TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyKBTG ตั้ง SDX และ DevX ย้ำบทบาท Best Tech Company ใน Southeast Asia

KBTG ตั้ง SDX และ DevX ย้ำบทบาท Best Tech Company ใน Southeast Asia

เพื่อเป็นการตอกย้ำพันธกิจของ KBTG สู่การเป็น Best Tech Company ในภูมิภาค Southeast Asia รวมถึงการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระดับโลก KBTG ตั้งแผนกใหม่ คือ Software Development Excellence Department และเสริมทัพด้วยทีมใหม่ คือ DevX (Developer Experience) ที่จะเข้ามาช่วยให้ Developer ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์ Assistant Managing Director, Software Development Excellence, KBTG กล่าวว่า ทีมรับโจทย์จากบริษัทว่าต้องการขยายธุรกิจและทีมสู่ระดับภูมิภาค และการเห็นความสำคัญของนักพัฒนาว่ามีควาสำคัญมากกับบริษัท เพราะการที่จะพัฒนาระบบใด ๆ ให้สำเร็จ นักพัฒนา คือ หัวใจ ดังนั้น บริษัทจะต้องีวิธีการที่ช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

“จากโจทย์ใหญ่ 2 ข้อ ที่ต้องการขยายสู่ระดับภูมิภาค และการให้ความสำคัญกับนักพัฒนา ให้นักพัฒนาทำงนได้ง่ายขึ้น นำมาสู่ความคิดในการตั้งทีม DevX” 

การจะขยายศักยภาพของบริษัท การปรับปรุงแนวทางปฏิบัติให้ดีขึ้น และการมองเห็นความสำคัญของนักพัฒนา มีหลากวิธีในการทำ แต่สิ่งสำคัญประการแรก คือ การให้ความสำคัญกับนักพัฒนาทุกคนด้วยการฟังเสียงฟังความต้องการของพวกเขา ซึ่งในมาตรฐานการปฏิบัติทั่ว ๆ ไป คือ การสร้าง Guild หรือการนำนักพัฒนาที่มีควาสนใจในเรื่องเดียวกันมารวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งที่ KBTG มีอยู่แล้ว คือมี Guild ในส่วนของ Mobile, GO, BA, Agile และ Java เป็นต้น จำนวน Guild สาารถเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ ตามความสนใจ 

หรืออาจจะสร้างทีมกลางขึ้นมาที่ช่วยยกระดับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของทั้งองค์กร รวมถึงปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติในการพัฒนาซอฟต์แวร์รวมถึงการสร้างเครื่องมือช่วยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาของการจัดตั้ง DevX ซึ่งเป็นทีมงานใหม่ ในขณะเดียวกันก็ฝ่ายงานใหม่ ชื่อว่า SDX หรือ Software Development Excellence ที่รวมทีมเดิม (ทีม Agile, DevOps และ Software Development Methodology) และทีมใหม่ คือ DevX เข้ามาด้วย 

ทีม Agile, DevOps และ Software Development Methodology มีเป้าหมายในการนำ Pratice และ Automated Tools มายกระดับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของทั้งองค์กร ในขณะที่มองว่า ควรจะมีอีกบทบาทหนึ่ง คือ Developer Experience คือ มองเป็น Center of Excellence ของ Developers ว่า Practice และ Experience ในการทำงานของนักพัฒนาทั้งหมด ควรจะมีเครื่องมือหรือมาตรฐานที่สามารถช่วยให้ทั้งองค์กรสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นได้ จึงเป็นที่มมาของฝ่ายใหม่ (SDX) ที่ตั้งขึ้นมา และมีทีม DevX อยู่ในนั้น 

รูปแบบการทำงานของทีมกลาง คือ จะยกระดับทักษะของทีมทั้งหมด จะเก็บ Feedback จะนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการพัฒนาซอฟต์แวร์ของทั้งองค์กรให้ดีขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น 

หากไปดูโครงสร้างองค์กรของบริาัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของโลก อย่าง Uber, Google, Apple เขาจะมีทีมกลางคล้าย ๆ กัน แต่ชื่ออาจจะไม่เหมือนกัน อาทิ Apple มีทีมชื่อ Developer Experience ส่วน Google มีทีมชื่อว่า Engineering Productivity มีเป้าหมายคล้ายกัน คือ สร้าง Practice และ Tools กลางในการช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้กับนักพัฒนาทั้งหมดขององค์กร

การสร้าง Practice และ Tools กลางจะครอบคลุมการทำงานของนักพัฒนาตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่ Learn, Design, Code, Test, Build, Release, Monitor และ Debug ซึ่งทีมกลางจะเข้าไปช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ทั้งหมดทุกเลย อาทิ ช่วง Learn จะมี New Joiner Training ให้ หรือช่วย Code หรือ Test จะมี Common Library ที่แชร์กันทั้งบริษัท ไม่ต้องไปนั่งเขียนอะไรใหม่ หรือจะทำ Automated Gen-Code หรือ Automated Test เพื่อไม่ต้องให้นักพัฒนาไปนั่งทำ Manual เองแต่ละอย่าง รวมไปถึงตอนที่จะ Build หรือ Deploy ตอนจะ Monitor หรือ Debug จะนำรูปแบบของ Practice ที่เป็นมาตรฐานมา อาทิ นำรูปแบบ Observability ซึ่งประกอบไปด้วย Logging, Metrics, และ Tracing มาใช้ช่วยยกระดับการ Monitor หรือ Debug ได้ 

ทั้งหมดของงานการพัฒนาของนักพัฒนาจะสนับสนุนโดย Agile Way of Work หรือ  UnifiedKnowledge-Based ที่ทำให้เห็นภาพทั้งหมดได้ 

“นี่คือภาพใหญ่ที่ SDX และ DevX สามารถช่วยยกระดับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัทตั้งแต่ต้นจนจบที่ให้ความสำคัญกับตัวนักพัฒนาซอฟต์แวร์” 

ในช่วงแรก DevX จะเน้น 3 อย่าง คือ API Spec as Code เวลาออกแบบบริการใหม่ นักพัฒนาอาจจะต้องเขียนสเปค และเขียนโค้ดให้ตรงกับสเปค ตัว API Spec as Code จะช่วยทำให้การเขียนสเปคและการเขียนโค้ดเป็นอัตโนมัติมากขึ้น 

เรื่องต่อมา คือ 3 Pillars of Observability ซึ่งเป็นมาตรฐานหนึ่งในการทำ White-Box Monitoring ที่ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ Logging, Metrics, และ Tracing จะทำให้สามารถ Monitor แอปพลิเคชันแบบ While-Box ได้ดีและครบทุกแกน 

และการสร้าง Knowledge Platform ให้องค์ความรู้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขององค์กรถูกจัดเก็บและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักพัฒฒนาได้ อาจจะทำออกมาในรูปแบบของ Knowledge Portal, Golinks หรือ Universal Search Engine เป็นต้น 

ปรับการทำงานมุ่งสู่ระดับภูมิภาค

ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล, Senior Principal Visionary Architect,​ KBTG กล่าวว่า KBTG ต้องการเป็น Best Tech Company ในระดับภูมิภาคและระดับโลก จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงานข้างในองค์กรเพื่อให้ตอบโจทย์การทรานส์ฟอร์มองค์กรเพื่อรองรับการริเริ่มใหม่ ๆ ของ KBTG และ KBANK ได้ ซึ่งการจะขยายศักยภาพการพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบไอทีให้รองรับระดับภูมิภาค จะต้องมีการสร้าง ปรับเปลี่ยน ใช้ระบบอัตโนมัติ เพื่อสร้างมาตรฐานการทำงานของนักพัฒนาทั้งองค์กรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งพันธกิจของ CoE หรือ DevX คือ การตอบโจทย์การทำ Transformation ของ KBTG และสนับสนุนการขยายสู่ภูมิภาคของ KBANK 

“นักพัฒนาถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากในเรื่องของการพัฒนาซอฟท์แวร์ ดังนั้น เราเลยอยากจะสร้างโซลูชันต่าง ๆ เพื่อทำให้นักพัฒนาทำงานได้ง่ายขึ้น มีทักษะมากขึ้นและเก่งขึ้น”  ดร.ทีมกล่าว

Productivity ของ DevX จะตรงกับกับการมุ่งสู่ภูมิภาคของ KBTG ในการบุกตลาดเวียดนาม หรือการบุกตลาดในอาเซียน ซึ่ง Engineering หรือ Developer เป็นส่วนสำคัญมาก ๆ ในการ Go Regional

การขยายธุรกิจสู่ภูมิภาค KBANK ใช้กลยุทธ์การขยายธุรกิจแบบ Asset Light, High Productivity ซึ่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยสร้างสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะทำเพื่อสนับสนุนส่งเสริมภายในองค์กรเองก่อนจากนั้นอาจจะขยายองค์ความรู้สู่นักพัฒนาซอฟต์แวร์นอกองค์กร เพราะพันธกิจของ KBTG คือ พาไอทีไประดับโลก ไม่จำกัดอยู่เฉพาะ KBTG เท่านั้น 

ฝ่ายใหม่อาจจะไม่ได้สร้างรายได้ให้ลูกค้าโดยตรง แต่จะสร้างประโยชน์และรายได้ทางอ้อมให้กับลูกค้าของ KBTG และ KBANK เพราะนักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ดร.ทัดพงศ์ กล่าวว่า KPI ของ DevX คือ ประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ดีขึ้น (Prodcutivity) ความรวดเร็วในการพัฒนาฟีเจอร์ของบริการสู่ตลาดดีขึ้น (Agility) และคุณภาพ (Quality) ต้องสมดุลทั้ง 3 ส่วนนี้ 

KPI ของ DevX มีหลัก ๆ 3 ประการ คือ 

  • Engineering Productivity คือ การที่ใช้นักพัฒนาหนึ่งคนได้เต็มศักยภาพ ให้เขาทำงานได้สะดวกมากขึ้น ได้ Output ที่มากขึ้น 
  • Agility คือ ความรวดเร็วในการที่จะทำฟีเจอร์และ Launch ฟีเจอร์ออกไป สามารถทำได้รวดเร็วเพื่อตอบสนองลูกค้าต่าง ๆ
  • Quality คือ การที่พัฒนาโซลูชันได้เร็วและ Productive 

“โดยต้องไม่ละทิ้งคุณภาพธนาคาร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ไม่สามารถทำให้เกิดช่องโหว่ในคุณภาพ เพราะธนาคารมี Trust ของลูกค้าอยู่ เพราะฉะนั้น KBTG ต้องสมดุลทั้งสามอย่าง Engineering Poductivity, Agility และ Quality ทั้งหมดนี้คือ KPI ของ DevX”  

ความท้าทายของ DevX

ความท้าทายของ DevX คือ การเป็นทีมนักพัฒนาเพื่อนักพัฒนา คือ ต้องการคนที่จะมาช่วยนักพัฒนาคนอื่น ๆ ให้มี Productivity ที่สูงขึ้น ดังนั้น คน ๆ นั้นจะต้องมี Soft Skill ที่เก่ง มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถช่วยสนับสนุนโปรเจค

“ตรงนี้เป็นทักษะ เหมือนผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพ มี Pain Point ของนักพัฒนาแล้ว ดูว่าตรงไหนตอบ Pain Point ของเขา เพื่อ Productivity ของเขาได้โดยใช้ Effort ให้น้อยที่สุด ตรงนี้ ก็คือ ความท้าทายในการหาคนที่มีคุณสมบัติอย่างที่ว่ามานี้”

“ถ้าจะไปยังระดับภูมิภาค Productivity ต้องสูงกว่านี้ วิธีการทำ Productivity ให้สูงกว่านี้ คือต้องมีสิ่งที่เป็น แพลตฟอร์มกลาง หรือ Library กลาง ให้ทุกคนใช้ เราไม่ได้มองแค่ว่าลูกค้าของเรา คือ Ended Users แต่ลูกค้าของเรา คือ นักพัฒนา เราจะ Empower นักพัฒนาคนอื่นให้ทำงานเร็วขึ้นได้อย่างไร”

ดร.ทัดพงศ์ กล่าวว่า ที่ปรับตรงนี้ไม่ใช่เรื่องของ Direction แต่เป็นเรื่องของ Mechanism ที่จะเอาเข้ามาเพื่อทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วมันดีขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสาร การแชร์ Knowledge ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะเป็นลักษณะการสื่อสารด้วยวิธีที่เป็น Traditional แปลว่า ทั้งสองคนต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งของการทำงานของตนเพื่อมาคุยกัน แบบนี้ไม่สเกล 

“สิ่งที่เราต้องการ คือ ทำอย่างไรสิ่งที่ Discussion หรือ Knowledge ต่าง ๆ มันถูกเก็บไว้ใน Portal ที่ครั้งแรกอาจจะคุยกันสองคน แต่พอสร้าง Knowledge ขึ้นมาแล้ว ต่อไปคนที่ 3 คนที่ 4 คนที่ 5 อยากจะรู้ Knowledge ตัวนี้ สามารถเข้าสืบค้นได้เลยโดยที่ไม่ต้องทำให้คนทั้งหมดก่อนหน้านี้ที่คุยกันไปต้องมานั่งคุยกันใหม่ ซึ่งการแชร์ข้อมูลเป็น Direction ของ KBTG อยู่แล้ว  ซึ่งต้องการทำให้มันสเกลได้ดีขึ้น แล้วก็มีแบบแผนมากขึ้น”

“มองว่าน่าจะประมาณสักปี 2025 ที่จะได้เห็นอะไรใกล้เคียงกับสิ่งที่บอกว่า KBTG จะเป็น Hub ของ Tech Company ในระดับ Regional ได้ ตอนนี้เรามีประมาณ 40-50 คน เรายังต้องการคนร่วมทีมอีกมากเพื่อพาไอทีไประดับโลก” ดร.ทัดพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย 

สำหรับผู้ที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแผนกสามารถส่ง CV สมัครได้ที่ [email protected] 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ