TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessWeTV เดินหน้าผลักดัน Soft Power คอนเทนต์ไทยขึ้นสู่ตลาดโลกในปี 2024

WeTV เดินหน้าผลักดัน Soft Power คอนเทนต์ไทยขึ้นสู่ตลาดโลกในปี 2024

WeTV ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งผ่านช่องทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ประกาศแผนธุรกิจปี 2024 เดินหน้าสร้างการเติบโตให้กับ Eco System ผ่านการผลักดัน Soft Power ด้านคอนเทนต์ประเทศไทยขึ้นสู่ตลาดโลก

กนกพร ปรัชญาเศรษฐ ผู้จัดการ WeTV ประจำประเทศไทย บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปีนี้เป็นการเข้าสู่ปีที่ 4 ของ WeTV จุดเริ่มต้นของ WeTV

  • 2019 ทางสตูดิโอตัดสินใจสร้าง footprint นอกประเทศจีน โดยเลือกประเทศไทยเป็นกลุ่มเป้าหมายแรก   
  • 2020 ทาง WeTV ขยายการ Operation ของ WeTV ในทุกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • 2021 ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 แต่ยังคง Acquired ifix ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในภูมิภาคอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ ถูกเรียกเป็นแบรนด์คู่ว่า WeTVifix ในขณะที่ประเทศไทยเป็นเพียง WeTV อย่างเดียว
  • 2022 WeTV เข้าถือหุ้นในคอนเทนต์พาร์ทเนอร์ ND picture ที่ประเทศ Indonesia
  • 2023 ฟื้นตัวหลังสถานการณ์ โควิด-19 เดินหน้าผลิต Local Content โดยมี Strategy Market เป็นประเทศไทยและอินโดนีเซีย
  • 2024 เปิดตัวและขยายแนวคอนเทนต์สู่ Mega Project “Chuang Thailand”

WeTV ขยายการเดินทาง footprint ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีตลาดหลักเป็นประเทศไทยกับอินโดนีเซีย รวมไปถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น เวียดนาม สิงคโปร์ หรือ มาเลเซีย ล่าสุดผลการทำงานของ WeTV พบว่า WeTV ครองอันดับ 2 ของจำนวนชั่วโมงการสตรีมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกัน WeTV Application เป็น Global app ที่ขยายการให้บริการมากถึง 173 ประเทศ มียอดการดาวน์โหลดสะสมอยู่ที่ 205 ล้านดาวน์โหลด

ในเรื่องของ Content Strategy ในอนาคต ปัจจุบัน WeTV เริ่มมีการลดในส่วนของ Licensing ลงและหันมาเพิ่มในส่วนของการผลิต Original Production ให้มากขึ้น รวมถึงเพิ่ม Eco System ด้วยการพัฒนาศิลปินร่วมกับ Headliner Thailand และ partner อื่นๆ เพื่อต่อยอดและสร้าง Eco System ในการผลิตซีรีส์ให้แข็งแรงมากขึ้น

ในส่วนของ Business Model คอนเทนต์เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด แต่ในด้านการผลิตทาง WeTV มองหาโมเดลที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ อยู่ 3 แกนด้วยกัน

  1. การ CO-INVESTMENT กับพาร์ตเนอร์
  2. CO-INVESTMENT กับศิลปิน อย่าง Headliner Thailand ทาง WeTV มีการเซ็นสัญญาร่วมกับศิลปินภายใต้เครือข่ายของ WeTV ในขณะเดียวกัน หากพาร์ตเนอร์มองเห็นแนวทางใหม่ ๆ ในการร่วมพัฒนาศิลปิน ทาง WeTV ก็สามารถเข้าไปพัฒนาร่วมกันได้
  3. WeTV ต้องการขับเคลื่อน business content กับทางสตูดิโอต่าง ๆ ดังนั้นทาง WeTV ยินดีที่จะเข้าไปสร้างแรงจูงใจและร่วมมือกับเหล่าผู้ผลิตที่เป็น สตูดิโอ high performance

เนื่องจากในปัจจุบันคอนเทนต์จีนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทาง WeTV ตัดสินใจประกาศเปิดตัว “จ้าวลู่ซือ” (Zhao Lusi) เมกะสตาร์จีนในฐานะ WeTV Global Ambassador 

ในส่วนการเติบโตในประเทศไทย ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยยอดดาวน์โหลด 45 ล้านดาวน์โหลด / ผู้ใช้งานรายเดือน 13.5 ล้านคน เมื่อตรวจสอบผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ พบว่า มีการใช้งานผ่าน Mobile application 80% / Website 6% / TV app 14% มีการเติบโตของ WeTV บนทีวีแอปเพิ่มขึ้นถึง 30% และจำนวนผู้ใช้งาน VIP เพิ่มขึ้น 100% เมื่อเทียบกับปี 2565 จากการพัฒนาแพ็กเกจใหม่ ๆ ร่วมกับพาร์ตเนอร์ รวมถึงการจัดกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับพันธมิตร

เปิดแผนธุรกิจ มุ่งผลักดัน Soft power คอนเทนต์ไทยสู่ตลาดโลก

กนกพร ปรัชญาเศรษฐ เผยว่า สำหรับแผนธุรกิจของ WeTV ในประเทศไทยมีสองกลยุทธ์หลักเพื่อมุ่งเน้นการสร้าง Eco System ในปี 2024 คือ 1) กลยุทธ์ด้านออริจินัลคอนเทนต์ ทาง WeTV มองว่าซีรีส์วายเป็นหนึ่งใน Soft power ของไทยที่เหมาะสมในการผลักดัน Soft power ไทยด้านคอนเทนต์สู่ตลาดโลก รวมถึง Original Varity Shows ในปี 2024 ทาง WeTV วางแผนการผลิตซีรีส์วายจำนวน 6-8 เรื่อง ในรูปแบบต่างๆเพิ่มความหลากหลายของวงการซีรีส์วายให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคซีรีส์วาย ให้มีความหลายหลาย ไม่น่าเบื่อ

Chuang-Asia

และในส่วนของอีกหนึ่ง Soft power คอนเทนต์ไทยอย่าง Varity Shows เป็นเมกะโปรเจกต์ ซึ่งปัจจุบันทาง WeTv เริ่มมีการเคลื่อนไหวในส่วนของการโปรดักชันเป็นที่เรียบร้อยในปี 2566 ด้วยความร่วมมือกับทาง Tencent Video ในการคัดเลือกไอทีวาไรตี้ที่ได้รับความนิยมจากประเทศจีน มาทำการดัดแปลงเป็นเวอร์ชันไทย ผ่านการปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับตลาดประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากรายการไอดอลเซอร์ไววัลชื่อดังจาก Tencent Video อย่าง “Chuang” เพื่อบุกตลาดเอเชียให้มากขึ้นภายใต้ชื่อ “Chuang Asia” ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ Have Fun Media, RYCE Entertainment, one31, GMMTV และ 411 Entertainment โดยจะเริ่มออกอากาศในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ทาง WeTV และโทรทัศน์ช่อง one31 รวมถึงการออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2) กลยุทธ์การสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน นอกจากส่วนของคอนเทนต์ ทาง WeTV วางแผนในการเพิ่ม Product Features เข้ามาเสริมในเรื่องของ Environment Fandom พัฒนาแนวทางใหม่ๆเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานร่วมกับแบรนด์ให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น เสริมสร้างตั้งแต่ออนไลน์ไปจนถึงออฟไลน์ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค

นอกจากนี้  WeTV เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “Bubble” ฟีเจอร์ที่เปิดให้แฟนคลับ สามารถเข้ามาแชทพูดคุยกับศิลปิน ดาราที่ชื่นชอบได้อย่างใกล้ชิด เป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ รวมถึงฟีเจอร์สำหรับนักโฆษณาอย่าง New Video Splash Screen ที่จะช่วยเพิ่ม CTR ได้ถึง 100%

ดังนั้น ในภาพรวมของ WeTV ประเทศไทยในปี 2024 คอนเทนต์ไทยเพิ่มมากขึ้น เสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้น ผ่านการพัฒนาเพื่อครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในเรื่องของผู้บริโภคและแบรนด์ อีกสิ่งสำคัญในการเสริมสร้าง Eco System ศิลปินส่วนใหญ่ที่เข้ามาเล่นใน WeTV ออริจินัลเป็นศิลปินที่เซ็นสัญญาร่วมกับ Headliner Thailand ทำให้ WeTV ประเทศไทย มีโอกาสในเรื่องของการทำ O-2-O Activity (กิจกรรมผสานธุรกิจจากออนไลน์สู่ออฟไลน์)ผ่าน Eco System ของ WeTV

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

LINE BK จับมือ เมืองไทยประกันชีวิต เสนอแพ็กเกจประกัน เจาะกลุ่มคนตัวเล็ก ซื้อง่าย จ่ายเบา จบใน LINE

ความท้าทายของประเทศไทย กลางกระแส “เศรษฐกิจหมุนเวียน”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ