TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterview“จิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์” ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักพัฒนาซอฟต์แวร์แห่ง KBTG

“จิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์” ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักพัฒนาซอฟต์แวร์แห่ง KBTG

เมื่อเอ่ยชื่อ “จิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์” อาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูหนักสำหรับคนทั่วไป แต่ในวงการนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทย เขานับเป็นนักพัฒนาที่มีฝีมือไม่เบาทั้งการโค้ดดิ้งและการแก้ปัญหาการให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยกัน

“จิรัฎฐ์” เป็นหัวเรือใหญ่ของทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ KBTG ที่ชื่อว่า DEVx ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ

ปัจจุบันพัฒนาแอปพลิเคชันไปแล้วกว่า 500 แอปฯ ให้กับธนาคารกสิกรไทย และเป็นหัวหอกสำคัญในการขับเคลื่อนธนาคารกสิกรไทยขึ้นชั้นเป็น fintech ชั้นนำของประเทศและภูมิภาค

จิรัฎฐ์ เป็นคนสาย deep tech ที่เติบโตมาในเส้นทางเทคโนโลยีโดยตลอด เขาจบปริญญาตรีวิศวะคอมพิวเตอร์ และเริ่มทำงานเป็นนักพัฒนาเทคโนโลยีให้กับ Settrade รับผิดชอบงานตั้งแต่การเขียนโค้ดพัฒนาระบบและพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่ราว 1 ปี 

ด้วยความเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์หนุ่มไฟแรง เขามองหาโอกาสที่ท้าทายความสามารถมากขึ้น จึงเดินทางไปทำงานที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ให้กับบริษัทที่ให้บริการปรึกษาด้าน search engine ให้กับบริษัทในหลากหลายประเทศ ทั้งในปารีส ฝรั่งศส แอฟฟิกาใต้ สิงคโปร์ โดยรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาวางระบบ search engine เพื่อแก้ไขปัญหา (Paint Point)ให้กับธุรกิจของลูกค้าอยู่นาน 5 ปี ประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศสร้างให้เขาเป็นคนชอบแก้ไขปัญหาและข้อจำกัด และรู้สึกท้าทายตลอดเวลา

จิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์ ผู้ช่วยกรรการผู้จัดการ Software Development Excellence หรือ DevX บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวกับ The Story Thailand ว่า สาเหตุที่ทำให้เขาตัดสินใจกลับประเทศไทย เป็นเพราะมีรุ่นพี่คนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในธนาคารกสิกรไทยชวนมาทำงานด้วยกัน ตอนนั้นกสิกรไทยมีความต้องการเสริมทัพบุคลากรที่มีความรู้ความเชียวชาญเฉพาะด้าน deep tech เพื่อเพิ่มมุมมองที่แหลมคมรับกับเป้าหมายยกระดับองค์กรเป็น tech company อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย เพื่อพลิกโฉมธนาคารให้ทันสมัยพร้อมรับการแข่งขันด้วยการยกระดับธุรกิจให้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมก่อนถูกดิสรัปชัน

“ในยุคนั้นคนรุ่นใหม่ที่จบทางด้านเทคโนโลยี นิยมเข้าทำงานในบริษัทสตาร์ตอัพที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เพราะท้าทายและปล่อยพลังได้เต็มที่ ไม่มีการตีกรอบในการทำงาน ยืดหยุ่น ลองผิดลองถูกได้ ทำให้องค์กรขนาดใหญ่หลาย ๆ แห่งขาดแคลนบุคลากรด้านพัฒนาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์” 

แต่เขากลับมองว่าแม้กสิกรไทยจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีกระบวนการทำงานรอบคอบรัดกุม แต่มีเป้าหมายยกเครื่องธุรกิจที่ชัดเจน ประกอบกับความชอบความท้าทายแก้ข้อจำกัดเป็นแรงผลักดันให้เขาตัดสินใจเข้ามาเป็นหนึ่งในทีนักพัฒนาเทคโนโลยีรุ่นบุกเบิกให้กับกสิกรไทย จนแยกตัวมาเป็น KBTG เพื่อความคล่องตัวในการคิดสร้างสรรค์เทคโนโลยี นวัตกรรม ได้ดียิ่งขึ้น

“องค์กรขนาดใหญ่อาจมีขั้นตอนการทำงานที่รัดกุมและมีลูกค้าจำนวนมากที่ต้องให้ความสำคัญ จึงทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์อาจจะใช้เวลานานกว่า แต่เป็นปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้ มีตัวอย่างให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของโลกหลายบริษัท สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ได้รวดเร็วและคล่องตัวด้วยการแก้ของจำกัดของตังเองให้เล็กลงหรือหายไป”

ประสบการณ์การทำงานด้านพัฒนาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์กอปรกับการผ่านการพัฒนาระบบมาจำนวนมาก ทั้งระบบคอลแบงกิ้ง คอลซิสเต็มส์ การพัฒนาช่องทางการเข้าถึงลูกค้ารูปแบบใหม่ผ่านโมบายแบงค์กิ้ง เขาพบช่องว่างของศักยภาพของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ สิ่งที่เขาพอคือ ความเก่งด้านโค้ดดิ้งของนักัฒนาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานและได้ประโยชน์สูงสุด ช่องว่างที่ว่านั้นต้องถูกเติมเติมด้วยองค์ความรู้จะหลากมิติเข้ามาประกอบ

“ข้อจำกัดที่สำคัญของนักพัฒนาเทคโนโลยี คือ ในบรรดาคนเขียนโค้ดจำนวนมาก แต่หาคนเขียนคนได้ดีมีประสิทธิภาพตอบโจทย์ธุรกิจได้ยาก เพราะการเขียนซอฟต์แวร์ที่ดีขึ้นมาหนึ่งตัวจำเป็นต้องมีองค์ความรู้จากหลายมิติหลายแกนมาประกอบการกัน การหาคนที่มีมัลติสกีลเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก”

เขาทำการบ้านอย่างหนักเพื่อหาวิธีก้าวข้ามข้อจำกัดที่เจอและพบว่าบริษัทเทคโนโลยีแถวหน้าของโลกมีการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาซอฟท์แวร์สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดตรงหน้าและช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้ดีขึ้นบนระยะเวลาที่สั้นลงกว่าเดิมได้หลายเท่าตัว 

นั่นเป็นแรงบันดาลใจให้เขาและคีย์แมนคนอื่น ๆ เห็นตรงกันว่า KBTG ควรจะสร้างทีมกลางที่ทำหน้าที่ด้าน software development excellence ขึ้นมาเพื่อเป็นแม่ทัพสำคัญในการทะลวงข้อจำกัดของนักพัฒนาซอฟท์แวร์ให้กับ KBTG ไปจนถึงอุตสาหกรรมในภาพรวม 

นับเป็นต้นแบบของการไม่ยอมแพ้ต่อข้อจำกัดหรืออุปสรรคใด และกลับคิดมุมกลับพยายามค้นหาหนทางเพื่อเอาชนะก้าวข้ามอุปสรรคขององค์กรที่มีเป้าหมายทรานส์ฟอร์มในธุรกิจหนีการถูกดิสรัปชันให้สำเร็จ 

ความพยายามและไม่ยอมแพ้กับข้อจำกัด ส่งผลให้ KBTG กลายเป็นสนามที่ท้าทายความสามารถของที่คนรุ่นใหม่สาย deep tech เพราะนักพัฒนาสามารถแสดงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่โดยมี ตัวช่วยให้พวกเขาสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์และนวัตกรรมใหม่ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ได้ประสิทธิภาพและรวดเร็ว

“ในมุมของนักพัฒนาผมมองว่าความท้าทายที่สำคัญของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยมี 2 ส่วนแรก คือ การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีหรือ tech talent ที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจและส่วนที่สองการพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยเสริมเสริมศักยภาพการทำงานของนักพัฒนาซอฟท์แวร์ด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วทันต่อความต้องการของตลาด

จิรัตน์ วางเป้าหมายของตัวเองเอาไว้ว่าจะนำทีมพัฒนาเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพแล้วเปิดโอเพ่นซอสให้กับผู้ที่ต้องการนำไปต่อยอดใช้งาน เพื่อช่วยกันยกระดับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศให้แข็งแกร่ง 

“ในโลกของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ปัจจุบันก็เปรียบเหมือนโลกในยุคที่คนสร้างพีระมิดเริ่มต้นต้องใช้คนจำมหาศาลในการสร้าง แต่เมื่อเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนมุมมอง ได้มีการใช้เครื่องทุ่นแรงที่สามารถสร้างพีระมิดเสร็จสมบูรณ์ด้วยคนเพียงไม่กี่คนแถมยังใช้เวลาสั้นลงหลายเท่า ผมวางเป้าหมายทีมของเราเป็นส่วนหนึ่งให้ทั้งโลกสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ดีมีประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที”

เขาได้ทิ้งทายเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ทักษะที่สำคัญและจำเป็นของบุคลากร deep tech ในยุคนี้ หนีไม่พ้น “ทักษะด้านการสื่อสาร” ด้วยการสร้างซอฟต์แวร์ปัจจุบันจะต้องสร้างประโยชน์ต่อคนหมู่มาก การสร้างซอฟท์แวร์ดี ๆ ขึ้นมาไม่สามารถสร้างได้ด้วยคน ๆ เดียวอีกต่อไป แต่ต้องอาศัยทีมหลาย ๆ การสื่อสารจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมาก

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
ณวะรา เพชรกุล – เรียบเรียง

“สุวิตา จรัญวงศ์” หญิงเก่งแห่ง ​Tellscore

ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล เทคลีดเดอร์แห่ง KBTG ผู้ฝันสร้าง Impact ให้ประเทศ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ