TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnist"Quiet Quitter" เมื่อพนักงานไม่ทำงานถวายหัว ใครควรกังวล

“Quiet Quitter” เมื่อพนักงานไม่ทำงานถวายหัว ใครควรกังวล

ในช่วงที่พนักงานจำนวนมากรู้สึกท้อแท้หมดแรงจากจากปริมาณงาน และความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นจากองค์กร จนเกิดอาการ burnout ซึ่งส่งผลกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต คนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะลาออกจนเกิดกระแส Great Resignation ในช่วงปีที่ผ่านมา

เราเริ่มได้ยินคำว่า Quiet Quitter เป็นกระแสใหม่ของพนักงานเริ่มจากโซเชียลมีเดียอย่าง TikTok ที่ Gen Z นิยมใช้ ซึ่งมีมุมมองของการทำงานแตกต่างจากคนรุ่นก่อนอย่าง Baby boomer หรือ Gen X โดยมองว่างานก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตที่ไม่มีความจำเป็นต้องทุ่มเทขนาดทำงานถวายหัว แลกกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตัวเอง การทำงานตามที่มอบหมายให้สำเร็จตามความคาดหวังก็เพียงพอ ซึ่งก็มีเหตุผลที่ฟังขึ้นไม่น้อยทีเดียว

ถ้าถามในมุมขององค์กร แน่นอนว่าทุกองค์กรก็อยากได้พนักงานที่ทุ่มเท ยิ่งในยุคที่มีเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน มีความท้าทายใหม่ๆ ถ้าพนักงานทำงานเพียงขั้นต่ำตามที่ได้รับมอบหมายก็ยากที่ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย หรือแข่งกับคู่แข่งที่พนักงานทุ่มเทมากกว่าได้

แต่ถามว่าการที่พนักงานไม่ทุ่มเทหรือเป็น Quiet Quitter เป็นความผิดของพนักงานหรือ?

ใจเขาใจเรา ผมคิดว่าทุกคนมีสิทธิ์เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง เพียงแต่ให้แน่ใจว่าเข้าใจทางเลือกต่าง ๆ และผลที่จะตามมาในแต่ละทางเลือกที่เราตัดสินใจ

ในมุมของพนักงานอย่าเพิ่งคิดว่าการเป็น Quiet Quitter เป็นการได้เอาคืนองค์กรที่เอาเปรียบเรา แต่อยากให้มองหาปัญหาที่แท้จริงแล้วแก้ที่จุดนั้นมากกว่า ถ้างานหนักจนสุขภาพกาย สุขภาพจิตเสีย แทนที่จะปิดคอมหลังเวลาทำงานทันที อาจลองคุยกับหัวหน้าเพื่อหาทางออกร่วมกันเพื่อให้งานออกมาได้โดยที่ยัง win-win ทั้งสองฝ่าย

เพราะเราใช้เวลาไม่น้อยของชีวิตในการทำงาน หากเราได้ทำงานที่ช่วยพัฒนา และเติมเต็มความต้องการของเราซึ่งทำให้เราทุ่มเทให้และขับเคลื่อนจนเกิดผลสำเร็จ นอกจากที่เราจะภูมิใจกับทั้งผลงาน ยังมีสิ่งที่เป็นผลพลอยได้อื่นๆ เช่น ความก้าวหน้าในอาชีพ การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

ในมุมขององค์กร ถ้าอยากให้พนักงานทุ่มเท มีความผูกพันกับองค์กร อาจต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทำงาน (Employee eXperience) ว่ามีด้านไหนที่สามารถปรับปรุงได้

ที่สำคัญคือ หมดยุคของพูดการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานทุ่มทำงานให้องค์กร แต่สิ่งที่ให้กับพนักงานกลับไม่เป็นธรรม ประเภทจ่าย 100 แต่คาดหวังให้ทำงาน 1,000,000 อย่างนี้ใครก็ไม่อยากอยู่ทำงานด้วย

ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งคือ หัวหน้างาน ซึ่งหากคุณมีลูกน้องที่อาจจะเข้าข่ายเป็น Quiet Quitter อาจต้องถามตัวเองก่อนว่าปัญหานี้อาจเกิดจากตัวเองได้หรือไม่ การทำให้เขารู้สึกว่าตัวหรืองานของเขามีคุณค่า และสร้างความไว้วางใจในการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ทีมรู้สึกผูกพัน และอยากจะทุ่มเทให้กับองค์กรมากขึ้น

แม้สุดท้ายเราอาจไม่มียาวิเศษทำให้พนักงานทุกคนผูกพันทุ่มเททำงานให้องค์กร แต่หากผู้บริหารและหัวหน้างานเอาใจใส่ประสบการณ์ของพนักงาน เห็นคุณค่าของพนักงานบนพื้นฐานของความเป็นธรรม ผมเชื่อว่าจะได้ใจของเขาซึ่งจะสะท้อนกลับมาเป็นความผูกพันและทุ่มเทเอง

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

“คนปัจจุบัน” …. เป้าหมายที่เป็นไปได้ สำหรับ “การพัฒนาพนักงาน”

Welcome back to the office: ผลกระทบและสิ่งที่ต้องเตรียมตัว

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ