TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistทำอย่างไร ถ้าทำใจเติมพอร์ตไม่ได้จริง ๆ

ทำอย่างไร ถ้าทำใจเติมพอร์ตไม่ได้จริง ๆ

คุณคิดว่านักลงทุนมักพลาดกันตรงไหนครับ?

“เสียใจเล็กน้อยที่ตอนตกหนัก ทำใจเติมไม่ไหวจริง ๆ ตอนนี้เสียดาย”

ผมเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นกับใครหลายคน และกับบางคนอาจไม่ใช่แค่ครั้งเดียว

ต่อให้คุณจะเข้าใจดีว่าการเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งดี แต่ในเวลาที่สถานการณ์ตลาดย่ำแย่ พอร์ตติดลบ บางทีก็ ‘ทำใจ’ เพิ่มทุนไม่ได้เหมือนกัน ใช่ไหมละครับ

บ้างก็กลัวว่าเพิ่มทุนไปแล้วจะไม่ช่วยอะไร

บ้างก็กลัวว่าเพิ่มทุนไปแล้วเงินจะสลายหายไปหมด

เรามักจะเสียดาย ที่ไม่ได้เพิ่มทุนในจังหวะที่สถานการณ์โลกย่ำแย่ ตลาดผันผวน หรือเกิดวิกฤติในบางอุตสาหกรรม

ลูกค้าของ Jitta Wealth ก็มีไม่น้อยเลยครับ ที่ปล่อยให้พอร์ตทำตามหลักการอย่างแข็งขันผ่านวิกฤติต่างๆ มาได้ เมื่อฟื้นกลับมาทำกำไรอีกครั้ง กลับมานั่งดูแล้วก็เกิดความรู้สึก ‘เสียดาย’ ที่เข้ามาปกคลุมหัวใจแทน  หลายคนมีประสบการณ์จริงว่าในยามวิกฤติ ‘ใจไม่นิ่งพอ’  จนพลาดที่จะเก็บเกี่ยวผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมหลังวิกฤติ

เป็นความ ‘พลาด’ ที่นักลงทุนหลายคนมักเผชิญ จนเป็นที่มาของวลี ‘รู้งี้’

แต่ก็เป็นความ ‘พลาด’ ที่ป้องกันได้ไม่ยากครับ…

ก่อนที่จะ ‘พลาด’ จนอดไม่ได้ที่จะ ‘รู้งี้’ ลองเริ่มต้นทำความเข้าใจความจริงในโลกของการลงทุนเสียหน่อย เพื่อให้คุณได้เห็นมุมมองใหม่ พร้อมปรับกลยุทธ์ต้อนรับปีใหม่ คนใหม่ จะพอร์ตใหม่หรือพอร์ตเดิมก็ทำได้

3 ความจริงในโลกลงทุนที่ต้องรู้ไว้จะไม่ ‘รู้งี้’

1) ความเป็นจริงที่ว่า ‘ตลาดหุ้นส่วนใหญ่เป็นขาขึ้นมากกว่าขาลง’

ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค ที่เก็บสถิติผลตอบแทนรายปีของดัชนี S&P 500 (รวมปันผล) ย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี 2471-2565 พบว่าตลอด 95 ปี ที่เก็บข้อมูลมา มีตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นอยู่ถึง 69 ปี ในขณะที่มีตลาดหุ้นขาลงอยู่ 26 ปีเท่านั้น!

2) ความจริงที่ว่า ‘โอกาสในการลงทุน ถ้าพลาดแล้วอาจพลาดเลย’

เพราะจากสถิติโดยเฉลี่ยทุก 10 ปี จะมีปีที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นถึง 7 ปี และขาลงเพียง 3 ปี นั้นหมายความว่า ขาลงที่ให้คุณได้ช้อนหุ้นถูกมีไม่มาก

แต่คุณก็ต้องมั่นใจว่าหุ้นที่จะช้อนมีพื้นฐานที่ดีมีโอกาสเติบโตในอนาคตด้วย

3) ความจริงที่ว่า ‘ในวิกฤติย่อมมีโอกาส หลังสงครามมักจะมีเศรษฐีใหม่’

หากย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี 2479 ตลอดระยะเวลา 87 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้จะผ่านเหตุการณ์มากมาย ตั้งแต่สงครามโลก สงครามเย็น การลอบสังหารประธานาธิบดี วิกฤติ Dot Com ยันวิกฤติซับไพรม์ และอื่น ๆ มามากมายนับไม่ถ้วน แต่ผลตอบแทนก็ขึ้นเอา ๆ

หากคุณลงทุนอิงกับดัชนี S&P 500 ไว้เพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่เวลานั้นเงินลงทุนก่อนนั้นจะมีมูลค่าสูงถึง 557,253 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2565!

‘ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย’ นะครับ เมื่อคุณเปลี่ยนจาก ‘รู้งี้’ เป็น ‘รู้แล้ว’ ก็เหลือแค่การลงมือเท่านั้นครับ

เพราะการลงทุนเป็นวิธีการสร้างเงินให้เติบโตทบต้น ให้มูลค่าของเงินได้ต่อสู้กับเงินเฟ้อ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตทางการเงินของคุณ 

คำถามที่เกิดขึ้นกับนักลงทุนทุกคนอยู่บ่อยๆ คือ ‘จะต้องลงทุนเมื่อไหร่ ช่วงไหนที่ต้องเพิ่มทุน’ วิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างผลตอบแทนระยะยาวคือ การลงทุนในหุ้นอย่างสม่ำเสมอ หรือการเพิ่มทุนหรือ DCA อย่างมีวินัยอยู่เรื่อย ๆ

ผมขยายความง่าย ๆ ดังนี้นะครับ DCA ก็คือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย ลงทุนเป็นงวด ๆ ด้วยจำนวนเงินที่เท่า ๆ เดิมอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้พอร์ตเติบโตอย่างมีวินัย ลดความผันผวนได้อย่างดีในระยะยาว เช่น DCA ทุกวันที่ 1 ของเดือน เพราะการเพิ่มทุน หรือเพิ่มเงินต้นจะช่วยเร่งความเร็วเงินทบต้น

และทุกครั้งเมื่อมีโอกาส นอกจากจะเติมเงินต้นแบบมีวินัยอย่าง DCA แล้ว ก็เพิ่มเงินก้อนเข้าไปในพอร์ตบ้าง เพื่อเติมพลังให้เงินทบต้นได้เร็วขึ้น เช่น  ในช่วงปลายปีหรือต้นปีที่คุณมักจะได้รับโบนัสประจำปี ก็ควรนำเงินมาเพิ่มทุนทุกครั้งที่ได้เงินก้อน  เพื่อเปิดโอกาสให้เงินของคุณทำงาน เพิ่มทุนหรือ DCA สร้างเงินทบต้น ลดความผันผวนและกระจายความเสี่ยง สร้างพอร์ตเติบโตกำไรพุ่งไปอย่างสบายใจ

ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ เพราะวิธีนี้ ภารกิจที่คุณต้องทำ ก็มีแค่เซ็ตกฎการเพิ่มทุนหรือ DCA ที่ชัดเจนให้ตนเอง และทำตามกฎนั้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าตลาดจะขึ้นหรือลงก็ตาม

คุณอาจจะสัญญากับตัวเองว่า จะเพิ่มทุนทุกวันเงินเดือนออก หรือ เพิ่มทุนทุกวันปีใหม่

จะทำแบบไหนก็ได้ แต่ขอให้ทำอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย ไม่ปล่อยให้ขึ้นอยู่กับ ‘ใจ’

เมื่อคุณลงทุนอย่างมีหลักการอยู่แล้ว เลือกหุ้นที่ดีมาแล้ว อย่าปล่อยให้ ‘ใจ’ เป็นตัวตั้งในการลงทุน ลองเปลี่ยนจากการ ‘ทำใจ’ เป็น ‘ทำเป็นวินัย’ ดีกว่า

นอกจาก DCA จะสร้างผลตอบแทนได้ดี จากการสะสมเงินต้น ลดความผันผวนของพอร์ต ยังเป็นการลงทุนอย่างสบายใจ คุณไม่ต้องคอย ‘ทำใจ’ สู้ตลาดขึ้น ๆ ลง ๆ ทุกครั้ง

เท่านี้ คุณก็ไม่ต้อง ‘เสียดาย’ เพราะพลาดโอกาสเพิ่มทุนแล้วครับ  

จากนี้ไป คุณจะเลือกแบบไหนวนเวียนอยู่กับเหตุการณ์ ‘รู้งี้’ เหมือนเดิม หรือจะเริ่ม DCA ให้พอร์ตชุ่มฉ่ำ​ คุณเลือกได้ครับ 

ขอให้มีความสุขกับเส้นทางการลงทุนนะครับ

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

3 หนังสือน่าอ่าน ปูพื้นฐานสู่นักลงทุนสาย VI

เปิดคำสอน 2 ศาสดาการลงทุนสาย VI จากการประชุมผู้ถือหุ้น BERKSHIRE ครั้งล่าสุด

เปิดสัมพันธ์ลับ ค่าแรง กับ ตลาดหุ้นไทย
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ