TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyAIS Business ผนึก รพ.วิมุต ส่งมอบ “บริการการแพทย์และสาธารณสุข”​ คุณภาพมาตรฐาน ยกระดับสู่การเป็น Smart Hospital

AIS Business ผนึก รพ.วิมุต ส่งมอบ “บริการการแพทย์และสาธารณสุข”​ คุณภาพมาตรฐาน ยกระดับสู่การเป็น Smart Hospital

การเป็น Smart Hospital นั้นไม่ยาก แต่ที่ท้าทายกว่า คือ การเป็น smart hospital ที่ประชาชนจำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการที่ชาญฉลาดของโรงพยาบาลได้ สิ่งนี้เป็นโจทย์ของโรงพยาบาลวิมุต โรงพยาบาลเอกชนน้องใหม่ที่เปิดมาเพียง 1 ปี แต่มีพันธกิจในการสร้างบริการทางการแพทย์เพื่อให้ประชาชนส่วนมากเข้าถึงได้อย่างสะดวก นำมาซึ่งความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลวิมุตและ AIS Business ในการสร้างให้โรงพยาบาลวิมุตเป็น Smart Hospital อย่างเต็มตัว 

นายแพทย์สันติ เอื้อนรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมมุต กล่าวว่า โรงพยาบาลวิมุตเข้าตลาดมาทีหลัง ดังนั้นความเร็วในการเข้าถึงลูกค้า คือ ปัจจัยความสำเร็จ และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ โรงพยาบาลจึงทุ่มเม็ดเงินลงทุนในช่วงแรก 100 ล้านบาทสำหรับสร้างโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีรองรับการสื่อสารและการทำงานของโรงพยาบาลให้ตอบโจทย์และขานรับสู่การเป็น Smart Hospital โดยร่วมมือเป็นพันธมิตรกับ AIS Business ที่เข้ามาดูแลงานด้านเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งหมดแบบครบวงจรตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ 

“โรงพยาบาลในอนาคตจะต้องเป็น Smart Hospital โดยภาคบังคับ ซึ่งเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลซึ่งต้องได้พันธมิตรที่ดี” นายแพทย์สันติ กล่าว

ด้วยแนวคิดที่จะไม่ได้ทำเพียงแค่โรงพยาบาล แต่จะทำเป็นแพลตฟอร์มด้านสาธารณสุข (Healthcare Platform) ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน คือ การสื่อสารภายในโรงพยาบาล และการสื่อสารภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลวิมุตได้ AIS Business นำโซลูชันเข้ามาช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้ทั้งหมด ภายใต้แนวคิด 3 เรื่อง

เรื่องแรก คือ ลดงานประจำของโรงพยาบาลปละปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดการใช้กระดาษ ข้อมูลทุกอย่างจัดเก็บอยู่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ บุคลากรมีเวลากับคนไข้มากขึ้น 

เรื่องต่อมา คือ เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับคนไข้ จากเดิมที่เวลามาติดต่อโรงพยาบาลต้องรอคิวนาน ต้องพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ ต้องรอกรอกเอกสาร เปลี่ยนมาเป็นทำอยู่อย่างบนมือถือผ่านแอปพลิเคชัน ViMUT รวมถึงประวัติการรักษา ประวัติการจ่ายยา รวมถึงการเตือนให้ทานยา 

เรื่องสุดท้าย คือ เพิ่มความปลอดภัยให้คนไข้ ซึ่งโรงพยาบาลเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการความปลอดภัยสูงมาก อาทิ การระบุตัวคนไข้ให้ถูกต้อง เป็นต้น 

“ก่อนทำโรงพยาบาล พฤกษา เรียลเอสเตท คุณทองมา วิจิตรพงษ์พันธ์ มีปณิธาน อยากให้ทุกคนมีบ้านได้ พอมาทำโรงพยาบาลก็อยากให้การรักษาสุขภาพได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ เข้าถึงง่าย และราคาต้องเข้าถึงได้” นายแพทย์สันติ กล่าว

นายแพทย์สันติ กล่าวว่า โรงพยาบาลโฟกัสที่ 4A คือ 

  • Available โรงพยาบาลวิมุตจะต้องพร้อมให้การดูแลคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน ทั้งด่วนและไม่ด่วน
  • Accessible ต้องให้คนไข้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ง่าย โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล (ในกรณีที่ไม่ต้องมาตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาล) 
  • Assure ต้องมีคุณภาพการบริการสาธารณสุขที่ดี 
  • Affordable คนไข้ต้องจ่ายได้ เป็นราคาที่มีความเหมาะสม (Appropriateness)

และย้ำว่าโรงพยาบาลต้องเข้าถึงง่าย ด้วยการนำเทคโนโลยี พา health to home ของคนไข้ ผ่าน “แอปวิมุต” (ViMUT app) ดูประวัติการรักษษเก่า ประวัติการจ่ายยา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มีระบบนัดหมาย ระบบจ่ายเงิน และติดต่อกับโรงพยาบาลได้ตลอดเวลา ผ่านระบบ MMPC ซึ่งเอไอเอสดำเนินการให้ (แจ้งเตือนกินยา ในอนาคตมีเชื่อมกับบริษัทประกันเรื่องการเคลมค่ารักษา

เทคโนโลยีช่วย Samrt Hospital เติบโตยั่งยืน

ทั้งนี้ การเป็นโรงพยาบาลเอกชนจะต้องดำเนินธุรกิจให้อยู่ได้และเติบโตได้ โรงพยาบาลเอกชนต้องรักษาดี เป็นที่รู้จักและเป็นที่รักของผู้คน และต้องมีกำไรเพื่อจะเติบโตได้ ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ทั้งต้นทุนและความพึงพอใจของลูกค้า และผลกำไรจะตามมา จะทำให้โรงพยาบาลวิมุตสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

เทคโนโลยีการสื่อสารทั้งหมดของโรงพยาบาล ทั้งระบบการสื่อสารภายในโรงพยาบาล และการสื่อสารภายนอกโรงพยาบาล AIS Business ดูแลทั้งหมด ตั้งแต่การวางโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารภายในโรงพยาบาลเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรของโรงพยาบาลทั้งการรักษาและการสนับสนุนการรักษา อาทิ การจัดทำเอกสารในรูปดิจิทัล การเชื่อมโยงข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล ทั้งการให้ยา การระบุตัวตนคนไข้ ทำให้กระบวนการทำงานลีนมากและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น 

รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับระบบสื่อสารภายนอกโรงพยาบาล อาทิ การสื่อสารผ่านแอปพลิเคชัน (ตั้งแต่การลงทะเบียนคนไข้ การทำนัดหมาย รวมถึงการจ่ายเงิน ไปจนถึงประวิตการรักษา และการทำเทเลเมดดิซีน) ผ่านช่องทางออนไลน์ และโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ​ภายใต้การสื่อสารแบบ Omnichannel เพื่อสร้างประสบการณ์ใช้บริการของโรงพบาลแบบไร้รอยต่อ 

นอกจากนี้ เอไอเอสยังเป็นพันธมิตรกับโรงงพยาบาลในเรื่องฐานข้อมูลเพื่อการทำ Omnichannel คนไข้จะเข้ามา รพ.ช่องทางไหน รพ.รู้และต่อเนื่องต่อเชื่อมได้ (เหมือนที่เอไอเอสทำกับบริการ call center ของเอไอเอส)

สำหรับการทำ telemedicine การปรึกษาแพทย์ (พบแพทย์) ออนไลน์ จะนัดหมายล่วงหน้าหรือจะใช้บริการทันทีได้ คนไข้เข้าระบบผ่านแอปฯ ข้อมูลที่แพทย์คุยกับคนไข้จะถูกบันทึกลงในระบบ HIS ของรพ. หากเป็นคนไข้แรก อาจจะนัดหมายเข้าไปทำการตรวจวินิจฉัยที่รพ. หากเป็นการนัดพบหมอล่วงหน้า และมีการจ่ายยาจะส่งยาไปที่บ้าน และจ่ายเงินผ่านแอปได้

“เริ่มให้บริการมา 1 ปี ระบบปรึษาออนไลน์ คนไข้ชอบมาก เมื่อใช้ในการติดตามผลการรักษา (เป็นสัดส่วนการใช้งานที่ค่อนข้างมาก) อาทิ การตรวจดูแผลผ่าตัดออนไลน์ เอไอเอส ร่วมพัฒนากับโรงพยาบาล ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ก้าวแรกที่ผู้ป่วยเข้ามาในรพ. จนถึงการจ่ายเงิน แม้กระทั่งการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผ่านแอป VSA” นายแพทย์สันติ กล่าว  

โรงพยาบาลวิมุตมีการลงทุนเทคโนโลยีประมาณ 100 ล้านบาท การวางรากฐานที่ดี คือ รากแก้วขององค์กรเกิดใหม่ การวางรากแก้วที่ถูกต้อง การทำโรงพยาบาลไม่ใช่สิ่งเดียวของโรงพยาบาลวิมุต ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลแต่เป็นแพลตฟอร์มอะไรบางอย่างที่มากกว่าโรงพยาบาล แต่ 6 ปีแรกจะเน้นธุรกิจโรงพยาบาลก่อน

ตามแผนงาน โรงพยาบาลจะเปิดให้บริการในช่วงแรก 100 เตียง (จากจำนวนเตียงทั้งหมด 236 เตียง) แต่ทว่าช่วงโควิดที่ผ่านมาจำนวนคนไข้ในที่นับรวมคนไข้ที่พักที่ Hospitel และ Home Isolation ที่โรงพยาบาลดูแลรวมเกือบ 1,000 เตียง ซึ่งอาศัยกำลังบุคลากรของโรงพยาบาลไม่ได้ ต้องได้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย รวมถึงการทำ telemedicine ที่ต้องดูแลคนไข้และเก็บข้อมูลประวัติการรักษาผ่านระบบทั้งหมด 

“การรักษาเสมือนเป็นหนึ่งในครอบครัว เข้าถึงง่าย สร้างประสบการณ์ยิ่งใหญ่ คือ การผนวกรวมประสบการณ์แบบ physical และ digital เข้าด้วยกัน และนำระบบเข้าถึงชุมชน” นายแพทย์สันติ กล่าว

อุตสาหกรรม Healthcare โอกาสที่ไม่สิ้นสุด

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS (ซ้าย) และนายแพทย์สันติ เอื้อนรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมมุต (ขวา)

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของเอไอเอส คือ การเป็นพันธมิตรให้กับองค์กรในประเทศไทยในทุกอุตสาหกรรมในการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น เอไอเอสมองตัวเองเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีแบบ end-to-end 

Healthcare เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย โจทย์ของเอไอเอส คือ จะทำอย่างไรให้ โรงพยาบาลวิมุต แตกต่าง และเติบโต แม้จะเป็นโรงพยาบาลน้องใหม่ 

เริ่มจากการเข้าใจปัญหาว่ารพ.วิมุตต้องการอะไร ซึ่งแบ่งออกมาได้เป็น สามส่วน คือ การให้บริหารด้านเทคโนโลยี โดยไปโฟกัสที่การรักษาพยาบาล ซึ่งเอไอเอสให้บริการ Managed Services IT ด้วยโจทย์ที่รพ.วิมุตต้องการให้บริการทางการแพทย์เช้าถึงชุมชน เอไอเอสให้บริการแอปพลิเคชันให้รพ.วิมุตเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนไข้ของรพ.สามารถใช้บริการได้อย่างสะดวก และการให้บริการจองวัคซีนโควิด-19 ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มที่เอไอเอสพัฒนาให้ 

การทำงานร่วมกับโรงพยาบาลวิมุตสู่การเป็น Smart Hospital AIS Business ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลจาก AIS 5G ทั้งบริการโซลูชันแบบครบวงจร งานบริหารจัดการระบบ ICT การจัดการข้อมูลและศูนย์ Data Center การสื่อสารเชื่อมต่อการทำงานด้วย Cloud Contact Center รวมถึงบริการดิจิทัลที่มาช่วยอำนวยความสะดวก และเสริมประสบการณ์ในการใช้บริการรักษาพยาบาลของคนไข้ อาทิ แอปพลิเคชัน บริการ telemedicine

ระบบที่ AIS Business และพันธมิตรร่วมกันพัฒนา ติดตั้ง และดูแลให้โรงพยาบาลวิมุต คือ 

  • Turnkey IT Solutions ที่ AIS ใช้ศักยภาพด้านโครงข่ายและผสานความสามารถร่วมกับพาร์ตเนอร์ที่หลากหลายเข้าไปให้บริการได้แบบครบวงจร ทั้งการวางระบบงานด้าน ICT การจัดการฐานข้อมูลหรือ Data Center ระบบสื่อสารและอุปกรณ์ไอที telemedicine
  • Managed IT Services เป็นการให้บริการอย่างครบวงจรด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปสนับสนุน พร้อมให้คำแนะนำช่วยเหลือ และดูแลระบบการใช้งานตลอดเวลา 
  • Digital Service คือ การออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับโรงพยาบาลวิมุต รวมถึงระบบเพื่อให้บริการวัคซีน และบริการที่ช่วยยกระดับการทำงานทางการแพทย์ อย่างระบบ Telemedicine เพื่อให้คนไข้หรือผู้รับบริการได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ในการรักษา
  • Cloud Contact Center เป็นระบบการสื่อสารภายในที่ช่วยเชื่อมต่อการทำงานของส่วนต่าง ๆ ทั้งในแง่ของการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการบริหารจัดการ

“ในอุตสาหกรรม Healthcare ยังมี unknown – unknown opportunity อีกเยอะมาก เอไอเอสเปลี่ยนจากการขายเป็นระบบเป็นการนำเทคโนโลยีมาสร้างการใช้งาน เพื่อนำศักยภาพของ AIS Business และพันธมิตรมาช่วยทรานส์ฟอร์มให้โรงพยาบาลเป็น Smart Hospital ยกระดับศักยภาพในการรักษาของโรงพยาบาล” ธนพงษ์ กล่าว

การทำงานระหว่างรพ.วิมุตและเอไอเอส ใช้เวลาสั้นมาก รพ.วิมุตเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 กระบวนการให้บริการต่าง ๆ เร็วมาก เป็นไปตามแผน AIS Business ให้บริการครบวงจรทั้งหมดของรพ.วิมุต 

“เราต้องการขับเคลื่อน digital economy ในประเทศไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งเอไอเอสมีการลงทุนทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและบุคลากร เอไอเอสเราไม่ได้เก่งคนเดียว เรามีพันธมิตรเข้าให้บริการร่วมกัน”​ ธนพงษ์ กล่าว

นายแพทย์สันติ กล่าวย้ำว่า เข้าถึงง่ายไม่แพง โรงพยาบาลรักษาผู้คน ไม่ได้รักษาโรค การวินิจฉัยครั้งแรกได้ถูกต้อง เน้นเรื่องการ proacive care  แบรนด์ DNA ระหว่างวิมุตกับพฤกษา คือ ราคาที่เข้าถึงได้ การให้บริการทางการแพทย์เป็นการช่วยคนให้หลุดจากความทุกข์ ความเจ็บป่วย ที่เรียกว่า “วิมุต” เป็นที่มาของชื่อโรงพยาบาล หากปราศจากเทคโนโลยีและพันธมิตรอย่าง AIS Business คงไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และปณิธานที่วางไว้ได้ ….. 

ความร่วมมือระหว่าง AIS Business และโรงพยาบาลวิมุต เป็นมากกว่าลูกค้าและผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี แต่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ร่วมกันทำงานและใช้จุดแข็งของกันและกันในการส่งมอบคุณค่าการรักษาพยาบาลที่ดีมีคุณภาพในราคาที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เข้าถึงได้ตลอดเวลา เข้าถึงอย่างปลอดภัยและได้รับประสบการณ์ใช้บริการที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีเทคโนโลยีที่เป็นตัวช่วยสำคัญ 

บทความอื่น ๆ เกี่ยวกับเอไอเอสที่น่าสนใจ

AIS Business กางแผน 2022 เชื่อม 5G ต่อยอด Digital Business Ecosystem ติดสปีดเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทย

AIS 5G ขยายโครงข่ายสู่พื้นที่ห่างไกล ยกระดับการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ผ่านความสำเร็จของ Mobile Stroke Unit

จากความเชื่อและการลงมือทำ การันตีผลงานเชิงประจักษ์ด้วยรางวัล “สุดยอดองค์กรด้านนวัตกรรม” ของ AIS

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ