TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistการกำหนดกลยุทธ์ดิจิทัล 4 ด้านให้สอดคล้องกับ Gartner Strategic Technology Trends 2021

การกำหนดกลยุทธ์ดิจิทัล 4 ด้านให้สอดคล้องกับ Gartner Strategic Technology Trends 2021

หลายคนอาจสงสัยว่าเราจะต้องวางแผนแนวทางด้านเทคโนโลยีขององค์กรเราอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับ Strategic Technology Trends 2021 ของ Gartner ที่ประกาศออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยได้ระบุถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ 9 ด้าน คือ

  • Internet of Behaviours
  • Total Experience
  • Privacy-enhancing Computation
  • Distributed Cloud
  • Anywhere Operation
  • Cybersecurity Mesh
  • Intelligent Composable Business
  • AI Engineering
  • Hyperautomation

แนวโน้มเทคโนโลยีเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นผลที่มาจากการเกิดวิกฤติโควิดที่ทำให้เกิดเรื่องของการสร้างระยะห่างทางสังคม สังคมเข้าสู่เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น และการเกิด Digital Disruption มาเร็วขึ้น ทำให้การใช้ชีวิตส่วนตัวและทำงานเป็นแบบรีโมทมากขึ้น ธุรกิจจะต้องมีความคล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว และมีความจำเป็นจะต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) มาใช้ในองค์กรมากขึ้น

-จุดเปลี่ยนของการใช้อินเทอร์เน็ต ที่ทำให้มีการแพร่หลายมากขึ้น
-อินเทอร์เน็ตในยุคโมเด็ม, ICQ, GPRS และ PDA

จาก Gartner ทำให้ผู้บริหารองค์กรต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ดิจิทัลอยู่ 4 ด้าน คือ

  • การออกแบบสถาปัตยกรรมไอทีแบบกระจาย (Distributed Architecture)
  • กำหนดกลยุทธ์ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า
  • การตั้งทีมงานด้านเอไอแภายในองค์กร
  • กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีที่จะให้บริการลูกค้าและปรับวิธีการทำงานของพนักงานเป็นแบบที่ใดก็ได้ (Location Independent)

กลยุทธ์สถาปัตยกรรมไอทีแบบกระจาย

เพื่อให้เราสามารถปรับเปลี่ยนบริการไอทีและดิจิทัลให้รวดเร็วและมีความคล่องตัว ระบบไอทีในองค์กรคงต้องใช้บริการของ Public Cloud มากขึ้น และอาจต้องเน้นใช้บริการของผู้ให้ที่มี Distributed Cloud ขณะเดียวกันการออกแบบระบบไอทีก็จะต้องเน้นเป็น Microservices ที่เป็น Modularity มากขึ้น เพื่อที่จะประกอบแอปพลิเคชัน หรือบริการใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ให้สอดคล้องกับแนวโน้มในเรื่องของ Intelligent ​Composable Business นอกจากนี้ ในแง่ของการออกแบบระบบความปลอดภัยคงต้องเน้นว่า การใช้บริการไอทีอาจมาจากภายนอกองค์กรมากขึ้น ดังนั้น รัศมีการควบคุมก็อาจถูกกำหนดตามแนวโน้มของ Cybersecurity Mesh

กลยุทธ์ด้าน Big Data

องค์กรจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์ในการเก็บข้อมูลลูกค้าให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยเฉพาะเรื่องของพฤติกรรมลูกค้า ซึ่งอาจต้องมีการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ เก็บข้อมูล CRM หรือโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ได้มาซึ่ง Internet of Behaviors ของลูกค้า จากนั้นต้องมั่นใจว่าการนำข้อมูลต่างไปประมวลผลมีความเป็นส่วนตัวที่เข้ารหัส และกระจายไปพันธมิตรที่เกี่ยวข้องโดยเป็นไปตามแนวโน้มด้าน Privacy-enhancing computation ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะนำมาซึ่งประสบการณ์โดยรวม (Total experience) ที่ดีขึ้นสำหรับทุกฝ่าย

กลยุทธ์ด้านเอไอ

องค์กรจะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ทางด้านเอไอ บริการและผลิตภัณฑ์ขององค์กรจะต้องมีระบบเอไอฝังอยู่ กระบวนการทำงานต่าง ๆ ขององค์กร จะต้องถูกปรับให้เป็นแบบอัตโนมัติในลักษณะที่สามารถทำงานเชื่อมโยงกันในแต่ละระบบได้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้าน Hyperautomation และการพัฒนาระบบไอทีจะต้องมีแนวปฎิบัติเรื่องของ AI Engineering ตั้งแต่การทำ DevOps

กลยุทธ์การให้บริการลูกค้า

องค์กรต้องออกแบบแอปพลิเคชันทั้งทางด้านการให้บริการลูกค้า การทำงานของพนักงานให้เป็นแบบ Anywhere Anydevice และ Anytime เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มของสังคมที่เปลี่ยนไปสู่ Anywhere Operation และต้องเน้นการนำเอไอและการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้เพื่อให้เกิด Total Experience ด้วย

ทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่อยากจะแนะนำให้ผู้บริหารวางแผนในการปรับตัวสู่การทำ Digital ​Transformation ที่สอดคล้องกับแนวโน้มของ Gartner

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ