TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessผลลัพธ์เกินคาด... WEDO Young Talent Program 2021 ค้นหา Talent ยุคใหม่ด้วยวิธีใหม่

ผลลัพธ์เกินคาด… WEDO Young Talent Program 2021 ค้นหา Talent ยุคใหม่ด้วยวิธีใหม่

WEDO Young Talent คือโครงการที่มองหา talent ยุคใหม่ ที่ไม่ใช่แค่ความเก่ง แต่ต้องมีความดูดี ตั้งแต่ชุดความคิดดี ชุดทักษะดี และความร่วมมือและผลงานดี ทำให้เกิดกระบวนการสรรหาแบบใหม่ที่เป็น audition กับ Hell Day น้องที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย มีความเป็น talent ยุคใหม่ในนิยามของ WEDO

อภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์–ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า การจัดงาน WEDO Young Talent ปีนี้เกินความคาดหมาย มีคนสมัครเข้ามากว่า 700 คน เพราะเป็นการทำงานจริงเจ็บจริง และจะไม่ปฎิบัติกับเขาเหมือนเด็กฝึกงาน แต่เป็น Talent ที่มีศักยภาพในการทำงานจริง

ปีแรกรับได้ 50 คน มีคนสมัคร 700 คน จัด boot camp เติม mindset รวมถึง soft skill และ hard skill ผ่านทั้ง online class และงาน virtual event Hell Day ซึ่งในงาน Hell Day นี้ก็มีบททดสอบที่เตรียมไว้เพื่อคัดเลือกน้องให้เหลือ 50 คน ผ่านการฝึกความอึดถึกทนในทุกมิติ ทั้งร่างกาย จิตใจ และการคิดเชิงวิเคราะห์

WEDO ฉีกทุกกฎของ Internship Program จัด Young Talent Hell Day 2021 เฟ้นหา “เด็กที่มีของแห่งอนาคต”

ฉากทัศน์เศรษฐกิจหลังโควิด และทักษะที่องค์กรและปัจเจกชนต้องมี

“น้อง ๆ จะได้เห็นศักยภาพของตัวเอง แม้จะไม่ได้เป็น finalist ของเรา” อภิรัตน์ กล่าว

ตลอด 10 สัปดาห์ น้องอาจจะยังขาดประสบการณ์อยู่บ้าง มีความเข้าใจแนวคิด มีแรงขับ กล้าออกความคิดเห็น และต่อสู้กับความท้าทายของโจทย์ น้องยุคใหม่ชอบทำงานยากและงานท้าทายที่ชัดเจน ชอบการได้รับความเชื่อถือและความไว้ใจ

การทำงานจริงเจ็บจริงเหนื่อยจริง ตามแนวคิด innoprise (innovation + micro enterprise) น้อง ๆ ทั้ง 50 คนถูกแบ่งกลุ่มทำงานเหมือนเป็นสตาร์ตอัพ 13 กลุ่ม ต้องตีโจทย์ตาม framework ความสามารถในการออกแบบ นวัตกรรมที่สร้างต้องเป็นที่ต้องการ ตอบโจทย์ผู้ใช้ และใช้งานง่าย (desirability) การปฏิบัติได้จริง เป็นธุรกิจได้จริง (practicality) และความเป็นไปได้ ในการสร้างรายได้ (feasibilty)

WEDO มีรายการของเทคโนโลยีที่อยู่ในแล็บให้นักศึกษานำไปต่อยอดและทดลองทำจริง อาทิ Computer Vision การใช้กล้องและความสามารถในการมองเห็นไปสร้างเป็นนวัตกรรม BCI (Brain Computer Interaction) ที่อ่านความคิดของคนได้ และ Smart Mirror กระจกที่พูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ส่องได้ เป็นต้น

มีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือไว้ให้ แต่ต้องเริ่มจากการออกแบบ ต้องตอบให้ได้ว่าไอเดียนี้จะเอาเทคโนโลยีอะไรไปทำให้ชีวิตใครดีขึ้นในรูปแบบใดบ้าง ตัวอย่างเช่น กลุ่มที่ทำเทคโนโลยี Smart Mirror จะแก้ปัญหาเรื่องการซึมเศร้าและการบูลลี่ กระจกเป็นเหมือนเพื่อนชวนคุยเวลาเด็ก ๆ ส่องกระจก อีกกลุ่มนำเทคโนโลยี NLP (Natural Language Processing) ไปช่วยกลั่นกรองการถูกบูลลี่ในโซเชียลมีเดีย เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานการถูกบูลลี่ ด้วยการช่วยกลั่นกรองข้อความเหล่านั้น และมีทีมหนึ่งใช้ BCI ไปช่วยผู้ป่วยติดเตียงให้มีความสามารถในการใช้ความคิดสื่อสารกับผู้อื่นได้ โดยมีพี่ ๆ เป็นที่ปรึกษาทั้งในแง่ธุรกิจ การออกแบบ และเทคโนโลยี อีกกลุ่มนำเทคโนโลยี IoT ไปช่วยลดปัญหาของการแพทย์ในชนบท ภายใต้โครงการ “หมอกระเป๋า” ให้อสม. ถือกระเป๋าที่มี IoT ไปเก็บอาการของผู้ป่วยกลับมาให้คุณหมอตรวจได้

“น้อง ๆ ตั้งโจทย์ที่อยากทำ เลือกเทคโนโลยีเพื่อไปสร้างเป็นนวัตกรรมออกมา สามารถต่อยอดทำธุรกิจได้จริง ดังนั้น พอจบ 10 สัปดาห์เราได้ 13 โครงการออกมา ซึ่งแต่ละโครงการมีพัฒนาการของโครงการที่ไม่เท่ากัน จาก 13 โครงการมี 5 โครงการที่เราตัดสินใจทำต่อเป็นธุรกิจจริง อาทิ โครงการ BCI เพื่อผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น โดยเราเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ที่สนใจเข้ามาทำต่อกับเราได้ ซึ่งตอบโจทย์เราที่มีความตั้งใจในการทำโครงการนี้ คือ การค้นหา talent รุ่นใหม่มาร่วมงานด้วย” อภิรัตน์ กล่าว

แผน Young Talent Program ปี 2565

ในปี 2565 WEDO จะทำ Young Talent Program ต่อในแนวคิดเดิมคือ Future Talent แต่จะปรับเป็น hybrid มากขึ้น จะให้เกิดการเชื่อมต่อทั้งในมิติของพันธมิตรของ WEDO และเชื่อมต่อรุ่นต่อรุ่นของ talent ส่วนรูปแบบการจัดงานจะมีการใช้ประโยชน์จากออฟฟิศใหม่ของ WEDO จะรับจำนวนมากขึ้น และอาจมีการเพิ่มระยะเวลาให้ยาวนานมากขึ้นกว่า 10 สัปดาห์ ส่วน theme นั้นจะต้องทันสมัยสำหรับปี 2565 โดยจะเพิ่มมิติของการมองอนาคต

เราเข้าใจเข้าถึงเด็กยุคใหม่ผ่านโครงการนี้ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์การทำโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่ การสรรหาคนรุ่นใหม่มาร่วมทีม และต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้เพราะเด็กเหล่านี้ก็คือลูกค้าของเราในขณะเดียวกัน” อภิรัตน์ กล่าว

เขากล่าวว่า นิยาม WEDO Young Talent 2021 คือ Provocative เป็นคนที่กล้าท้าทายในทางที่ดีทุกแง่มุม ได้ให้นิยามแนวคิดของการฝึกงานใหม่ ให้แนวคิดของการรับเด็กฝึกงานใหม่ นิยามคำว่า “เด็กฝึกงาน” ใหม่ ไม่เรียกว่า “เด็ก” และไม่เรียกว่ามา “ฝึกงาน” แต่ท้าทายเขาเหมือนคนหนึ่งคนที่รับเข้ามาทำงาน

“ปีแรกก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะทำได้ไหม จะได้ผลไหม จะมีคนสนใจไหม แต่ก็เดินหน้า Young Talent ได้สร้างความมั่นใจและสร้างศักยภาพของทีม WEDO เองด้วย”

ทุกคนเหนื่อยมาก ทั้งทีมงานและน้อง ๆ เหนื่อยทั้งร่างกาย จิตใจ การคิด การออกความเห็นใหม่ ๆ ซึ่งเส้นทางตลอด 6 เดือนนับตั้งแต่ boot camp ต่อด้วย Hell Day และทำงานจริง 10 สัปดาห์ เป็นเส้นทางที่ทำให้เขาแข็งแกร่งขึ้นทั้งด้านจิตใจและด้านของความเชื่อมั่นในตัวเองว่าศักยภาพของเขาอยู่ที่ไหน

ปี 2021 ทำโครงการฝึกงานที่ไม่ใช่การฝึกงาน โดยใช้การตีโจทย์ใหม่ (Provocative) ปี 2022 คือ. การขยายผล (Beyond) ในทุกด้านทั้งจำนวนคน ความเป็นรูปธรรมของโครงการที่ออกมา การทำร่วมกับพันธมิตร และจะขยายผลในแง่ของช่วงวัยที่แตกต่างกัน ซึ่งจะท้าทายทีมเพราะต้องขยายผลทุกแง่มุม

“เมื่อเข้าใจน้อง ๆ ได้ดี ขั้นต่อไปจะต่อเชื่อมจุดและปิดช่องว่างระหว่างวัย อยากให้คนรุ่นใหม่ทำงานร่วมกับรุ่นพี่เพื่อให้เกิดศักยภาพการทำงานร่วมกัน ดึงศักยภาพและจุดแข็งของแต่ละรุ่นออกมาเรียนรู้และทำงานร่วมกัน” อภิรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามเส้นทางของเหล่า Young Talent และข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับ WEDO Young Talent Program ปี 2022 ได้ที่ https://www.facebook.com/wedotheofficial หรือที่ http://www.wedo.link/

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ