TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityNet Zero Earth Jump กับ กสิกรไทย สู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน 

Net Zero Earth Jump กับ กสิกรไทย สู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน 

ปี 2566 อุณหภูมิโลกอุ่นขึ้นกว่าที่เคยเป็น ประมาณ 1.1°c ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อผู้คน 1 พันล้านคนภายในปี 2593 ความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น ตามมาด้วยอัตราการตายจากการคลอด ประชากรโลกมากถึง 811 ล้านคนเผชิญกับความอดอยากในปี 2563 จากการทำเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนน้ำรุนแรงขึ้น และเกิดมลพิษทางน้ำ ระบบการผลิต บรรจุภัณฑ์ และการกระจายสินค้าอาหารเป็นสาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ มากถึง 80%  ผู้คนต้องหายใจเอามลพิษทางอากาศในระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ 

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ธนาคารกสิกรไทย ย้ำเตือนว่า โลกกำลังเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและประชากร แรงกดดันด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความกังวลถึงความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูล

สิ่งเหล่านี้กำลังเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและทิศทางการลงทุน เมื่อนานาประเทศกำหนดเป้าหมายร่วมกันว่า ต้องลดการปล่อยมลภาวะอย่างน้อย 60% ในปี 2578 และเป็นเป้าหมายที่ต้อง “ก้าวกระโดด” เพื่อพลิกการเปลี่ยนแปลงที่ถดถอยให้ทันท่วงที และลงมือทำให้โลกดีขึ้นด้วยแนวคิด ESG และ Sustainability 

“วันนี้ เราเห็นตรงกันว่า ESG และ Sustainability สำคัญจริง และเป็นทางรอด ไม่ใช่ทางเลือก E – Environment เรื่องของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลภาวะ ความหลากหลายทางชีวิตภาพ S – Social คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม การดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงการพัฒนาเค้าให้ดีให้เก่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป 

และสุดท้าย G – Governance ถ้าเราตั้งใจทำ ต้องมีการตั้งเป้า ติดตามความคืบหน้า และทำด้วยความมีจรรยาบรรณ ซึ่งสามอย่างนี้ ไม่สามารถทำเพียงตัวใดตัวหนึ่ง ต้องทำไปด้วยกันทั้งสามอย่างพร้อมกัน และจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้น น้ำท่วม ไฟไหม้ป่า มลภาวะที่เพิ่มมากขึ้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โลกรวน ทำให้เรารู้ว่าเรารอไม่ได้แล้ว ต้องเริ่มทำวันนี้ เพราะมันต้องใช้เวลา” ขัตติยา กล่าว

ข้อมูลจาก Climate Action Tracker กลุ่มวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อติดตามการดำเนินการของรัฐบาล เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงระหว่างประเทศ เผยว่า ถ้าแต่ละประเทศไม่ลงมือทำอะไร  ในปี  2643 สภาวะโลกร้อนจะไปสู่ความเป็นได้ที่เลวร้ายที่สุด คือ อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นอีก 4.5 ํC แต่ถ้ามีการออกนโยบายและลงมือปฏิบัติ อาจเพิ่มขึ้น 2.6-2.9 ํC แต่ถ้ามีการออกนโยบายและการปฏิบัติที่ช่วยโลกได้จริง อุณหภูมิจะสูงขึ้นแค่ 1.8  ํC แต่ในความตกลงปารีส โลกตกลงกันว่า ต้องทำให้โลกนี้อุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 1.5  ํC แต่ทว่าอุณหภูมิโลกวันนี้เพิ่มขึ้นเกือบถึง 1.2  ํC แล้ว

วิกฤติ หรือ โอกาส อยู่ที่มุมมองและการปรับตัว

ปัจจุบันมีมาตรการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และถูกมองว่าเป็นอุปสรรคหรือการกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น Carbon Border Adjustment Mechanisms (CBAM) ของสหภาพยุโรป มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบในช่วงแรก คือ เหล็กและเหล็กกล้า อลูมินั่ม ซีเมนต์ ปุ๋ยและพลังงานไฟฟ้า และขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์โรงกลั่น โพลิเมอร์พลาสติก สารอินทรีย์ ไฮโดรเจน แอมโมเนีย

CBAM เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยผู้ผลิตที่จะส่งสินค้าเข้าไปขายใน EU จะต้องแสดงตัวเลขปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งจะยังไม่มีการจ่ายค่าปรับ จนกว่าจะถึงวันที่ 1 มกราคม 2569 ส่วนมาตรการทางการค้าที่ออกโดยสหรัฐอเมริกา หรือ US CBAM ซึ่งมีอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและถ่านหิน เอทิลแอลกอฮอล์ กรดอะดิปิก แก้ว ปูนขาว และผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการในปี 2569 

ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น ประเทศไทยมียอดการส่งออกไปที่ยุโรป 6 % และ สหรัฐอเมริกา  9% จากการส่งออกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า มากกว่า 120,000 หมื่นล้านบาท ในปี 2564 และนี่คือภาคการส่งออกเท่านั้น ยังไม่รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่อง หากไม่สามารถส่งออกได้จะส่งผลกระทบเอสเอ็มอี ผู้ผลิตวัตถุดิบต่าง ๆ มากมาย หากผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้นั่นหมายถึงโอกาส แน่นอนว่าปรับตัวไม่ได้ คือการเสียโอกาส 

หากมองในมุมของพฤติกรรมผู้บริโภค จากผลสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดย NielsenIQ ปี 2566 พบว่า 95% ของผู้บริโภคพยายามปรับพฤติกรรม ใช้ถุงผ้า แยกขยะ พยายามซื้อสินค้าที่ดีต่อสิงแวดล้อม หรือกรีนโปรดัคท์ และลดการใช้ไฟฟ้า 77% จะหยุดซื้อหรือไม่สนับสนุนสินค้าและบริการที่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือมีพฤติกรรมฟอกเขียว 69% ผู้บริโภคทั่วโลก ตระหนักมากขึ้นถึงความสำคัญความยั่งยืน และ 46% ผู้บริโภคกำลังมองหาแบรนด์ที่จะใช้นำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ยังมีอุตสาหกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสในการสร้างธุรกิจสีเขียวที่มีศักยภาพสูง อาจสร้างมูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 12 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี 2573 และเป็นตัวเร่งความเร็วในการเปลี่ยนผ่านสู่เน็ตซีโร่ ได้แก่ การจัดการคาร์บอน การก่อสร้าง น้ำ ไฮโดรเจน ผู้บริโภค ของเสีย พลังงาน น้ำมัน ก๊าซและเชื้อเพลิง อุตสาหกรรม การขนส่ง การเกษตร และการใช้ที่ดิน ล้วนเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเชิงกายภาพไม่ว่าจะเป็น โรงงาน เครื่องจักร กระบวนการผลิต รวมถึง การซื้อวัตถุดิบต่า งๆ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของผู้ให้บริการ หรือขายส่งวัตถุดิบด้วยเช่นกัน

โอกาสที่ล้ำไปกว่านั้น และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ ส่วนของ Global Climate Tech พบว่า กลุ่ม Venture Capital Funding มีการลงทุนในธุรกิจนี้ ในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 89% และยังลงทุนอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2566 ถึง 1,120 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปัจจุบัน มีสตาร์ตอัพที่เป็นยูนิคอร์นกลุ่ม Climate Tech อยู่ประมาณ 300 ราย และมีการพยากรณ์ว่าจะมีสตาร์ตอัพที่เป็น เดคาคอร์น ด้านนี้ในอีก 15 ปีข้างหน้า มากถึง 200-300 ราย 

McKinsey’s Sustainability Practice ได้ระบุปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านและขยายธุรกิจสีเขียวว่า ต้องมีวิธีคิดที่เป็น Game Changer ต้องคิดใหม่ ท้าทายบรรทัดฐานที่มีอยู่ ต้นทุนต้องแข่งขันได้ ไม่ได้จับเฉพาะตลาดกลุ่มรักษ์โลก โดยต้องทำงานกับคนที่มีเป้าหมายสู่ความยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ซัพพลายเออร์ และส่วนอื่น ๆ ทั้งห่วงโซ่มูลค่า โดยถ้าทำได้จะต้องขยายเสกลได้ด้วย ในแง่บุคลากรต้องดึง Talent ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและ “อิน” ในเรื่องความยั่งยืนมาร่วมงาน และสุดท้ายต้องมี Low-Cost Financing มีการวางแผนในการนำเงินทุนหรือสินเชื่อเข้ามาให้เหมาะกับจังหวะ โอกาส และช่วงชีวิตของธุรกิจ

มูลนิธิกสิกรไทย จับมือ 5 หน่วยงาน เชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าการพัฒนายาจากพืชยาใต้ป่า

กสิกรไทยกับ Net Zero Commitment เดินหน้าสนับสนุนการเงินและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

ขัตติยา ยังชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันแม้จะมีการลงทุนในธุรกิจสีเขียวเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ยังเป็นไปแบบไม่สมดุล เพราะผู้ลงทุนและธุรกิจที่ได้รับการลงทุนยังคงกระจุกตัวอยู่ในไม่กี่ภูมิภาคของโลก ได้แก่ อเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และจีน ในภูมิภาคเอเชียงตะวันออกเฉียงใต้ มีบ้างเล็กน้อยในสิงคโปร์ และบรูไน ซึ่งจะต้องมีการทำงานเพื่อความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมและความสำคัญของความยั่งยืน เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของทุน รวมไปถึงการแบ่งปันความรู้และเทคโนโลยีจากประเทศที่พัฒนาแล้วสู่ภูมิภาคอื่นของโลกมากขึ้น

กสิกรไทยประกาศจุดยืน Net Zero Commitment โดยตั้งเป้าหมายใน Scope ที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร และ Scope ที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 และ Scope ที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ ในส่วนของการเงินการลงทุน เป็นไปตามปณิธานของประเทศไทยในเวที COP 26 สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2608 โดยพร้อมเป็นตัวเร่งเดินหน้าสนับสนุนการเงินและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน 

ตัวอย่างในทางปฏิบัติของกสิกรไทย ได้แก่ 

  • Green Financing กสิกรไทยได้จัดสินเชื่อและการลงทุน 1-2 แสนล้านบาทเพื่อสนับสนุนลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ Green Business ซึ่งนอกจากเงินทุน ยังมีการสนับสนุนความรู้ ความเชี่ยวชาญไปด้วยกันด้วย โดยเริ่มจากธุรกิจด้านพลังงานและขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ
  • กองทุน beacon venture capital โดยกสิกรไทยเอง ตั้งกองทุน ฺBeacon impact fund มูลค่า 1.2 พันล้านบาทที่จะลงทุนกับ สตาร์ตอัพด้าน Sustainability และ ESG
  • โครงการความร่วมมือต่างๆ เช่น โครงการ WATT’S UP โครงการ SOLAR PLUS เป็นนวัตกรรมเกี่ยวกับเรื่อง Green Battery Solar ซึ่งกสิกรไทยวางตัวเป็นตัวกระตุ้น หรือ catalyst 
  • ร่วมกับ Singapore Management University และ Nanyang Technological University ทำการวิจัยและคลีนิคให้คำปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำทุกหน่วยงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลง 

ขัดติยาชี้ให้เห็นว่า พันธกิจสู่ความยั่งยืนนี้ไม่สามารถทำโดยฝ่ายเดียวได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือและความพร้อมจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงินที่จะสนับสนุนเงินทุนในการเปลี่ยนผ่านให้กับลูกค้า ภาครัฐหรือหน่วยงานที่ดูแลเรื่องกฎระเบียบ (Regulator) ล้วนมีส่วนสำคัญในการกำหนดมาตรฐานและสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ รวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์ Taxonomy หรือ Incentive บางอย่างในด้านภาษี เพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือกระตุ้นแรงจูงใจในการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจแห่งความยั่งยืน 

กสิกรไทย ย้ำผู้นำด้าน ESG กลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอง ดัชนีความยั่งยืนระดับโลก ต่อเนื่อง

พฤติกรรมผู้บริโภคก็เป็นส่วนสำคัญ หากตลาดผู้บริโภคในสินค้าที่มีความยั่งยืนใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ มีความต้องการให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสังคมชุมชน ตอบเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็จะเป็นแรงขับเคลื่อนอีกอย่างที่ทำให้ผู้ประกอบการเปลี่ยน และสุดท้ายนักลงทุนก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ถือหุ้นของกสิกรไทย ก็จะเริ่มถามไถ่และให้ความสำคัญกับ ESG และ Sustainability มากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่จะต้องตอบคำ ถามด้านความยั่งยืนกับนักลงทุนมากขึ้นและชัดเจนขึ้นเช่นกัน 

ขัตติยา ทิ้งท้ายด้วยการเน้นย้ำภารกิจของทุกภาคส่วนในวันนี้ว่า 

“โจทย์ของพวกเรา คือ เรายังต้องสร้างความตระหนักในปัญหาโลกร้อนมากกว่านี้ และเราหวังว่า จะชวนพวกเราก้าวกระโดดไปด้วยกัน ไปสู่การลงมือทำให้ได้ ไม่ว่าเราจะลงเรือลำเดียวกัน หรือคนละลำก็ตาม แต่เรามุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน และเราก็รู้ว่า เราต้องออกเรือกันวันนี้แล้ว ไม่เช่นนั้น เราแก้ไขอะไรไม่ทันแน่ๆ เพราะมันใช้เวลา การเดินทางนี้มีความท้าทาย และมั่นใจว่าเราจะต้องเจอในสิ่งที่เรายังไม่รู้ แต่ถ้าเราทำสำเร็จ เราจะเจอดินแดนใหม่ที่สวยงาม ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ดินแดนใหม่ที่ไกลที่ไหนเลย มันคือโลกใบนี้ ที่เรายืนอยู่ในวันนี้นี่เอง”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

DHL Express เปิดตัวบริการใหม่ ช่วยลูกค้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ผ่านการใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน

ธุรกิจไทยในกระแสสิ่งแวดล้อมยั่งยืน เมื่อโลกพร้อมใจกระโดดไปพร้อมกัน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ