TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterview'ธนัตถ์ เตชะธนบัตร' 20 ปีที่โนเกีย กับการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย

‘ธนัตถ์ เตชะธนบัตร’ 20 ปีที่โนเกีย กับการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย

เป็นเวลากว่า 20 ปีของ ธนัตถ์ เตชะธนบัตร ผู้อยู่เบื้องหลังความเสร็จของ โนเกีย ประเทศไทย นับตั้งแต่เข้ามาทำงานตำแหน่งผู้จัดการโครงการที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2539 จนปัจจุบัน ซึ่งเขาบอกว่าโอกาสที่ได้รับจาก Nokia ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ถือเป็นประสบการณ์ที่หล่อหลอมจนเป็นเขาในทุกวันนี้

วันนี้ในยุคของยุคดิจิทัลดิสรัปชัน เขามองเห็นโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สู่การนำเสนอสินค้าและบริการเพื่อช่วยผลักดันประเทศให้ก้าวสู่ Thailand 4.0

ธนัตถ์ เตชะธนบัตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทยและกัมพูชา เล่าให้ The Story Thailand ฟังว่าตลอดเวลากว่า 20 ปีที่ได้ร่วมงานกับโนเกีย มีโอกาสได้ทำงานในหลายตำแหน่งทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 กับตำแหน่งผู้จัดการโครงการที่ประเทศไทย จากนั้นย้ายไปรับตำแหน่งที่รับผิดชอบงานคล้าย ๆ กันที่ประเทศฟิลิปปินส์ และในปี 2543 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานโครงการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องประจำอยู่ที่สำนักงานที่สิงคโปร์ จากนั้นเดินทางไปประจำอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น 

2 ปีถัดมา เขาย้ายกลับไปประจำที่สิงคโปร์เพื่อดูแลบริหารงานศูนย์ช่วยเหลือด้านเทคนิคประจำเขตเอเชียแปซิฟิกและจีน รวมทั้งรับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร ดูแลบริหารงานทีมวิศวกรส่วนงาน VAS (บริการเพิ่มมูลค่า) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปีพ.ศ. 2549 ถูกย้ายไปประจำที่ประเทศอินโดนีเซีย ดูแลรับผิดชอบ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นที่ปรึกษา ผู้บริหารงานฝ่ายขาย และการขายด้านบริการ จากนั้นเดินทางไปประจำที่ประเทศเวียดนาม รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ และอีก 2 ปีถัดมาเขาได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย เพื่อรับผิดชอบงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจำภูมิภาคตอนเหนือของเอเชีย ก่อนจะมารับตำแหน่งในปัจจุบันคือกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทยและกัมพูชา

จากคลื่นวิทยุ สู่ดิจิทัล

ตลอดช่วงเวลาที่ธนัตถ์ทำงานให้กับโนเกีย ได้เห็นการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีการสื่อสาร จากเดิมที่ใช้คลื่นวิทยุและเครือข่าย จนถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เครือข่ายระบบคลาวด์ และซอฟต์แวร์โซลูชันต่าง ๆ มาใช้ ซึ่งโนเกียเองได้มีการเตรียมพร้อมรับมือกับกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมาโดยตลอด

“ตลอดเวลาของการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล เราให้ความสำคัญกับการลงทุนทำวิจัยและพัฒนา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชัน  รวมไปถึงการพัฒนาด้านบุคลากรเพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”

อย่างไรก็ตาม เขามองว่าเทคโนโลยีเป็นแค่ส่วนหนึ่งของความท้าทายที่เกิดขึ้นปัจจุบัน ผู้คนใช้ชีวิตอยู่ในยุคแห่งการดิสรัปชัน หลาย ๆ บริษัทต่างหาแนวทางที่ดีขึ้นและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสร้างผลกำไรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ในแง่ของการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความคุ้มค่า แต่ยังช่วยเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถปรับปรุงการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทข้ามชาติอย่างโนเกีย ซึ่งยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจผ่านการนำเสนอโซลูชันและบริการต่าง ๆ ให้กับองค์กรธุรกิจจากทั่วโลก

“เราเชื่อว่าโนเกียมีความมั่นคงพอที่จะก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ ไปได้ เพราะทุกส่วนของโลกใบนี้เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งโนเกียก็ได้สร้างสรรค์เทคโนโลยีที่จะมาช่วยขับเคลื่อนความเป็นไปของโลก ในฐานะพันธมิตรที่เชื่อถือได้ของเครือข่ายหลัก มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีผ่านเครือข่ายไร้สาย มีสาย รวมถึงเครือข่ายคลาวด์”

ธนัตถ์บอกว่า ความยากในการบริหารองค์กรโทรคมนาคม ในยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี คือการได้เห็นการพัฒนาที่สำคัญของธุรกิจโทรคมนาคม อย่างการพัฒนาด้านความปลอดภัยเครือข่าย ที่แม้ในยุคแรก ๆ อาจไม่ใช่จุดสนใจหลักของอุตสาหกรรมในวงกว้าง แต่ได้เฝ้าสังเกตการณ์อย่างต่อเรื่อง และกลายเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในวันนี้ เนื่องจากตลาดทั่วโลกกำลังพยายามผลักดันตัวเองเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้อุตสาหกรรม 4.0 เกิดเร็วยิ่งขึ้น

เขามองว่าปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีความจำเป็นต้องทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม แม้การพึ่งพาเทคโนโลยีจะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ต้องเผชิญกับอุปสรรคทางดิจิทัลมากมาย 

“โนเกียจะแนะนำให้พันธมิตรในหลาย ๆ องค์กรเลือกติดตั้งเครือข่ายพื้นฐานก่อน ซึ่งเป็นหน้าที่เราในการให้คำปรึกษากับหน่วยงานว่าเทรนด์เทคโนโลยีจะเป็นอย่างไร ให้การสนับสนุนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ พร้อมไปกับการเดินหน้าขยายธุรกิจของพวกเขา”

เทคโนโลยีเพื่อการขับเคลื่อน Thailand 4.0 

สำหรับยุทธศาสตร์และแนวทางบริหารประเทศ ธนัตถ์อธิบายว่า ไทยถือเป็นประเทศแรก ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เขาเองก็ตั้งตารอที่จะได้ขยายเครือข่ายบริการในตลาดทั้งสองแห่งนี้ รวมทั้งการทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องในระบบนิเวศด้านการสื่อสารในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนให้พวกเขาประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาเครือข่าย 5G รวมถึงการนำประสบการณ์นั้นมาเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนเพื่อเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลทั่วทั้งภูมิภาค

โนเกียมีความพร้อมที่จะสนับสนุนการเดินหน้าประเทศไทยตามแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการให้บริการเทคโนโลยีล่าสุดด้านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายใยแก้วนำแสง (Optical Network) ควบคู่ไปกับโซลูชัน Nokia Fixed Transport (ที่รวมถึงคลาวด์ และบริการเครือข่ายของโนเกีย) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาของประเทศภายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมแห่งอนาคตนี้

NaaS ทรัพยากรที่มีศักยภาพต่อการเติบโตของธุรกิจ

ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมีปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนคือระบบอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรม และระบบดิจิทัลที่ไปเพิ่มความต้องการของผู้บริโภค สำหรับเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงนำมาซึ่งเทรนด์ที่มีผลต่ออินเตอร์เฟสแบบเปิด เวอร์ชวลไลเซชัน และซอฟต์แวร์ Cloud Native 

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิธีการที่บริษัทด้านเทคโนโลยีทั้งหลาย รวมถึงโนเกียจะคิดหาทางออกแบบ ปรับใช้ บริหารจัดการ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชัน สำหรับโนเกียเองได้ปรับเปลี่ยนจุดโฟกัสควบคู่ไปกับวิวัฒนาการนี้ ด้วยการพัฒนาศักยภาพองค์กรอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็สร้างจุดยืนให้กับองค์กรเพื่อเป้าหมายของธุรกิจในระยะยาว

“เราเป็นพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่าง ๆ ในการวางเครือข่ายพื้นฐาน และยังเดินหน้าสรรค์สร้างเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ทั้งโลกสามารถเดินหน้าไปด้วยกัน สิ่งที่แตกต่างไปในวันนี้คือ โนเกียกำลังขยายขอบเขตความสนใจไปที่การให้บริการเครือข่ายพื้นฐาน ที่อยู่นอกเหนือจากผู้ให้บริการเครือข่ายเคลื่อนที่ และเพื่อก้าวสู่ความเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานโดยวัดจากต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของที่ดีที่สุดในด้านเครือข่ายพื้นฐาน ด้วยการช่วยลูกค้าในการปรับตัวจากการใช้ระบบ Monolithic systems ไปสู่ Silicon, Software และบริการรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย”

เขาบอกว่า โนเกียยังคงยึดมั่นที่จะประสานนวัตกรรมและความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีให้ครอบคลุมทั้งเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายเชื่อมต่อหลักสำหรับระบบแบบมีสาย และเครือข่ายคลาวด์ ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี Open Radio Access Network หรือ O-RAN และการส่งมอบบริการ network-as-a-service (NaaS) ซึ่งโนเกียได้นิยามว่าคือทรัพยากรที่มีศักยภาพต่อการเติบโตของธุรกิจในอนาคต 

นอกจากนี้ ยังสร้างค่านิยมเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาและการวิจัย นำโดย Nokia Bell Labs ซึ่งได้รับรางวัลด้านการวิจัยและพัฒนา สิ่งนี้จะช่วยโนเกียได้ทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มการเงินที่จำเป็นต่อความสำเร็จขององค์กรเราในระยะยาว

ทั้งหมดนี้ โนเกียยังคงยึดมั่นในมาตรฐานสูงสุดของความซื่อสัตย์และความปลอดภัย รวมถึงการเพิ่มศักยภาพที่จำเป็นสำหรับยุคที่มีความต้องการในด้านประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และความเป็นหนึ่งเดียวกัน

ก่อนก้าวไปสู่ 6G

ข้อมูลจาก ชัยวุฒิ ธนะคณานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คาดการณ์ว่า ผู้ใช้ 5G ของประเทศไทยจะสูงถึง 70 ล้านรายภายในปี 2570 คิดเป็น 73% ของจํานวนผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมด และภายในปี 2568 30% ของปริมาณการใช้งานมือถือของประเทศไทยจะผ่านเครือข่าย 5G เทียบกับ 23% ของเครือข่าย 5G ทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ 5G ประเทศไทยจึงมีความก้าวหน้าอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การใช้ 5G ของประเทศไทยยังถือว่าช้ากว่าอีกหลาย ๆ ประเทศ เช่น เกาหลีใต้ เป็นต้น

“การก้าวสู่ยุค 6G อย่างสมบูรณ์ มีหลายสิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน โดยการสนับสนุนให้เกิดการใช้ 5G อาจต้องแก้ไขกฎข้อบังคับเพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาของสถานีฐาน 5G ที่มีอยู่หลายหมื่น และการแชร์เครือข่ายอาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการขยายความครอบคลุมของ 5G ให้ได้รวดเร็ว”

ไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่ใช้ 5G เชิงพาณิชย์

ถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นในการอยู่ในธุรกิจนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังจะกลายเป็นภูมิภาค 5G ที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2568 นำโดยตลาดที่บุกเบิกด้าน 5G อย่าง ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในความเป็นจริง ผู้ให้บริการเครือข่ายในเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะมีการลงทุนมากกว่า 400 พันล้านเหรียญสหรัฐในเครือข่ายของตนภายในปี 2568 ซึ่งมากกว่า 80% จะถูกใช้สำหรับการติดตั้งใช้งาน 5G

สิ่งที่ทําให้ธนัตถ์ตื่นเต้นที่สุด คือความหลากหลายและเอกลักษณ์ของตลาดแต่ละที่ ตลาดแต่ละแห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในทางกลับกัน มีประเทศอย่างเกาหลีใต้ที่มีโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่เจริญเต็มที่พร้อมด้วยผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 70 ล้านราย หรืออย่างประเทศมาเลเซียและเวียดนาม ที่ยังอยู่ในจุดของการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมที่มีความท้าทายและโอกาสที่มีความเฉพาะตัว

“ไทยเป็นประเทศแรก ๆ ในภูมิภาคที่ปรับใช้เทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์ หลายพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นําเทคโนโลยีนี้มาใช้เช่นกัน 5G เป็นสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยบรรลุ วิสัยทัศน์ “Thailand 4.0” ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นดิจิทัลเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านของประเทศสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

นวัตกรรมประหยัดพลังงาน

อย่างไรก็ตาม ธนัตถ์บอกว่ามีแนวโน้มที่ไทยควรให้สำคัญ 3 ประการ คือ 1. โมเดลการแชร์เครือข่าย – ซึ่งกำลังเกิดขึ้นเพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายของต้นทุนเครือข่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ในปัจจุบันโนเกียมองเห็นความร่วมมือของผู้ให้บริการต่าง ๆ ในการทำโครงการมากมาย เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ 3 รายในเกาหลีใต้ลงนามในข้อตกลงเพื่อให้ผู้ใช้ 5G สามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ทุกที่ไม่ว่าจะบนเครือข่ายใดในกว่า 131 พื้นที่ห่างไกลทั่วเกาหลีใต้  ประเทศญี่ปุ่น โนเกียได้ปรับใช้เครือข่าย 5G ร่วมกับ Softbank และ KDDI และสำหรับประเทศไทย ผู้ประกอบการธุรกิจด้านนี้ยืนยันในข้อตกลงร่วมกันอย่างเต็มที่ในด้าน 5G ในประเทศไทย เนื่องด้วยมันจะเป็นมากกว่าการเชื่อมต่อ และการเพิ่มผลผลิตทางธุรกิจ รวมทั้งการนำไปใช้งานในกรณีต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการนวัตกรรมสำหรับประชาชนทั่วไปได้

2) บริการเครือข่าย –  IDC คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายขององค์กรทั่วโลกจะสูงถึง 45 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งประมาณ 1 ใน 3 หรือ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จะเกี่ยวข้องกับ NaaS หากไม่เพียงพอต่อการพิจารณาของ CSP อาจช่วยให้เข้าใจได้ว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามในองค์กรด้านไอทีในการสํารวจล่าสุดของโนเกีย กล่าวว่า บริษัทของพวกเขามีแผนที่จะ “มุ่งสู่ NaaS” เรียบร้อย

3) เครือข่ายที่ยั่งยืน – โนเกียจำเป็นต้องใช้วิธีประหยัดพลังงานมากขึ้นเพื่ออัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย ซึ่งหมายถึงนวัตกรรมที่ประหยัดพลังงานมากขึ้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามที่ซีอีโอของโนเกียได้กล่าวไว้ในงาน Climate Change Conference (COP26) ไว้ว่า “เศรษฐกิจสีเขียวจะเกิดขึ้นไม่ได้โดยปราศจากดิจิทัล” ปัจจุบันมีเพียง 30% ของเศรษฐกิจโลกที่เป็นดิจิทัล ซึ่งเราต้องร่วมมือกันเพื่อเชื่อมต่อ 70% ที่เหลือเพื่อให้แน่ใจว่าโลกของเราสามารถก้าวถึงจุด “เน็ต ซีโร” คือการไม่ปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนในบรรยากาศได้อีก ซึ่ง 5G และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมีบทบาทที่สำคัญในการทำให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ มีความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรม ICT จําเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเร่งการใช้ไฟฟ้าสีเขียว

นอกจากนี้ เราเตอร์ FP5 ซิลิคอน IP รุ่นใหม่ของโนเกียยังสามารถให้ความจุได้มากถึง 3 เท่า ขณะที่ช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานต่อบิตได้มากถึง 75% เทียบกับรุ่นก่อน ซึ่งจะช่วยลดคาร์บอนฟุต พริ้นท์ได้ทั้งในส่วนของโนเกียและลูกค้าของเรา อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้าจัดการค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานได้ด้วย

ความแตกต่างระหว่าง 5G และ 6G

ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใด จุดสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงเครือข่าย ในยุค 2G และ 3G จุดศูนย์กลางอยู่ที่การสื่อสารระหว่างมนุษย์ผ่านเสียงและข้อความ ยุค 4G มีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานไปสู่การใช้ข้อมูลปริมาณมหาศาล เช่นเดียวกับในยุค 5G ที่เน้นความสำคัญที่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) และระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม

สำหรับในยุค 6G โลกดิจิทัล โลกกายภาพ และมนุษย์ จะถูกหลอมรวมกันเพื่อมอบประสบการณ์ใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ระบบความรู้อัจฉริยะจะถูกรวมเข้ากับความสามารถในการคํานวณที่มีประสิทธิ ภาพสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ที่จะทำให้มนุษย์เรามีความสามารถที่ไร้ขีดจำกัด และยังช่วยนิยามรูปแบบใหม่ในการใช้ชีวิต การทำงาน และการดูแลโลกใบนี้

“การปรับปรุงพัฒนาทุก ๆ อย่างเกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ 5G นำไปสู้ผู้ใช้จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย 6G ไม่ว่าจะเป็นเมืองอัจฉริยะ ฟาร์มหรือโรงงานอัจริยะ และหุ่นยนต์ 6G จะช่วยเสริมให้สิ่งนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ซึ่งจำนวนไม่น้อยที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ขั้นสูง ซึ่งเป็นอีกขั้นของการพัฒนา 5G ที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถ และมอบประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ยิ่งขึ้น”

หากมองย้อนกลับไป จะเห็นได้ชัดว่าแต่ละยุคนั้นได้ปรับกรณีการใช้งานของยุคก่อนหน้าให้เหมาะสมและได้นำเสนอรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ สิ่งนี้จะดำเนินต่อไป โดย 6G จะสร้างบนพื้นฐานของ 5G บนเทคโนโลยีและการใช้งานในด้านต่าง ๆ การผลักดันการใช้งานที่เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนเพื่อส่งเสริมการใช้งาน ในขณะเดียวกัน 6G จะทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

6G เครือข่ายเพื่อความยั่งยืน

ธนัตถ์มองว่า 6G ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนได้หลายวิธี โดยการเชื่อมต่อที่รวดเร็วและต้นทุนต่อบิตที่ต่ำลง ทำให้สามารถรองรับการเก็บรวบรวมข้อมูล และการควบคุมแบบปิดของอุปกรณ์จำนวนมากได้ ข้อมูลถูกวิเคราะห์ได้ด้วยเครื่องมือที่มีความก้าวหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เทคโนโลยีการประชุมทางไกลเสมือนจริงแบบมิติสัมผัสที่หลากหลาย (multi-sensory telepresence) ที่ถูกสร้างด้วยจำนวนข้อมูลมหาศาล จะช่วยลดความจำเป็นในการเดินทางผ่านการนำเสนอที่เสมือนจริงหลากลายรูปแบบและ ทํางานร่วมกันจากระยะไกล

นอกจากนี้ 6G จะช่วยให้ใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น ด้วยการลดการใช้งานอุปกรณ์บางอย่างตามความต้องการใช้งานที่ลดลง การใช้พลังงานที่คุ้มค่าจะเป็นเกณฑ์ในการออกแบบที่สำคัญสำหรับ 6G ควบคู่ไปกับตัวชี้วัดอื่น ๆ เช่น ความจุ อัตราข้อมูลสูงสุด เวลาแฝงและความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานจะกลายเป็นเกณฑ์การออกแบบที่สำคัญสำหรับ 6G ควบคู่ไปกับตัวชี้วัดอื่น ๆ เช่น ความสามารถ อัตราการส่งข้อมูลสูงสุด ความเร็ว และความน่าไว้วางใจ

ลูกค้าของโนเกีย

โนเกียได้รับเลือกจากดีแทค (Dtac) ให้ร่วมเป็นพันธมิตร 5G RAN รายแรกในข้อตกลงความร่วมมือระยะเวลา 3 ปี ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความร่วมมือในครั้งนี้ โนเกียจะมีบทบาทสําคัญในการสร้างความมั่นใจว่าประสิทธิภาพเครือข่ายของดีแทคสามารถรองรับ 5G ได้อย่างเต็มที่ และสามารถเปิดใช้บริการ 5G ใหม่ได้เร็วขึ้นเมื่อความต้องการเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ โนเกียยังประสบความสำเร็จในข้อตกลงด้านเครือข่าย IP/MPLS กับผู้ให้บริการด้านไลฟ์สไตล์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทยอย่างกลุ่มบริษัททรู (True Corporation) โดยโซลูชันของโนเกียถูกนำไปใช้ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศซึ่งมีความสำคัญในฐานะพื้นที่เขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ด้วยการเปิดการใช้งาน 5G ขนาดใหญ่ที่มีการออกแบบการใช้งานตามความต้องการเฉพาะสำหรับปริมาณงาน (throughput) ความเร็ว (latency) และความเชื่อถือได้ (reliability)

โนเกีย ดำเนินกิจการในประเทศไทยมากว่า 30 ปี นำเสนอบริการเครือข่าย 2G, 3G และ 4G และในตอนนี้กับการบริการเชื่อมต่อด้วย 5G ที่จะช่วยสนับสนุนความพยายามในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลของประเทศที่นับเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เศรษฐกิจ “Thailand 4.0” ของประเทศ ขณะที่บริษัทยังเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2565 

“สิ่งสำคัญในการทำงานของเราคือการเป็นพันธมิตรที่น่าเชื่อถือให้กับเครือข่ายที่มีความสำคัญให้กับลูกค้า เพื่อผลักดันการเติบโตในส่วนของคู่ค้าแนวดิ่งที่สำคัญ (key vertical) อย่างเช่น ภาคการผลิต การขนส่ง องค์กรธุรกิจ และเมืองอัจฉริยะต่าง ๆ โดยโนเกียยังคงเดินหน้าให้บริการ 5G ที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโต ความเจริญก้าวหน้า และโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยและประชากรของประเทศต่อไป”

เดินหน้าสู่ธุรกิจ NaaS ที่มีมูลค่าสูงขึ้น

เมื่อถามถึงการปรับตัวในยุค ICT และ Data ธนัตถ์กล่าวว่า ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่โนเกียให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก นอกจากการเพิ่มฐานลูกค้าในปัจจุบัน ที่ประกอบด้วยผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายเคลื่อนที่ และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ เพื่อนำเสนอแพลตฟอร์มที่มั่นคงที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์และมูลค่า โนเกียยังมองเห็นโอกาสระยะยาวที่จะเดินหน้าเข้าสู่โมเดลธุรกิจ NaaS ที่มีมูลค่าสูงขึ้น และการขยายธุรกิจโดยใช้แนวคิดเชิงกลยุทธ์หลักด้วยการใช้วิธีการแบบครบวงจรตามความต้องการของลูกค้า โดยกลุ่มธุรกิจแต่ละกลุ่มของบริษัทจะมีบทบาทที่ชัดเจนต่อกลยุทธ์โดยรวมของเรา

ท้ายที่สุด ในยุคที่ถูกขับเคลื่อนด้วย ICT และ Data โนเกียจะดำเนินธุรกิจให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในฐานะพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจด้านเครือข่ายพื้นฐาน โนเกียได้เตรียมการที่จะสร้างสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นและมีคุณค่ากับลูกค้าด้วยการส่งมอบเทคโนโลยีที่ดีที่สุด และคิดค้นพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อปูทางสู่อนาคตให้กับธุรกิจต่อไป

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เป้าหมาย “ท๊อป จิรายุส” Bitkub ไม่ใช่แค่ Good company แต่เป็น Great company

ถอดรหัส “ไผท ผดุงถิ่น” ซีอีโอ สตาร์ตอัพรุ่นบุกเบิก Builk One Group เป็น “แมลงสาบ” ไม่ใช่ “ยูนิคอร์น”

“นึกถึงอสังหาฯ นึกถึง DDproperty” มิชชันของ ‘กมลภัทร แสวงกิจ’

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ