TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyการศึกษาเผย ‘อุณหภูมิ-ความชื้น-พื้นผิว’ ที่ต่างกัน ส่งผลต่อ ‘การอยู่รอดของไวรัสโคโรนา’

การศึกษาเผย ‘อุณหภูมิ-ความชื้น-พื้นผิว’ ที่ต่างกัน ส่งผลต่อ ‘การอยู่รอดของไวรัสโคโรนา’

การศึกษาฉบับใหม่ว่าด้วยการอยู่รอดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งก่อโรคโควิด-19 บนพื้นผิวที่แตกต่างกัน โดยทำการศึกษาในเมืองใหญ่หลายแห่งของโลก เผยว่าอุณหภูมิ ความชื้น และลักษณะพื้นผิว ส่งผลต่อเวลาที่ฝอยละอองจากระบบทางเดินหายใจที่มีไวรัสระเหยแห้ง

ในการศึกษาครั้งนี้ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในวารสารฟิสิกส์ ออฟ ฟลูอิดส์ (Physics of Fluids) เมื่อวันอังคาร (9 มิ.ย.) คณะนักวิจัยได้ศึกษาช่วงเวลาระเหยของฝอยละอองจากระบบทางเดินหายใจจากกลุ่มศึกษาที่เป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19 บนพื้นผิวลักษณะที่ต่างกันไป และเป็นพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดหรือมือจับประตู และหน้าจอสัมผัสของสมาร์ทโฟน ครอบคลุมพื้นที่ 6 เมืองทั่วโลก ได้แก่ นิวยอร์ก ชิคาโก ลอสแอนเจลิส ไมอามี ซิดนีย์ และสิงคโปร์

ฝอยละอองเหล่านี้ถูกขับออกจากปากหรือจมูกของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ขณะไอ จาม หรือแม้แต่ขณะพูด ขนาดของฝอยละอองเหล่านี้มีขนาดใกล้เคียงกับความกว้างของเส้นผมของมนุษย์

การคำนวณเวลาที่ฝอยละอองต้องใช้ในการระเหยแห้งนั้น อาศัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นตามสาขาวิทยาศาสตร์พื้นผิวร่วม (interface science) ก่อนเผยผลลัพธ์ว่าอุณหภูมิแวดล้อม ชนิดของพื้นผิว และความชื้นสัมพัทธ์ มีบทบาทสำคัญต่อการระเหยแห้งของฝอยละออง

การศึกษาระบุว่าอุณหภูมิแวดล้อมที่สูงขึ้นช่วยทำให้ฝอยละอองแห้งเร็วขึ้นและลดโอกาสในการอยู่รอดของไวรัสได้อย่างมาก ส่วนสถานที่ที่มีความชื้นมากกว่า ฝอยละอองจะอยู่บนพื้นผิวได้นานขึ้น ทำให้ไวรัสมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นด้วย

นักวิจัยได้จับเวลาที่ละอองฝอยต้องใช้กว่าจะแห้งในสภาพอากาศกลางแจ้งที่แตกต่างกัน ก่อนศึกษาว่าข้อมูลนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราการขยายตัวของการระบาดของโรคโควิด-19 หรือไม่

“ความเข้าใจถึงการอยู่รอดของไวรัสในฝอยละอองที่อยู่ในกระบวนการระเหยแห้งนั้น อาจเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจโรคอื่นๆ ที่แพร่กระจายผ่านฝอยละอองจากทางเดินหายใจ อาทิ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (influenza A)” อามิต อากราวัล (Amit Agrawal) หนึ่งในผู้เขียนวิจัย ระบุ

นอกจากนี้การศึกษาชี้ว่าเราควรทำความสะอาดพื้นผิวอย่างหน้าจอสมาร์ตโฟน ผ้าฝ้าย และไม้ บ่อยครั้งกว่าพื้นผิวกระจกและเหล็ก เนื่องจากพื้นผิวกระจกและเหล็กมีคุณสมบัติที่ค่อนข้างชอบน้ำ (hydrophilic) ทำให้ฝอยละอองระเหยได้เร็วกว่า

ที่มา xinhuathai

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-Bluebik ชี้องค์กรควรเตรียมบุคลากร-ปรับกลยุทธ์ ระหว่าง PDPA เลื่อนไป 1 ปี
-ITAP สวทช. ช่วยผู้ประกอบการ นำ IoT อัดเสียงในตุ๊กตา คลายเหงาผู้สูงอายุ
-KBTG พัฒนา 6 เทคโนโลยีไร้สัมผัส
-ททท. จับมือ LINE จัดอีเวนต์ออนไลน์ช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยว
-ทีวีดิจิทัลปรับ รับศึกหลังโควิด

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ