TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessอาถรรพ์ WEH สายลมร้อน ๆ ในอุ้งมือ ณพ ณรงค์เดช

อาถรรพ์ WEH สายลมร้อน ๆ ในอุ้งมือ ณพ ณรงค์เดช

ฮือฮาขึ้นมาอีกครั้งสำหรับ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ “WEH” เมื่อณพ ณรงค์เดช ยอมออกมาพบสื่อครั้งแรกในรอบหลาย ๆ ปี เพียงเพื่อต้องการสร้างภาพลักษณ์ พร้อมสยบข่าวต่าง ๆ ของบริษัท เนื่องจากเป็นอีกครั้งที่วินด์ เอนเนอร์ยี่ จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ทั้งที่ยังมีเรื่องอีกมากมายคาราคาซังอยู่

-สมรภูมิ “ขนส่งพัสดุ”​ รู้ซึ้ง ศึกพรีเซนเตอร์ไม่ได้ช่วยอะไร
-ปฐมบทใบอนุญาตดาวเทียมไทย สิ้นยุคดาวเทียมชื่อ “ไทยคม”

ประเด็นหลักในการเปิดใจ เรื่องคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ พร้อมย้ำชัดว่า คดีความส่วนใหญ่ยุติแล้วและตนเองเป็นผู้ชนะคดี เช่น คดีอนุญาโตตุลาการที่บริษัทของ นายนพพร มาฟ้องเพื่อยกเลิกการขายหุ้นให้กับตน อนุญาโตตุลาการก็ตัดสินว่ายกเลิกการขายหุ้นไม่ได้หรือคดีที่ฮ่องกงที่บริษัทของ นายนพพร และครอบครัวของตนมาฟ้องตน ศาลฮ่องกงได้ยกคดีทิ้งไปทั้งหมดแล้ว… แต่ต้องถือว่า รายละเอียดข้อมูลน้อยไปหน่อย โดยเฉพาะไม่มีเอกสารใด ยืนยันคำพูดดังกล่าว

ทันทีที่กระแสขาวแพร่ไปยังสาธารณะ เสี่ยนิคหรือ นพพร ศุภพิพัฒน์ อดีตเจ้าของวินด์เอนเนอร์ยี ถึงกับ Zoom จากประเทศฝรั่งเศส ถึงสื่อไทย ว่า ข้อมูลที่ ณพ พูดมีความคลาดเคลื่อนสูง โดยเฉพาะเรื่องคดีความ และเรื่องที่ ณพ ยังไม่ชำระเงินให้กับบริษัทของตน ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ รวมทั้งสิ้นกว่า 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งค่าที่ปรึกษากฎหมาย และค่าสถาบันอนุญาโตตุลาการ ICC อีก 228 ล้านบาท พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่า ถ้าตนชนะคดี โครงสร้างหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยีที่โกลเด้น มิวสิค ถืออยู่ในสัดส่วนร้อยละ 40 อาจต้องเปลี่ยนมือไปเป็นของบุคคลอื่น

เป็นอีกครั้งที่วินด์เอนเนอร์ยี มีปัญหาและอุปสรรคในการจะนำบริษัท เข้าตลาดหลักทรัพย์ ก่อนหน้านี้ก็มีเหตุทำให้วินด์ไม่สามารถ เสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ทั้งที่มีแผนจะทำในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 แต่ก็ต้องเลื่อนแล้วเลื่อนอีก เพราะปัญหาหุ้นในมือของ ณพ ณรงค์เดช ที่ไม่ยอมชำระเงินและมีการผ่องถ่ายหุ้น จนเป็นที่มาของปัญหาฟ้องร้องต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งศึกภายในตระกูลณรงค์เดชด้วย

การเข้าระดมเงินในตลาดไม่ได้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ในฐานะสถาบันการเงินหลัก (Mandated Lead Arranger) ที่สินเชื่อในโครงการลงทุนของ วินด์ เอนเนอร์ยี เป็นวงเงินสินเชื่อ ทั้ง 8 โครการประมาณ 50,000 ล้านบาท

วินด์ เอนเนอร์ยี เป็นบริษัทที่แวดวงพลังงานทดแทนจับตาดู ไม่แพ้คนในแวดวงหุ้น เพราะถือเป็นบริษัทด้านพลังงานหมุนเวียนที่เติบโตรวดเร็ว ปัจจุบัน วินด์เอนเนอร์ยี่ มีกำหันลมผลิตไฟฟ้าจำนวน 270 ต้น มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 717 เมกะวัตต์ กระจายอยู่ 2 จังหวัดคือนครราชสีมา และชัยภูมิ ขนาดพื้นที่รวม 850 ตารางกิโลเมตร ถือว่าใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม FKW กำลังผลิตติดตั้ง 103.5 MW เริ่มผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ (COD) ปี 2555
2.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม KR2 กำลังผลิตติดตั้ง 103.5 MW เริ่ม COD ปี 2556
3.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม WTB กำลังผลิตติดตั้ง 60 MW เริ่ม COD ปี 2559
4.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม T1 กำลังผลิตติดตั้ง 90 MW เริ่ม COD ปี 2561
5.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม T2 กำลังผลิตติดตั้ง 90 MW เริ่ม COD ปี 2561
6.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม T3 กำลังผลิตติดตั้ง 90 MW เริ่ม COD ปี 2561
7.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม NKS กำลังผลิตติดตั้ง 90 MW เริ่ม COD ปี 2561
8.โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม T4 กำลังผลิตติดตั้ง 90 MW เริ่ม COD ไตรมาส 1 ของปี 2562

รายได้บริษัทก็โตวันโตคืน ล่าสุด 6 เดือนแรกของปี 2563 มีรายได้รวม 4,320 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,261 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 12,058 ล้านบาท กำไร 5,888 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 1,623,942,388 บาท กำไร 954,355,293 บาท
ปี 2560 รายได้ 889,706,397 บาท กำไร 263,639,430 บาท
ปี 2559 รายได้ 794,785,127 บาท กำไร 246,327,346 บาท
ปี 2558 รายได้ 747,939,242 บาท กำไร 76,730,107 บาท

ไม่รู้ว่า ภารกิจนำวินด์เอนเนอร์ยี เข้าระดมทุนในตลาดต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไร เพราะปัจจุบัน วินด์เอนเนอร์ยี มีสถานะเป็นบริษัทจำกัด แต่มีการกระจายหุ้นรายย่อยมากกว่า 200 ราย ดังนั้นทันทีที่ วินด์สามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ผู้ถือหุ้นเดิมขายหุ้นทิ้ง ปล่อยนักลงทุนทั่วไปเข้ามารับช่วงต่อ ด้วยต้นทุนราคาหุ้นที่สูง แต่ก่อนไปถึงจุดนั้น คงต้องมาลุ้นกันว่า ภารกิจของณพ ณรงค์เดช จะสำเร็จหรือไม่ และกว่าจะสำเร็จต้องแลกมาด้วยอะไรบ้าง ……. มันคุ้มหรือไม่

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-เปิดแนวคิด 3 องค์กรใช้กลยุทธ์การ ‘ฟัง’เสียงของพนักงานและลูกค้าด้วยโซลูชัน Qualtrics
-ฤา “เรือดำน้ำ”… มาก่อนปากท้อง
-แพลตฟอร์มหนุนครีเอเตอร์ ปั๊มคอนเทนต์ ดันยอดผู้ใช้
-รพ.ราชธานี ปรับตัวรับมือโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ยืดหยุ่น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ