TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistยิ่งแก่ยิ่งจน (เป็นหนี้ NPL!!)

ยิ่งแก่ยิ่งจน (เป็นหนี้ NPL!!)

บทเรียนจากคนรุ่นก่อน ที่คนรุ่นใหม่ไม่ควรกระทำ !!

อุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการวางแผนการเงิน ก็คือปัญหา”หนี้” บางคนเป็นหนี้กันท่วมหัวท่วมหู ตามทฤษฏีบอกว่าคนเราควรจะมีหนี้ได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ และเหลืออย่างน้อยสัก 20% เพื่อการออม ซึ่งเท่ากับคนเราควรใช้เพียง 50% ของราได้ที่หาได้ 

ซึ่งถ้าทำได้ ตามสูตรนี้ บ้านเราคงไม่มีปัญหาหนี้ครัวเรือนรุนแรงขนาดนี้ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เครดิตบูโรได้รายงานจำนวนคนเป็นหนี้จากสถานการณ์โควิดที่ใช้รหัสสถานทางบัญชี  21ว่ามีจำนวนสูงขึ้นอย่างมากมาย สำทับด้วยรายงานจากสภาพัฒน์ว่า ในบรรดาหนี้ NPL (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือหนี้ที่ค้างชำระเงิน 90 วัน) เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุ

สำนวน “น่าเสียดายตายแล้วยังใช้เงินไม่หมด น่าสลดเงินหมดแล้วยังไม่ตาย(แถมมีหนี้อีกต่างหาก)” กลายเป็นวลีทองอีกครั้ง เมื่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP(ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อยู่ระดับ 88.2% (ต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ที่อยู่ในระดับ 90.8%) แต่เมื่อจำแนกอายุกลับพบว่า ยิ่งแก่ยิ่งมีหนี้ NPL เพิ่มสูงขึ้น

กลุ่มลูกหนี้ที่มีหนี้เพิ่มมากขึ้นคือกลุ่มลูกหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 41ปีขึ้นไปจนถึงกลุ่มลูกหนี้อายุ 60 ปีขึ้นไปหรืออยู่ในวัยเกษียณแล้วแต่ยังมีหนี้สินที่ต้องจ่าย และไม่สามารถชำระหนี้ได้จนถูกจัดเป็น กลุ่ม NPL เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ โดยมีตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้

  1. ลูกหนี้กลุ่มอายุ 41 – 50 ปี มีหนี้เสียรวม 3.37 แสนล้านบาท ขยายตัว 15.1%
  2. ลูกหนี้กลุ่มอายุ 51 – 59 ปี มีหนี้เสียรวม 2.35 แสนล้านบาท ขยายตัว 32.9%   
  3. ลูกหนี้กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีหนี้เสียรวม 1.54 แสนล้านบาท ขยายตัว 67.6%

การเพิ่มขึ้นของหนี้ NPL ในกลุ่มผู้ที่มีอายุเพิ่มขึ้นสะท้อนถึงปัญหาทางด้านการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้สูงอายุที่มีรายได้ลดลงในช่วงสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

รวมทั้งอาจมีภาระมากขึ้นในการช่วยเหลือบุตรหลานทางด้านการเงินในช่วงวิกฤติที่ผ่านมาทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลงส่งผลให้ตัวเลข NPL ในกลุ่มเหล่านี้เพิ่มขึ้น นั่นคือเหตุผลที่สภาพัฒน์อธิบายว่าทำไมคนยิ่งแก่ ยิ่งเป็นหนี้ NPL

การที่คนอายุเกิน 60 แล้วเป็นหนี้ NPL เพิ่มขึ้น ประเด็นสำคัญคือ เมื่อเข้าวัยเกษียณ รายได้ประจำก็หมดไป เหลือแต่เงินชดเชยบ้าง เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากรับราชการก็อาจจะมีบำเหน็จบำนาญ ถ้าหากไม่เป็นหนี้มากเกินไป ก็พอจะเอาตัวรอดได้ ขึ้นอยู่กับเงินทุนสำรองเหล่านั้นว่ามีมากน้อยแค่ไหน

ในช่วงวัยทำงานหากไม่สร้างหนี้มากเกินไป สร้างเงินออม ทั้งเงินสำรองฉุกเฉิน และมีเงินลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม ยามเกษียณก็จะไม่ลำบากมากนัก สามารถจะเริ่มต้นใหม่ กับชีวิตหลังเกษียณได้

นี่กลายเป็นต้องหาวิธีการแก้ปัญหาหนี้ NPL ซึ่งก็คงลงเอยด้วยการขายทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อใช้หนี้ แล้วจะมีชีวิตที่มีความสุขกายสบายใจในเวลาหลังเกษียณเพื่อการเริ่มต้นใหม่ได้อย่างไร

จึงเป็นบทสรุปให้เป็นบทเรียนจากคนรุ่นก่อนที่คนรุ่นใหม่ไม่ควรกระทำ!!

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจของผู้เขียน

เตรียมตัวให้พร้อมใน Comfort Zone ก่อนจะไปเผชิญหน้า Dangerous Zone!!

“หนี้ชั่วชีวิต!” ของคนไทยในปีใหม่

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ