TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessจากความเชื่อและการลงมือทำ การันตีผลงานเชิงประจักษ์ด้วยรางวัล “สุดยอดองค์กรด้านนวัตกรรม” ของ AIS

จากความเชื่อและการลงมือทำ การันตีผลงานเชิงประจักษ์ด้วยรางวัล “สุดยอดองค์กรด้านนวัตกรรม” ของ AIS

เมื่อเอไอเอสเชื่อใน “วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้” และลงมือสร้างจนไม่เพียงกลายมาเป็นอัตลักษณ์ขององค์กร  แต่ยังคิดและทำเผื่อผู้อื่นผ่านโครงการ “ภารกิจคิดเผื่อเพื่อคนไทย Jump Thailand” จากไม้ขีดไฟก้านแรก “AIS Academy” ที่เริ่มดิสรัปนวัตกรรมจากภายในสู่ภายนอก จนต่อยอดขยายความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนจนปัจจุบันมีสมาชิกในชุมชนกว่า 15,000 คน 

จึงไม่เหนือความคาดหมายที่ปีนี้เอไอไอสจะสามารถคว้ารางวัลสุดยอดองค์กรด้านนวัตกรรมชั้นนำระดับโลกถึง 2 รางวัลจาก MIKE Award 2021 สองปีซ้อน 

สิ่งที่เอไอเอสทำในฐานะองค์กรธุรกิจที่ปักธงเป็น Digital Life Service Provider มาโดยตลอด คือ การพัฒนาบุคลากรและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน เพื่อจุดมุ่งสู่หมุดหมายถัดไปคือการเป็น Cognitive Telco  หรือองค์กรอัจฉริยะที่ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลางการพัฒนาหลัก สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมลูกค้า และตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างหลากหลายได้ดีที่สุด รวดเร็วที่สุด อย่างทันต่อความต้องการในทุกเวลา (real time) ทั้งนี้เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทย จากโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่มั่นคงของประเทศ 

เพราะเอไอเอสเชื่อใน “นวัตกรรม” และเชื่อในบทบาทของ “คน” ที่จะสร้างและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มในทุกมิติไม่เฉพาะแต่มิติธุรกิจแต่หมายรวมถึงมิติแห่งการใช้ชีวิต เป้าหมายในเรื่องคนของเอไอเอส คือ การทำให้พนักงานรวมถึงบุคลากรกว่า 12,000 คน มีความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบ พร้อมทำงานเพื่อยกระดับองค์กรสู่การเป็น Cognitive Telco (ซึ่งภาพของการเป็น Cognitive Telco จะมีรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้นในช่วงต้นปี 2565)

เอไอเอสจึงเดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในทุกปีที่จะพัฒนาเครื่องมือและการเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้พนักงานสามารถเข้าถึงทักษะที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจนนำมาสู่การพัฒนาตัวเองให้มีขีดความสามารถ เพื่อให้ทุกคนขององค์กรเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อคนไทย

กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท AIS และกลุ่มอินทัช กล่าวว่า บุคลากรว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างการขับเคลื่อนเป้าหมายขององค์กรได้ ทำให้ AIS สร้างเครื่องมือสำหรับพนักงานทุกระดับในการเรียนรู้เพื่อให้เข้าถึงทักษะองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทั้งจากในและต่างประเทศบนดิจิทัลแพลตฟอร์มอย่าง LearnDi ของ AIS Academy จะช่วยให้พนักงานมีโอกาสในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะสร้างประโยชน์ต่อตัวเองในการทำงาน และนำมาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพต่อองค์กร และสังคมต่อไป

องค์กรจะเกิดการเรียนรู้ได้ ต้องให้พนักงานมีความเสี่ยงได้ เอไอเอสมีโครงการ “รู้จากล้ม” คือ เรียนรู้จากเคยล้ม การหกล้มไม่เป็นไร โดยเฉพาะองค์กรที่ประสบความสำเร็จมักจะเลี่ยงที่จะรับความเสี่ยงทำให้เกิดข้อจำกัดในเรื่องของนวัตกรรม การเรียนรู้ใหม่ ๆ วันนี้เอไอเอสได้คนเหล่านี้มาเป็น change agent สำคัญที่ทำให้องค์กรพัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ 

“การทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ องค์กรต้องถอยกลับมาวางวัฒนธรรมเดิม ปรับวัฒนธรรมเดิมที่พอไปข้างหน้าได้ผสานกับวัฒนธรรมใหม่ที่จะทำให้องค์กรมี DNA ที่จะก้าวไปข้างหน้าและเกิดการเรียนรู้ด้วยกัน เอไอเอสมีความเชื่อว่าเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้องเปลี่ยน DNA ให้เข้ากับบุคลากร ประชากรที่มีกับการแข่งขันในสนามจริง วัฒนธรรมต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการก้าวไปข้างหน้าทำให้องค์กรมีศัยภาพในการเรียนรู้มากขึ้น”

การเรียนรู้ขององค์กรเฉพาะข้างในไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้น AIS Academy for Thai เป็นภารกิจหนึ่งของเอไอเอส องค์กรจะเดินไปข้างหน้า จะเรียนรู้แต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ ต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 

เอไอเอสได้วางระบบห้องสมุดดิจิทัลตามโรงเรียนชายขอบและถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้โอกาสของคนไทยและเด็กไทยเข้าถึงองค์ความรู้ที่มีการปรับเหมาะสม ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ อาทิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถานฑูตแคนาดา เพื่อช่วยให้คนสามารถเข้าเรียนหนังสือช่วงไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ กับเครื่องไม้เครื่องมือชิ้นไหนก็ได้ และไม่จำกัดเพียงในประเทศใดประเทศหนึ่ง ทำให้เกิดการเรียนไม่มีที่สิ้นสุด ผู้เรียน คือ เยาวชน ไปจนถึงผู้ที่ทำงานแล้ว หรือคนที่เกษียณแล้ว 

โดยมีแพลตฟอร์ม Learn Di เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้วางแผน life long learning ของตัวเอง ผู้เรียนเรียนจบหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งจะได้รับ micro credential ไปเรื่อย ๆ เพื่อล่นเวลาในการเรียนต่อได้ ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2565 

ผลงานเชิงประจักษ์ทั้งหมดนี้ของเอไอเอสได้รับการยอมรับผ่านรางวัล MIKE Award 2021 ที่เอไอเอสได้รับจากหน่วยงานชั้นนำระดับโลกอย่าง International Global MIKE Study Group หรือ GMSG ซึ่งได้มีการจัดอันดับองค์กรชั้นนำทั่วโลก ในด้านการจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม 

และเอไอเอสเป็นองค์กรด้านเทเลคอมของไทยหนึ่งเดียวที่ได้รับถึง 2 รางวัลคือ Winners of the Global MIKE Award 2021 สองปีซ้อน และรางวัล MIKE Thailand Gold Award 2021 เป็นเครื่องการันตีถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเอไอเอสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งมอบนวัตกรรมดิจิทัลให้กับคนไทยได้สัมผัส ที่เกิดจากการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจนพร้อมการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ สามารถปรับตัวในการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ทุกรูปแบบ

“เป็นอีกครั้งที่เรารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างมากที่สามารถคว้ารางวัล MIKE Award 2021 มาได้ถึง 2 รางวัลในปีนี้ คือ Winners of the Global MIKE Award 2021 และ MIKE Thailand Gold Award 2021”

ทั้งนี้ รางวัล MIKE Award 2021 เป็นรางวัลที่ยกย่ององค์กรที่มีการส่งเสริมพนักงาน ด้านนวัตกรรม และมีการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม จนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ที่จัดมาอย่างยาวนาน โดย International Global MIKE Study Group หรือ GMSG ร่วมกับ Hong Kong Polytechnic University และในปีนี้ AIS ได้รับรางวัล MIKE Thailand Gold Award 2021 ในด้าน Most Innovative Knowledge Enterprise 

ซึ่ง AIS เป็นองค์กรด้านเทคโนโลยีและโทรคมนาคมหนึ่งเดียวที่ได้รับรางวัลในระดับ Gold ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของการมอบรางวัลระดับประเทศ ทำให้มีสิทธิในการนำเสนอรางวัลระดับโลกอย่าง Winners of the Global MIKE Award ที่เอไอเอสสามารถคว้ามาครองได้สำเร็จเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน 

เกณฑ์ตัดสิน

โดยรางวัล MIKE Thailand Gold Award และ Winners of the Global MIKE Award มีเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน 2 หมวด ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนี้ 

หมวด 1 การเปิดโอกาสให้พนักงานได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ สามารถกำหนดกลยุทธ์ในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี องค์กรมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง มีความพร้อมที่จะพัฒนาสินค้าและบริการอยู่เสมอ รวมทั้งพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีความคิดสร้างสรรค์ 

โดยพิจารณาร่วมกัน 8 องค์ประกอบหลัก คือ

1.การบริหารจัดการนวัตกรรมและองค์ความรู้ในองค์กรที่ดี เสริมพลังให้พนักงานเพิ่มความรู้เพื่อนวัตกรรม โดยนำความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดคุณค่าสูงสุด

2.การพัฒนาเครือข่ายภายในและภายนอก และการเชื่อมต่อการแบ่งปันความรู้

3.การวางกลยุทธ์วิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลง

4.การปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นนวัตกรรม

5.การลงทุนและการส่งมอบผลิตภัณฑ์ / บริการ / โซลูชันที่อิงความรู้เพิ่มมูลค่า

6.การบังคับใช้การปฏิบัติความรู้และระบบสำหรับการ สร้างความรู้

7.การใช้พื้นที่สร้างสรรค์และเสมือนจริงเพื่อสร้างมูลค่า ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

8.การสร้างความคาดหวัง / ความต้องการ / ประสบการณ์ของลูกค้าและผู้ใช้

หมวดที่ 2 หลักเกณฑ์การพิจารณาด้านนวัตกรรม ทั้งการพัฒนาสินค้าและบริการ หรือสร้างธุรกิจใหม่อยู่เสมอ มีผลประกอบการ รายได้ และยอดขายดี สามารถชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้าได้ มีรางวัลสะท้อนความสำเร็จของการทำงาน 

“เกณฑ์ในการพิจารณารางวัลในมิติต่าง ๆ เป็นเครื่องยืนยันว่า แนวทางการทำงานด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของเอไอเอสที่ถือปฏิบัติมาได้มาถูกทางและเป็นที่ยอมรับ” การติมา กล่าวทิ้งท้าย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

“นิพนธ์ บุญเดชานันทน์” ซีอีโอ WHAUP ตั้งเป้ายืนหนึ่งผู้นำตลาดพลังงานสะอาดแห่งภูมิภาคเอเชีย

NIA เดินหน้าหนุนแผนสมาร์ทซิตี้ เล็งกระจายโอกาสสู่ภูมิภาคยกระดับระบบนิเวศไทย

depa ชี้อุตสาหกรรมเกมไทย เป็นจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจประเทศ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ