TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewปฐมบทใบอนุญาตดาวเทียมไทย สิ้นยุคดาวเทียมชื่อ “ไทยคม”

ปฐมบทใบอนุญาตดาวเทียมไทย สิ้นยุคดาวเทียมชื่อ “ไทยคม”

พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยกับ The Story Thailand ถึงการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานมาเป็นระบบใบอนุญาตของธุรกิจดาวเทียม เนื่องจากสัญญาสัมปทานครั้งแรก ระหว่างกระทรวงคมนาคม กับบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ จำกัด ที่เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2534 อายุสัมปทาน 30 ปี กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 11 กันยายน 2564

จากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 มาตรา 60 ระบุไว้ว่า รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น กสทช. มีหน้าที่บริหารจัดสรร สิทธิวงโคจรดาวเทียม เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน กิจการดาวเทียมสื่อสาร จาก “สัญญาสัมปทาน” มาเป็น​”ใบอนุญาต”

“เดิมที่สัมปทานทำระหว่างเอกชนและกระทรวงคมนาคม ก่อนเปลี่ยนมาเป็นกระทรวงไอซีที และกระทรวงดีอีเอสในปัจจุบัน ดังนั้น สิทธิดาวเทียมเป็นสินทรัพย์ของกระทรวงดีอีเอส ส่วนสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม และคลื่นความถี่ กสทช. เป็นคนดูแล

ดาวเทียมดวงแรก เกิดจากสัญญาสัมปทาน 10 กันยายน พ.ศ. 2534 ระยะเวลาสัมปทาน จำนวน 30 ปี สิ้นสุด ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2564 เกิดการเปลี่ยนผ่าน กสทช.เอาสิทธิวงโคจรดาวเทียมมาออกประกาศเสนอแนวทางการคัดเลือก กับผู้ที่สนใจใบอนุญาต ซึ่งกฎหมายเรื่องกิจการดาวเทียม ไม่ได้บังคับว่าจะต้องใช้การประมูล (Auction) เพียงวิธีเดียวเท่านั้น อาจจะใช้วิธีการคัดเลือก (Beauty Contest) หรือวิธีอื่นใดก็ได้

ในช่วงนี้ กสทช. ได้มีการเตียมการ ในการจัดทำแผน 3 แผน ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกสทช.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย

  • แผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม
  • หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมประเทศไทย
  • หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติในการให้บริการในประเทศ

ก่อนหน้านี้ สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม หรือที่เรียกว่า เอกสารข่ายงานดาวเทียม (Satellite Network Filing) ของประเทศไทยทั้งหมดที่ได้รับการอนุมัติจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU: International Telecommunication Union) มีวงโคจร 7 Slot 14 ไฟล์ลิ่ง เอามาจัดชุดเป็น 4 ชุด เพื่อทำการประมูลหรือคัดสรร เปิดให้บริษัทที่สนใจมาประกอบกิจการดาวเทียมให้บริษัทรายเก่าและใหม่เบื้องต้นจัดแบ่งเป็น 4 ชุด (หรือ 4 Package) ดังนี้

  • ชุดที่ 1 ประกอบด้วย วงโคจร 50.5E (ข่ายงาน C1 และ N1) และ วงโคจร 51E (ข่ายงาน 51) 
  • ชุดที่ 2 ประกอบด้วย วงโคจร 78.5E (ข่ายงาน A2B และ LSX2R) 
  • ชุดที่ 3 ประกอบด้วย วงโคจร 119.5E (ข่ายงาน IP1, P3 และ LSX3R) และ วงโคจร 120E (ข่ายงาน G2K และ 120E)
  • ชุดที่ 4 ประกอบด้วย วงโคจร 126E (ข่ายงาน 126E) และ วงโคจร 142E (ข่ายงาน G3K และ N5)

ดาวเทียมไทยคม 4 อายุสัมปทานจะหมดลงในปี 2564 แต่อายุดาวเทียมทางวิศวกรรมจะหมดลงในปี 2566 ดังนั้น แม้จะหมดอายุสัมปทานแล้วแต่ตัวดาวเทียมยังคงใช้ได้อีก 2 ปี ในขณะที่ดาวเทียมไทยคม 5 อายุสัมปทานจะ หมดปลายปีนี้ แต่ตัวดาวเทียมเสียก่อนหมดอายุสัมปทาน ในการประมูลครั้งนี้ เราจะประมูลดาวเทียมดวงที่อายุสัมปทานหมดลง คือ ดาวเทียมไทยคม 5 ส่วนดาวเทียมไทยคม 4 วงโคจร 119.5 องศา จะเอาออกมาประมูลล่วงหน้า เนื่องจากต้องมีการสร้างดาวเทียมซึ่งต้องใช้เวลา แต่จะใช้ใบอนุญาตได้หลังปี 2566”

นอกจากนั้น ยังมีการคุยกันในหลักการระหว่าง กสทช.และกระทรวงดีอีเอส ว่า ช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ หากกระทรวงฯ มอบสิทธิดาวเทียมให้ใครใช้งานก็ตาม กสทช.ก็จะให้สิทธิการใช้วงโคจรหน่วยงานนั้น จนสิ้นสุดอายุทางด้านวิศวกรรม

“ส่วนการประมูลดาวเทียมนั้น ถ้าเป็นไปได้จะเปิดประมูลภายในปี 2563 ซึ่งกิจการดาวเทียมถือเป็นการให้บริการสื่อสารชนิดหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น โดยพื้นฐานต้องเป็นไปตามกฎหมายของไทย เพื่อความมั่นคง คือ บริษัทต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% บริษัทไทย 51% ต่อให้ในข้อกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลจะระบุว่า บริษัทที่เข้าประมูลต้องมีความพร้อม ด้านเงินลงทุนและอื่น ๆ รวมทั้งต้องมีประสบการณ์ในการดำเนินงานกิจการดาวเทียมด้วย ซึ่งบริษัทคนไทยนอกเหนือจาก “ไทยคม” อาจจะไม่มีบริษัทที่มีปราบการณ์ แต่ไม่ถือเป็นการกีดกัน เนื่องจาก กสทช. จะมีการอนุญาตบริษัทในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) และกิจการค้าร่วม (Consortium) ได้”

สัญญาสัมปทานดาวเทียม “ไทยคม”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ