TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistวาระ "เปลี่ยนกรุงเทพฯ" กลับมาอีกครั้ง

วาระ “เปลี่ยนกรุงเทพฯ” กลับมาอีกครั้ง

กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในมหานครใหญ่ และมีประชากรแออัดมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ ปี 2563 ระบุ จำนวนประชากรอย่างเป็นทางการไว้ 5,522,253 คน ไม่นับรวมประชากรแฝงที่ไม่มีตัวเลขชัดเจนแต่น่าจะหลักหลายล้าน  

นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งอย่างของประเทศไทย การบริหารเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ มีสัดส่วนประมาณ 25% โดยธุรกิจหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ คือ ค้าปลีกหากอีกด้านกรุงเทพฯ ไม่ได้ต่างจาก มหานครเก่าแก่แห่งอื่น ๆ ของโลกที่มีปัญหาที่สะสมมานาน และมีโจทย์ใหม่รุกไล่ให้เปลี่ยนแปลงท้าทายอยู่ตลอดเวลา

สัปดาห์ที่ผ่านมา กรุงเทพฯ เริ่มเข้าสู่โหมดเตรียมการเลือกตั้งหาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) คนใหม่  ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังเว้นวรรคไปกว่า 9  ปี ศึกเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ที่กำลังจะมีขึ้นนี้ มีผู้ลงสมัครท้าชิงเก้าอี้พ่อเมืองคนกรุงถึง 31 คน และ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) 50 เขต อีก 382 คน ทำสถิติสูงสุดใหม่ของการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานครเลยทีเดียว     

โดยผู้สมัครมีทั้งสังกัดพรรค  กึ่งสังกัดพรรค หรืออิสระตัว คนเดียวจริง ช่วงนี้บรรดาผู้สมัครเริ่มออกเดินสาย ขายฝัน ขายไอเดีย ผ่านนโยบาย ที่พวกเขาหรือเธอเชื่อว่าจะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่กรุงเทพฯ ถ้าเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ 

เท่าที่สำรวจนโยบายของผู้ลงสมัครท้าชิงตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.คนที่ 17 ที่แถลงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพรวมทุกพรรคและทุกกลุ่ม พื้นฐานแนวคิดไม่ได้แตกต่างกันนัก ทุกคนชูแนวคิดว่จะนำการเปลี่ยนไปสู่สิ่งทีดีกว่าหรือพลิกโฉชุดนโยบายที่นำเสนอแยกได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือนโยบายเพื่อแก้ปัญหาสะสม อาทิ ปัญหาการจราจร น้ำท่วม น้ำเสีย ขยะเกลื่อน ชีวิตความเป็นอยู่ ทางเท้าที่หายไป การเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมไปถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 และนโยบายที่ใช้เป็นจุดขาย

บิ๊กวิน พล.ต.อ.อัศวินขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ คนล่าสุด ลงชิงลุ้นเก้าอี้อีกสมัย ชูสโลแกน กรุงเทพต้องไปต่อ เป็นจุดขาย ผ่าน 8 นโยบายไปต่อ ตั้งแต่ทำให้สังคมกรุงเทพปลอดภัย สงบสุข ไปจนถึง ดูแลทุกกลุ่มทุกวัย โดยก่อนหน้านี้พล.ต.อ.อัศวิน ออกมาสื่อสารกับคนกรุงเทพฯ ว่า กรุงเทพฯเปลี่ยนไปแล้ว 

อาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ประกาศชิงเก้าอี้ผู้ว่ากทม.ในนามอิสระ ชูสโลแกน พัฒนากรุงเทพให้ยั่งยืนเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน มาพร้อมกับ 202 นโยบายย่อยที่ลงรายละเอียดปัญหาเกือบทุกซอกทุกมุมของกรุงเทพฯ ส่วนพี่เอ้ อาจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศจะเปลี่ยนกรุงเทพให้เป็นเมืองสวัสดิการ ทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองต้นแบบของอาเซียน พร้อมประกาศใช้เทคโนโลยีและวิศวกรรมแก้ปัญหาซ้ำซากอย่างน้ำท่วม รถติด ฝุ่น PM2.5     

สกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระชูสโลแกน กรุงเทพดีกว่านี้ได้ พ่วง 6 นโยบายสำคัญ คือ สาธารณสุข การศึกษา ขนส่ง จราจร ล้อ-ราง-เรือ ดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน สิ่งแวดล้อม ผังเมือง รวมไปถึงเศรษฐกิจสังคม ด้านผู้สมัครจากพรคก้าวไกล วิโรจน์  ลักขณาอดิสร ชูสโลแกนที่เน้นการเมืองตามสไตล์ก้าวไกลว่า สร้างเมืองที่คนเท่ากัน แนบมากับ 12 นโยบายอาทิปรับเพิ่มสวัสดิการผู้สูงอายุคนพิการ สร้างที่อยู่อาศัยกลางเมือง 10,000 ยูนิต ให้เช่าระยะยาวค่าเช่นระหว่ง 3,000-9,000 บาท เป็นต้น

ส่วน รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ ชูสโลแกน “ต้องหยุดโกงกรุงเทพฯ เปลี่ยนแน่” พร้อมกับนโยบายบำนาญประชาชน 3,000 บาท เริ่มก่อนที่กทม. และไม่ต่อสัมปทานบีทีเอส หรือรถไฟฟ้าสายสีเขียว ลดค่าโดยสารเหลือ 20 บาทตลอดสาย เป็นต้น

ผู้เขียนมีข้อสังเกตต่อนโยบายผู้สมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นอยู่ 3  ข้อ คือ 

หนึ่งนโยบายของผู้สมัครส่วนใหญ่เน้นไปที่ดูแลคนเป็นหลักผ่านนโยบายประชานิยม ตัวเช่น นโยบาย สร้างกทม.เป็นเมืองสวัสดิการของประชาธิปัตย์ การเพิ่มสวัสดิการผู้สูงอายุและผู้พิการของพรรคก้าวไกล หรือบำนาญประชาชน 3,000 บาทของรสนา ฯลฯ  

สองนโยบายใกล้ตัวคนกรุงเทพฯ ที่สุด เช่น ปัญหาทางเท้า ที่หลายพื้นที่ทางเท้ากลายเป็นที่ตั้งของเสาไฟฟ้า ส่วนทางเท้าที่กว้างหน่อย ถ้าไม่ถูกยึดเป็นพื้นที่ขายของก็ถูกเปลี่ยนเป็นทางวิ่งมอเตอร์ไซด์ เท่าที่ดูยังไม่มีผู้สมัครรายใดกล้านำเสนอแนวทางแก้ปัญหาทางเท้าที่หายไปอย่างจริง ๆ จัง ๆ   

เช่นเดียวกับ ปัญหาขยะที่เป็นโจทย์ท้าทายของกรุงเทพฯ ที่ผู้สมัครยังคิดแบบแตะ ๆ เช่น อาจารย์สุชัชวีร์ จากปชป. บอกแต่ว่าต้องปฎิวัติการเก็บขยะแต่ไม่มีรายละเอียดว่าจะปฎิวัติอย่างไร เช่นเดียวกับสกลธี บอกว่าต้องเปลี่ยนขยะเป็นทองคำ ที่ไม่มีรายละเอียดเช่นกัน      

ปัญหาขยะ วิโรจน์จากก้าวไกลพูดยาว แต่เน้นมุมการเมืองมากกว่า โดยประกาศเป็นหนึ่งในนโยบายว่าจะขึ้นค่าเก็บขยะห้างใหญ่จากอัตราปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 10 เท่าตัวเพื่อนำไปปรับปรุงการเก็บขยะครัวเรือน ซึ่งแนวทางดังกล่าวคงยากจะจัดการกับปัญหาขยะของกรุงเทพฯ ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้

สำนักงานสิ่งแวดล้อมกทม. ระบุว่าปีที่แล้ว (1 ต.ค.63 – 30 ก.ย. 64) คนกรุงเทพ เมืองฟ้าอมรผลิตขยะรวม 3,166,276.27 ตัน หรือ เฉลี่ยวันละ 8,674.73 ล้านตัน และเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กรุงเทพฯ มีปริมาณขยะกองรวมกัน 248,861 ตัน หรือเฉลี่ยวันละ 8,887.89 ตันวัน ที่ผ่านมากทม.จำกัดขยะด้วยการฝังกลบฝังกับเผา ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีข้อจำกัดเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ

ข้อสังเกตสุดท้าย คือ ผู้สมัครทุกคนนำเสนอมุมมองต่อผังเมืองน้อยมาก ทั้งที่หนึ่งในปัญหาหลักของกรุงเทพฯ คือ เติบโตอย่างไร้ทิศทาง ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกคนรับรู้ ที่ผ่านมากทม. มีโครงการจัดทำผังเมืองรวม ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการปรับปรุง โดยมีเป้าหมายให้กรุงเทพฯ เติบโตอย่างมีระบบ และวางแนวคิดให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งเอเชียทีเดียว 

หนึ่งในประเด็นผังเมืองที่อยากทราบว่าผู้สมัครชิงเก้าอี้ ผู้ว่าฯกรุงเทพฯ แต่ละคน มีท่าทีอย่างไร? ต่อปัญหาการสร้างตึกสูงในซอยที่เป็นประเด็นขัดแย้งระหว่าง ผู้อยู่อาศัยเดิม กับเจ้าโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ที่มีให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 

เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคนหรือเมืองต้นแบบของอาเซียนคงไม่มีทางเกิด หากปัญหาสามัญใกล้ตัวที่คนกรุงเทพฯ ต้องสัมผัสอยู่ทุก ๆ วัน อย่างขยะ น้ำเสีย น้ำท่วม ฝุ่น PM 2.5  ผลกระทบจากการสร้างตึกสูง ฯลฯ ไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้ที่จะมาเป็นผู้ว่าฯ กทม. อย่างจริง ๆ จัง ๆ

“ชญานิน ศาลายา” เป็นนามปากกาของ “คนข่าว” ที่เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของวัฎจักรเศรษฐกิจตลอดช่วง 4 ทศวรรษเศษ ที่ผ่านทั้งช่วงเวลา เฟื่องฟู โรยรา จนถึง ถดถอย จากวิกฤติค่าเงินปลายทศวรรษ 2530 วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 และล่าสุดวิกฤติโควิด

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย และมาม่า

เมื่อไหร่ งบฯลงทุนจะถึง 25%?

วาระ “เปลี่ยนกรุงเทพฯ” กลับมาอีกครั้ง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ