TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyMFEC เผยกลยุทธ์ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ภายใต้กลยุทธ์ O3 

MFEC เผยกลยุทธ์ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ภายใต้กลยุทธ์ O3 

บริษัท เอ็ม เอฟ ซี อี จำกัด หรือ MFEC ผู้นำตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ตั้งเป้าภาพรวมธุรกิจเติบโตเกิน 15% จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีรายได้อยู่ที่ 5,453 ล้านบาท พร้อมผนึกกำลังพันธมิตร เผยกลยุทธ์ O3 แก้ไขปัญหาความคุกคามทางไซเบอร์อย่างยั่งยืน

วางแผนความเติบโตทางธุรกิจ

ดำรงศักดิ์  รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ลูกค้าของทาง MFEC มีหลายหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรม Telecommunication หรืออุตสาหกรรมภาครัฐต่าง ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้รายได้ทางบริษัทอยู่ที่ประมาณ 300 ล้านบาท ในขณะที่ทางบริษัทตั้งเป้าหมายให้มียอดพุ่งสูงขึ้นไปอีกถึง 300% แต่ก็สามารถนำพาบริษัทไปสู่เป้าหมายได้ด้วยความช่วยเหลือจากคุณศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร รวมไปถึงทีมงานในแต่ละฝ่าย ทำให้ในปี 2018 รายได้ของบริษัทแตะพันล้านเป็นครั้งแรก

ซึ่งล่าสุดทาง MFEC ผนึกกำลังพันธมิตร เดินหน้ารุกตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยตั้งเป้าหมายรายได้ 1.5 พันล้านบาทในสิ้นปี 2566 นอกจากนี้ในฐานะผู้นำตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ได้วางแผนในการต่อยอดธุรกิจ โดยตั้งเป้าหมาย ว่าภาพรวมธุรกิจ MFEC จะมีรายได้เติบโตเกิน 15% จากรายได้ 5,453 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ซึ่งคืดเป็นสัดส่วนแนวโน้มการเติบโตของกลุ่มไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประมาณ 25% ภายในปี 2566 

ภัยไซเบอร์ ภัยคุกคามภายใต้ความก้าวหน้าของ AI 

ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ในปัจจุบันลูกค้าของบริษัทถูกภัยคุกคามจากไซเบอร์ โดยกลุ่มประชาชนทั่วไป เป็นภัยคุกคามที่พบเห็นได้อย่างชัดเจนเลย คือโมบายมัลแวล์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “แอปดูดเงิน” แต่สิ่งที่นำเงินออกจากโทรศัพท์ไม่ใช่แอป เพียงแต่แอปถูกใช้เป็นเครื่องมือ ถูกใช้เป็นรีโมทคอนโทรลเพื่อควบคุมโทรศัพท์ ผ่านการถูกหลอกลวงให้ติดตั้งมัลแวร์ที่เป็นตัวต้นเหตุในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา ลิงค์จากบุคคลที่ไม่รู้จัก เป็นต้น แล้วโจมตีอย่างต่อเนื่องจนนำไปสู่การเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง ซึ่งทาง MFEC ก็ได้ต่อสู้กับภัยคุกคามนี้มาโดยตลอด

ในส่วนขององค์กร แฮกเกอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลกไซเบอร์มากขึ้น เข้ามาโจมตีองค์กรต่างๆ เข้ามาแทรกซึมระบบความปลอดภัยและเทคโนโลยีของทางองค์กร เพื่อนำข้อมูลออกไปแล้วใช้ข้อมูลเหล่านั้นมาเรียกค่าไถ่ เรียกเงินจากทางองค์กร

และปัจจุบันก็มีปัจจัยสำคัญอย่างเอไอ เข้ามาช่วยให้แฮกเกอร์เหล่านั้นสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ทำให้ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ยิ่งรุนแรงมากขึ้น  

โลกเปลี่ยน หนึ่งปัจจัยส่งผลต่อความท้าทาย

จากสถานการณ์ต่าง ๆ ณ ปัจจุบัน โลกได้เข้าสู่ยุคดิจิทัล และมีการนำดิจิทัลมาใช้ผสานควบคู่ไปกับการทำงานของมนุษย์ ช่วยให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็ส่งผลเสียต่อโลก

เนื่องจากการเข้ามาของยุคดิจิทัล ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของดิจิทัลฟุตพรินต์ ซึ่งมาพร้อมกับภัยคุกคามและความเสี่ยงทางไซเบอร์ ทำให้องค์กรต่างๆทั้งทางภาครัฐและเอกชน จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผน วางกลยุทธ์เพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายที่เข้ามาพร้อมกับภัยคุกคามเหล่านั้น

ศิริวัฒน์ กล่าวว่าสำหรับ MFEC ความท้าทายของการป้องกันภัยไซเบอร์ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ความท้าทายด้วยกัน

  • ความท้าทายแรก เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน แฮกเกอร์มีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาและมักจะก้าวไปข้างหน้าเราหนึ่งก้าวเสมอ ดังนั้นปัญหานี้จึงเป็นความท้าทายหลัก ที่ทาง MFEC จะต้องรู้เท่าทันและตามให้ทันแฮกเกอร์ให้ได้ จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นและเร่งไปที่การพัฒนาคนของทางบริษัท เพื่อให้สามารถก้าวไปใกล้แฮกเกอร์ให้ได้มากที่สุด
  • ความท้าทายที่สอง คือต้องทำให้ผู้คนในสังคมปรับตัวและวิ่งให้เร็วที่สุด เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที
  • ความท้าทายที่สาม คืองบประมาณในการลงทุน เพราะในการลงทุนทางด้านซีเคียวริตี้ ทุกอย่างมีราคาที่ต้องจ่ายสูง นอกจากนี้ยังต้องทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด

O3 กลยุทธ์เพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์

ทาง MFEC จึงได้มีการใช้กลยุทธ์ O3 เข้ามาใช้ในการจัดการด้านความปลอดภัยของโลกไซเบอร์ ตั้งแต่การป้องกัน ตรวจจับและแก้ไข เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

คุณดำรงศักดิ์  รีตานนท์ กล่าวว่า งาน MFEC Cyber Sec Pro 2023 : Protecting Your Business in a Connected World by Professional ถูกจัดขึ้นเพื่อนำเสนอกลยุทธ์ O3 ซึ่งประกอบไปด้วย

  • Observability การมีระบบตรวจสอบที่ดีและมีระบบจัดการที่ทันสมัย เป็นเสมือนผู้ช่วยสังเกตการณ์ที่จะเข้ามาทำให้เราสามารถรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่กำลังระบาดและเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
  • Orchestrator ในปัจจุบันมีหลายซอฟแวร์เกิดขึ้นมา ดังนั้น Orchestrator จึงเป็นตัวช่วยในการเชื่อมต่อและควบคุมซอฟแวร์ ที่มีความหลากหลายโดยอัตโนมัติแทนวิธีการแบบเดิมๆเพื่อให้มีอิสระในการทำงานมากขึ้น
  • Optimization ด้วยสภาวะเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ส่งผลให้เงินลงทุนมีปริมาณที่น้อยลง ทำให้ลูกค้าของทางบริษัทเกิดความกังวลใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การ optimization ก็จะเข้ามาช่วยยกระดับความปลอดภัยให้กับทุกองค์กรให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่บานปลายเกินความจำเป็น

โดยกลยุทธ์โซลูชัน O3 ได้ถูกนำมาวิเคราะห์และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้จริง

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Google Cloud เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐานและโมเดล AI สำหรับธุรกิจใน SEA เพื่อสร้างแอปพลิเคชัน Gen AI ระดับองค์กร

5G กับการช่วยสร้างเมืองน่าอยู่แบบดิจิทัล (Digital Livable Cities)

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ