดตั้งระบบบน 32 ช่องผ่านทางทั้ง 9 แห่ง, การชำระค่าผ่านทางด้วยบัตร EMV และ QR Payment, Multi Lane Free Flow (MLFF) – ระบบเก็บค่าผ่านทางแบบใหม่ที่ใช้ video tolling แบบ AI ตรวจจับป้ายทะเบียนรถ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงทดลองใช้

ในส่วนของระบบจัดการจราจรและเฝ้าระวัง มีศูนย์ควบคุมการปฏิบัติงาน – ที่มีการตรวจสอบตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน เพื่อตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติ หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น, โทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) – ปัจจุบันติดตั้งกล้องพร้อมระบบ AI 159 ตัว และกล้องวงจรปิดมากกว่า 300 ตัว, ป้ายข้อความตัวแปร (Variable Message Sign) – ติดตั้งแล้ว 8 จุดพร้อมระบบประมาณการเวลาเดินทาง, ป้ายเมทริกซ์ (Matrix Signs) –  ป้ายเมทริกซ์ 42 ตัว ทุก ๆ 1 กิโลเมตร, โทรศัพท์ฉุกเฉิน (Emergency Telephones) – มีโทรศัพท์ฉุกเฉินซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งบนทางยกระดับดอนเมืองทุกระยะ 500 เมตร ทั้งด้านขาออกและขาเข้า, สัญญาณเตือนความเร็วเกิน (Overspeed Warning Signs) – สัญญาณเตือนความเร็วเกินกำหนด เพื่อเตือนผู้ใช้เมื่อตรวจพบความเร็วเกินขีดจำกัด

ทีมกู้ภัย – ในกรณีที่ผู้ใช้ทางประสบอุบัติเหตุหรือเครื่องยนต์ขัดข้องบนทางยกระดับดอนเมือง ทีมกู้ภัยจะให้ความช่วยเหลือและแก้ไขเครื่องยนต์จนสามารถวิ่งต่อไปได้หรือหากไม่สามารถแก้ไขได้ก็จะช่วยลากจูงรถจากบนทางยกระดับดอนเมืองลงไปยังพื้นราบโดยใช้ทางลงที่ใกล้ที่สุด

นอกจากนี้ภายในไตรมาส 2 ปี 2565 บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง ยังเตรียมเปิดตัว Line Official Account @donmuangtollway เพื่อแจ้งสิทธิประโยชน์ และจัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงการปรับปรุงการให้บริการรถยนต์ EV ไม่ว่าจะเป็น บริการผู้ช่วยผู้ใช้งานโทลเวย์ โดยมีการพัฒนาแผนที่สถานีชาร์จ EV ใกล้ทางด่วน, การค้นหาสถานีชาร์จ EV ได้ง่ายในบริเวณใกล้เคียง Tollway, การสนับสนุนรถ EV, บริการผู้ช่วยแนะนำการชาร์จ EV

บทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เปิดเคล็ดลับการทำงานของ “อ้อ-พรทิพย์ กองชุน” ผู้หญิงคุณภาพของวงการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพไทย

เปิดแผนพันธกิจ “ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย” กับบทบาทผู้อำนวยการเนคเทค วาระที่ 2

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ