TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistBitkub OnlineCBDC คืออะไร รู้จักอนาคตของเงินบาท บนเทคโนโลยีบล็อกเชน

CBDC คืออะไร รู้จักอนาคตของเงินบาท บนเทคโนโลยีบล็อกเชน

เมื่อไม่นานมานี้ แนวคิดเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ได้รับความสนใจอย่างมากในโลกของการเงิน แล้ว CBDC คืออะไร ทำไมถึงสร้างขึ้นบนบล็อกเชน เรามารู้จักกับ CBDC พร้อมกับประโยชน์ของมันในบทความนี้กันได้เลย

CBDC คืออะไร?

CBDC ย่อมาจาก Central Bank Digital Currency ซึ่งก็คือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเหมือนกับเงินสด โดยมีเทคโนโลยีพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังอย่างบล็อกเชน (Blockchain)

ปัจจุบัน ในบางประเทศอย่างเช่นจีนได้เริ่มทดลองใช้ CBDC แล้ว โดย CBDC ของจีนก็คือเงินหยวนดิจิทัล (Digital Yuan) นั่นเอง และประเทศอื่น ๆ ก็กำลังเดินหน้าวิจัยและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองกันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเทศไทยเองที่กำลังพัฒนาเงินบาทดิจิทัล (Digital Baht) ภายใต้ชื่อโครงการอินทนนท์

ไทยพาณิชย์ จับมือ ธปท. ทดสอบการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล

ทำไม CBDC ถูกสร้างบนเทคโนโลยีบล็อกเชน

ข้อดีหลักของการใช้บล็อกเชนกับ CBDC คือให้ความปลอดภัยและความโปร่งใส เนื่องจากบล็อกเชนเป็นสมุดบัญชีแบบกระจายอำนาจ จึงไม่ถูกควบคุมโดยหน่วยงานเดียว หมายความว่าบล็อกเชนจะทนทานต่อการปลอมแปลงและการฉ้อโกง บล็อกเชนจึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสำหรับการจัดเก็บและจัดการข้อมูลทางการเงิน

การใช้บล็อกเชนสำหรับ CBDC ยังมีข้อดีอีก คือการทำธุรกรรมที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยธุรกรรมบล็อกเชนได้รับการประมวลผลแบบเรียลไทม์ หมายความว่าสามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ภายในเวลาไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาที เมื่อเทียบกับระบบธนาคารแบบดั้งเดิมที่อาจใช้เวลาหลายวันจึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยเฉพาะกับการโอนเงินข้ามประเทศ

นอกจากนี้ CBDC ยังสามารถถูกใช้เพื่อพัฒนาการเข้าถึงการเงินของกลุ่มคนด้อยโอกาสในประเทศที่ ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือมีสาขาธนาคารน้อย ซึ่งหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานได้ CBDC สามารถช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้าถึงการชำระเงินแบบดิจิทัลและบริการทางการเงินอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทั้งการเงินและคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้นั่นเอง

CBDC กับความท้าทายในการนำมาใช้จริง

CBDC ยังมีความท้าทายบางอย่างสำหรับการนำมาใช้จริง หนึ่งในนั้นคือการทำให้มั่นใจว่า CBDC ปลอดภัยการโจมตีทางไซเบอร์ เนื่องจาก CBDC เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล จึงมีความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์และการแฮ็ก จึงมีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งเพื่อป้องกันการเข้าถึงระบบ CBDC โดยไม่ได้รับอนุญาต

ความท้าทายอีกอย่างหนึ่งคือการทำให้มั่นใจว่า CBDC ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากสาธารณชน เนื่องจาก CBDC เป็นแนวคิดใหม่ และอาจต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อให้ผู้คนคุ้นเคยกับการใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน รัฐบาลและธนาคารกลางจะต้องให้ความรู้แก่สาธารณชนและสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนหันมาใช้ CBDC กันมากขึ้น

ธนาคารกลางแห่งราชอาณาจักรภูฏาน นำร่องสร้างสกุลเงินดิจิทัล (CBDC)

ความคืบหน้าของ CBDC ในประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้สำรวจแนวคิดของ CBDC มาตั้งแต่ปี 2018 และได้เปิดตัวโครงการอินทนนท์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาตัวต้นแบบของ CBDC ในภาคขายส่งโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ

ล่าสุด เมื่อปี 2022 ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยได้ประกาศว่าจะเริ่มทดลองใช้ CBDC ในระดับพื้นฐาน เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยกับกลุ่มตัวอย่าง 10,000 คน และธนาคารยักษ์ใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด โดยจะเริ่มช่วงปลายปี 2022 ไปจนถึงกลางปี 2023

สำหรับข้อมูลและข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CBDC ของประเทศไทย สามารถติดตามเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

สรุป

CBDC คือสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ ถูกออกแบบเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและพัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชน CBDC มีศักยภาพในการทำธุรกรรมที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการเงินดิจิทัลได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายในการนำ CBDC มาใช้งานจริง ซึ่งรัฐบาลต้องร่วมมือกับธนาคารกลางและภาคเอกชนเพื่อให้ความรู้และสร้างแรงจูงใจรู้แก่ประชาชนให้หันมาใช้ CBDC

อ้างอิง Bitkub Blog, ธนาคารแห่งประเทศไทย

ย้อนดูประวัติ Ethereum ก่อน Shanghai Hard Fork

เทคโนโลยี Blockchain จะช่วยให้โลกบรรลุ Green Economy ได้อย่างไร

รู้จัก Stablecoin ทั้ง 4 ประเภท ทำไมนักลงทุนถึงชื่นชอบเหรียญเหล่านี้

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ