TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewTESF ชี้ กม.อีสปอร์ต ไม่จำเป็นต้องร่าง แนะสอนเด็กเล่นเกมถูกวิธีเสริมความรู้

TESF ชี้ กม.อีสปอร์ต ไม่จำเป็นต้องร่าง แนะสอนเด็กเล่นเกมถูกวิธีเสริมความรู้

ถึงแม้ว่าในประเทศไทย “อีสปอร์ต” จะถูกระบุว่าเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง มีการตั้งสมาคมเข้ามาดูแล มีการแข่งขันในระดับประเทศ และคัดเลือกทีมชาติไปแข่งในระดับนานาชาติ จนได้ 2 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน ในการแข่งขันกีฬาสาธิต ซีเกมส์ 2019 ที่ผ่านมา แต่ในอีกมุมหนึ่ง “อีสปอร์ต” ก็ยังถูกมองว่าเป็นสิ่งมอมเมาเยาวชน จึงเกิดความพยายามในการร่างกฎหมายขึ้นมาครอบคลุมในหลายมิติ

สันติ โหลทอง นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย หรือ TESF กล่าวกับ The Story Thailand ว่า สมาคมฯ ไม่เคยคิดจะร่างกฎหมายอีสปอร์ตเพราะคิดว่าไม่มีความจำเป็น แต่คนไทยเกิดมาท่ามกลางความห่วงใยของผู้ใหญ่ในประเทศ อีกส่วนคือเป็นการให้เกียรติเพื่อให้กีฬาอีสปอร์ตเติบโตขึ้นอย่างมีทิศทาง ซึ่งสมาคมฯ จะเข้ามาตอบสนองทุกคำขอ ทั้งนี้ ในปัจจุบันสมาคมฯ ใช้กฎตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่เป็นกฎกระทรวงภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ไม่ได้เป็นการร่างกฎหมายอีสปอร์ต แต่เป็นกฎหมายที่เขียนขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเยาวชน จากเกมและอีสปอร์ต ซึ่งเป็นกฎหมายทางสังคม

เรื่อง “เรตติ้งเกม” เป็นหนึ่งในความพยายามที่จะร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติเรื่องเรตติ้งอยู่แล้ว ที่กระทรวงวัฒนธรรมรับผิดชอบ

“เพราะฉะนั้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตโดยตรงไม่จำเป็นต้องมี เพราะเราใช้พระราชบัญญัติกีฬาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนกฎหมายเรตติ้งก็ไม่จำเป็นต้องร่างให้เสียเวลา เพราะเราใช้กระทรวงวัฒนธรรมทำงานต่อไปได้”

-ซัมซุง ดัน Odyssey รุกตลาดอีสปอร์ต ตั้งเป้าขึ้นผู้นำตลาดเกมมิ่งมอนิเตอร์
-BenQ เปิด Zowie Esport Center เสริมระบบนิเวศธุรกิจอีสปอร์ต

สันติ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเรื่องเรตติ้งเป็นที่ยอมรับในสังคม เช่น เด็กอายุ 14 เล่นเกมยิงปืน ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ในทางสังคมระบุไว้แล้วว่าเกมนี้เหมาะกับคนที่อายุเท่าไร ซึ่งต้องยอมรับ เช่นเดียวกับละครทีวี จะตีความว่าห้ามเด็กอยู่เลยใช่หรือไม่ แต่ที่ไม่มีการห้ามเพราะทุกคนต่างรู้ว่ามันปิดกั้นกันไม่ได้ แต่ให้อยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง

ผู้ที่มีความรับผิดชอบดูแลบุตรหลาน จะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ไม่ว่าจะเป็นเกมหรือภาพยนตร์

เรื่องอีสปอร์ตในสถานศึกษา จะต้องคุยกันให้ชัดเจน ถ้าใส่ข้อห้ามมากเกินไปในระดับมหาวิทยาลัยก็อาจจะไม่เป็นผลดี เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี และอาชีพใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทำให้เด็กหยุดการเรียนรู้รอบด้าน

“ผู้พัฒนาเกมในโลกนี้มากกว่าครึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากการเล่นเกม ซึ่งหน้าที่คือทำให้เด็กรู้ ว่ากำลังทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับชีวิต”

ส่วนในระดับมัธยมปลาย การจะห้ามเด็กวัยนี้เล่นเกมเป็นเรื่องยาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรจะทำ คือ แนะนำการเล่นที่ถูกวิธี เล่นแล้วได้ความรู้ เป็น eSport for Education เช่น การเล่นเกมวางแผนจะได้ศึกษายุทธศาสตร์การทำงานอย่างมีชั้นเชิง การเดาใจคู่ต่อสู้ ได้เรื่องการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ เรื่องการสื่อสาร โรงเรียนสามารถที่จะบรรจุสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนได้

ถ้าเด็กอยากจะเก่งขึ้นในสายงานอีสปอร์ต อาจจะต้องมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ การค้นคว้าหาข้อมูล การศึกษาข้อมูลของคู่แข่ง ซึ่งการทำสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กมีวินัยกับการฝึกซ้อม

“เมื่อสมาคมฯ เมื่อเข้ามาทำจริงจัง ก็ถูกมองว่าเข้าไปมอมเมาเยาวชน ซึ่งในความเป็นจริงอีสปอร์ตอยู่บนโลกนี้มา 20 กว่าปี ส่วนเกมอยู่บนโลกนี้มา 40 กว่าปี เราจะต้องหาคนเข้ามาตอบในเรื่องนี้ได้ว่าเกมมันมีข้อดี และต้องตอบพร้อมกันทั้งโลก”

สันติ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สมาคมฯ ทำได้ คือ ทำให้เกิดภาคีจากแต่ละประเทศมารวมตัวกันให้เป็นสหพันธ์ ให้พูดออกมาพร้อมกันในทิศทางเดียวกัน ว่าจะสอนโลกใบนี้อย่างไรให้เห็นถึงประโยชน์ จะต้องเฝ้าระวังพิษภัยในส่วนใดบ้าง และมาช่วยกันขัดเกลาเพื่อลบสิ่งที่ไม่ดีออกไป

แนะออกกฎหมายที่เหมาะสม ประเทศได้ประโยชน์

สันติ กล่าวว่า ในต่างประเทศมีการร่างกฎหมายเกี่ยวกับเกมแตกต่างกันไป เพราะบริบททางสังคมไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง ประเทศเกาหลีใต้มีกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มมีเกม เช่น การเปิดบอท (ให้โปรแกรมเล่นแทน) มีโทษถึงติดคุก เพราะเขามองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวทำลายอุตสาหกรรมเกม ซึ่งรัฐบาลให้เงินอุดหนุนกับบริษัทเกมในเกาหลีใต้เพื่อบรรจุวัฒนธรรมเกาหลีลงไป วัฒนธรรมเกาหลีไปทั่วโลก และฐบาลจะได้ส่วนแบ่งในปลายทางหากมีการขายออกไปในต่างประเทศ ซึ่งการเปิดบอทเป็นการทำให้ประเทศสูญเสียรายได้ จึงมีโทษรุนแรง ขณะเดียวกันประเทศที่เป็นผู้บริโภคอย่างประเทศไทยก็จะคิดต่างกัน

ในบางประเทศมีกฎหมายเรื่องเรตติ้ง และเอาผิดกับผู้ปกครองอย่างรุนแรง แต่ในประเทศไทยถ้าจะทำลักษณะเดียวกัน จะทำได้ยาก เพราะบางส่วนอาจจะมองว่าเป็นการโยนภาระไปที่ผู้ปกครอง และเลือกแบนเกมแทน

เกมที่มีการพนัน หรือกาชาปอง (สุ่มของที่ได้ในเกม) ควรจะออกกฎหมายอย่างชัดเจน เพราะเรื่องพวกนี้ไม่ได้ช่วยสังคมโดยรวม ส่วนเกมจากต่างประเทศมาขึ้นอยู่บนสโตร์ และดาวน์โหลดได้จากประเทศไทย จะต้องมีวิธีการเก็บภาษีกับผู้ให้บริการ เพราะค่ายเกมนั้นเอาเงินของคนไทยออกไป

ส่วนในประเทศไทย กรมกิจการเด็กและเยาวชน ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้ยื่นเรื่องของร่างกฎหมายฉบับนี้ ด้วยเหตุผลว่าเกมไปกระทบกับสุขภาพ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติจึงจำเป็นต้องรับเรื่องไว้

การร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ต้องไปดูอีกว่าข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ ไปทับซ้อนกับกระทรวงไหนบ้าง จะต้องถอดบทบาทเดิมจากกระทรวงเดิมที่เป็นเจ้าภาพหรือไม่ เพราะฉะนั้น การร่างกฎหมายไม่แน่ว่าจะทำได้ง่าย เพราะอาจจะต้องเข้าไปที่กรรมาธิการวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร จะต้องตั้งคณะทำงานมาทำงานคู่กัน ซึ่งเป็นการใช่ภาษีของประเทศในการทำเรื่องซ้ำซ้อน

“ปัจจุบันร่างที่ 1 และ 2 ออกมาแล้ว แต่ทางสมาคมฯ ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะรายละเอียดยังน้อยเกินไป และยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งเรายังรอดูฉบับเต็ม ซึ่งถ้าตามขั้นตอนน่าจะอีกประมาณ 10 ปี”

สันติ กล่าวต่อว่า อีก 2 ปีโลกก็อาจจะเปลี่ยนไปอีก กฎหมายที่กำลังร่างออกมาอาจจะใช้ไม่ได้ เมื่อ 5G เข้ามาอย่างเต็มรูปแบบ อีสปอร์ตก็อาจจะเปลี่ยนรูปแบบไป จะมีการพัฒนาเรื่อง AR และ VR อีสปอร์ตจะไปอยู่ในโลกเสมือนมากขึ้น เกมบางชนิดอาจจะสูญหายไป

“สำหรับน้อง ๆ ที่ยังกังวลเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับอีสปอร์ต ไม่ต้องกังวล ขอแค่รักษาตัวเอง แบ่งเวลาให้ถูก อย่าทิ้งทุกอย่างในชีวิตเพื่อมาแลกกับการเล่นเกม และสำหรับคนที่กลัวกฎหมายแปลว่าคุณจ้องจะทำผิดอยู่นั่นเอง”

บทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ขยายฐานแฟน-สร้างช่องทางรายได้ใหม่ ทางรอดธุรกิจ “ไอดอล”
-“ออนไลน์ มีเดีย” เกิดง่าย ตายง่าย ตัวจริงเท่านั้นที่รอด
-iCreator Conference เป็น “คอนเทนต์ ครีเอเตอร์” อย่างไรให้ปัง
-Central Tech Retail Lab (CTRL) เฟ้นหาสตาร์ตอัพตอบโจทย์ประสบการณ์การช้อปปิ้ง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ