TH | EN
TH | EN
หน้าแรก News สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ เป็นมากกว่าสถานที่รักษา

สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ เป็นมากกว่าสถานที่รักษา

โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยพบผู้เสียชีวิตมากถึงปีละ 70,000 ราย การคิดค้นวิธีการรักษาใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และโรงพยาบาลหลายแห่งของไทยมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่มีการค้นคว้าวิจัยด้านนี้ตลอด 7-8 ปีที่ผ่านเกร์มา จนในที่สุดได้ก่อตั้ง ‘สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์’ ซึ่งมี ศ.นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้ริเริ่มการรักษาหัวใจผิดจังหวะชนิดเรื้อรังและชนิดชั่วคราวโดยการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง หรือ CFAE ablation เป็นครั้งแรกในเอเชีย เป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ ที่ใช้โมเดลการทำงานแบบเดียวกับสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิกริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา

การวิจัย เทคโนโลยี ทีมเวิร์ก สู่การรักษาระดับ World Class

ศ.นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิกริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา กล่าวกับ The Story Thailand ว่า สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ก่อตั้งด้วยแนวคิดที่ต้องการให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ หากหัวใจทำงานได้ไม่ดี จะมีผลกระทบต่ออวัยวะอื่นทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองหรือมีเส้นเลือดอุดตันบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นต้น โดยเราเชื่อว่า การวิจัย เป็นรากฐานหลักที่สำคัญในการนำมาพัฒนานวัตกรรมด้านการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน

ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารบำรุงราษฎร์เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว มีความต้องการพัฒนาการวิจัยและพัฒนาศูนย์โรคหัวใจมากขึ้น มีเป้าหมายเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจในระดับภูมิภาคและต้องการเป็นผู้นำของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำของไทยในการยกระดับการรักษาให้มีมาตรฐานระดับโลก

โดยเริ่มจากการนำรูปแบบการทำงานของสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิกริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา มาใช้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์และมีการพัฒนาต่อยอดมากขึ้น โดยมีการทำงานวิจัยเพื่อหาแนวทางการรักษาแบบใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีขึ้น โดยมุ่งหวังให้ศูนย์โรคหัวใจบำรุงราษฎร์เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดปกติรวมถึงทุกปัญหาของโรคหัวใจได้อย่างครอบคลุม นอกจากงานวิจัยแล้วสิ่งที่เราทุ่มเทคือการพัฒนาด้านการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ต่อเนื่อง

สำหรับจุดแข็งที่เรามีคือ ‘การทำงานเป็นทีม’ เริ่มตั้งแต่ทีมวิจัย ที่พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วย ทีมพัฒนาด้านเทคโนโลยี รวมถึงการทำงานของทีมแพทย์ซึ่งมองว่า เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผลลัพธ์ในการรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้นที่ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ การทำงานร่วมกันของแพทย์ผู้ชำนาญการในหลากหลายสาขา (Many subspecialties), การทำงานที่สอดประสานกันระหว่างทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ (Team approach is needed) และการทำงานที่ใกล้ชิดแบบไร้รอยต่อระหว่างแพทย์สาขาต่างๆ (Multi-Organ involvement) โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยและการทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

อีกทั้งเราได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการทำเทคโนโลยีถอดรหัสพันธุกรรม หรือ Whole Genome Sequencing เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์สารพันธุกรรม หรือ DNA หาความเสี่ยงในการเกิดโรค

สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์เป็นมากกว่าสถานที่รักษา จะเป็นแหล่งความรู้ที่รวบรวมเหล่านักวิจัย ทีมแพทย์เฉพาะทางและนักพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อคิดค้นนวัตกรรมเพื่อใช้ในการรักษาโรคหัวใจแบบใหม่ ๆ เราหวังให้ทุกงานวิจัยที่เก็บข้อมูลถูกนำไปพัฒนาต่อยอดและใช้ได้จริง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาตรฐานเดียวกับระดับโลก

อย่างไรก็ตาม เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้วเบื้องต้นในการค้นพบวิธีการรักษาใหม่ ๆ ที่เราได้นำมาใช้จริงและมีหลายประเทศให้ความสนใจ คือ กรณีผู้ป่วยใหลตาย จากการวิจัยของเราค้นพบวิธีการรักษาแบบใหม่ ด้วยการจี้พังผืดบริเวณพื้นผิวของหัวใจห้องล่างขวา ซึ่งสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์รับผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้ามารักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายและเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยควบคู่กันไป นับว่าเป็นผลงานวิจัยครั้งแรกจากคนไทยที่ทำการรักษาด้วยวิธีนี้สำเร็จคนแรกของโลก

ส่วนอีกกรณีศึกษาจากงานวิจัยคือ การนำนวัตกรรม Cardio Insight เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกและเป็นแห่งที่ 3 ของโลก และเราเป็นผู้ริเริ่มการรักษาหัวใจผิดจังหวะชนิดเรื้อรังและชนิดชั่วคราว โดยการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง หรือ CFAE ablation เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชีย ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ มีผู้สนใจเข้ามาดูกรณีศึกษาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ต่อเนื่อง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจากกลุ่มยุโรป และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

มาตรฐานการรักษาระดับ World Class

ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ กล่าวต่อว่า เราใช้แนวทางการรักษาโดยให้ ‘ผู้ป่วย’ เป็นศูนย์กลาง เน้นการรักษาแบบเฉพาะรายบุคคลตามสาเหตุและอาการของผู้ป่วย โดยดูแลต่อเนื่องตั้งแต่การวินิจฉัยหาสาเหตุและการวางแผนการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรักษาด้วยยา เทคนิคการรักษาใหม่ ๆ การใช้เครื่องมือกระตุ้น รวมถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ อีกทั้งมีการตรวจวิเคราะห์พันธุกรรม เพื่อค้นหาความเสี่ยงก่อนเกิดโรคใน 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดใหญ่โป่งพองและปริแตกและโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนการใช้ชีวิตและป้องกันการเกิดโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรรมได้

ทั้งนี้ บริการที่เรามีครอบคลุมกลุ่มโรคดังนี้ โรคหัวใจขาดเลือด, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, ภาวะหัวใจล้มเหลว, โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ, โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด รวมถึงการคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาวะของหัวใจ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน หรือผู้ที่ต้องการการรักษาขั้นสูง เรามีทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกัน เช่น อายุรแพทย์หัวใจ, ศัลยแพทย์ทรวงอก, แพทย์กายภาพบำบัด, เภสัชกร, ทีมพยาบาล และนักโภชนาการ เป็นต้น นอกจากนี้ บำรุงราษฎร์ยังมีแผนก Cardiac Care Unit (CCU) ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขั้นวิกฤติและผู้ป่วยหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้กลับมาฟื้นตัวได้เร็ว

สอดรับเทรนด์ Digital Health

ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ กล่าวต่อว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยิ่งในโลกของดิจิทัลแล้ว Digital Health เป็นเทรนด์ที่ถูกกล่าวถึงมากขึ้นเพราะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ เช่น การรวบรวมฐานข้อมูลผู้ป่วยขนาดใหญ่ หรือ Big Data เพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย, ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ,ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine และการสั่งยาผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงนวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติหรือตรวจจับโรคระยะเริ่มต้น และแอปพลิเคชันในการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการดูแลสุขภาพตนเองได้ในเบื้องต้น

ทั้งนี้ มองว่าในอนาคต จะเริ่มเห็นเทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และการใช้ Machine Learning จากการวิเคราะห์สุขภาพในเชิงป้องกันจากการถอดรหัสพันธุกรรม ถือเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีคุณค่าและสร้างสรรค์มาก เพราะสามารถคาดการณ์โรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้แพทย์และผู้ป่วยได้วางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวทางการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น นอกจากนี้ เทคโนโลยียังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงรายละเอียดและข้อมูลที่สำคัญได้อย่างตรงไปตรงมา จากที่ใดก็ได้บนโลกตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจในการรักษามากขึ้น

อีกทั้งการทรานส์ฟอร์มทางการแพทย์ในอนาคตจะเกิดขึ้นได้จากการนำเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมาใช้อย่างต่อเนื่อง คือต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้น รวมถึงนำความรู้เหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการวิจัยและมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่เป็นที่น่าพอใจมาต่อยอดเป็นรูปธรรม มีการนำมาใช้งานได้จริง และนำมาถ่ายทอดส่งต่อให้กับแพทย์ทั้งไทยและแพทย์จากนานาประเทศเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในวงกว้างให้ได้มากที่สุด 

มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์

ศ.นพ.กุลวี กล่าวต่อว่า เป้าหมายที่เรามีตั้งแต่แรกคือ การก้าวสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ซึ่งสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ในอนาคตมีทิศทางที่ชัดเจนในการพัฒนาการวิจัยเพื่อการค้นหาวิธีการรักษาใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งในปี 2566 เรายังคงขยายทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่พร้อมทำงานบนความมุ่งมั่น รวมถึงการมองหาโรงพยาบาลพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน

“ผมนำความรู้ความสามารถที่สั่งสมมาในระดับโลกตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี มาถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิคการรักษาใหม่ ๆ และนำมายกระดับความเป็นเลิศด้านการแพทย์ของสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ รวมถึงแบ่งปันความรู้นี้ให้แก่นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ทั้งจากในประเทศไทยและทั่วโลก โดยใช้สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ จัดฝึกอบรมเพื่อช่วยยกระดับวงการแพทย์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก และอยากเห็นผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”  

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

AIS โชว์ศักยภาพบนเวทีโลก คว้ารางวัล WSIS Prize 2023

AIS พาโครงการ “อุ่นใจ CYBER” เป็นตัวแทนประเทศ คว้ารางวัลด้านความยั่งยืนระดับโลก ติดอันดับ 1 ใน 5 จาก 1,800 โครงการทั่วโลก

เสียวหมี่ เปิดตัว Xiaomi 13 Series “co-engineered with Leica” สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุด

เสียวหมี่ ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุด – Xiaomi 13 Series – สู่ตลาดต่างประเทศ ณ งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน

เทนเซ็นต์ คลาวด์ ส่ง Metaverse Solution Suite ยกระดับผู้ประกอบการไทย

จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่างโลกเสมือน และโลกความเป็นจริงแข็งแกร่งมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มมองหาโอกาสจากการสร้างแพลตฟอร์ม

ย้อนเวลาสู่อาณาจักรโรมัน…ตามล่าบทเรียนวิกฤติการเงินเขย่าโลก

หากคุณได้ติดตามข่าวมาบ้าง น่าจะรู้ว่าในปี 2565 ที่ผ่านมาได้เกิดความผันผวนขึ้นอย่างหนักในโลกการเงิน จนหลายคนภาวนาอยากให้วิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านพ้นไปเสียที

Skooldio ติดโผ สตาร์ตอัพเติบโตสูงระดับเอเชียแปซิฟิก เข้าชิง Global Startup Awards 2023

Skooldio ผู้ให้บริการด้านทักษะดิจิทัล หรือ Digital Skills สำหรับวัยทำงาน ในเครือ LEARN Corporation ติดอันดับ High-Growth Companies Asia-Pacific 2023

เจาะ 5 เทรนด์ Web3 ที่กระแสมาแรงในปีนี้

เมื่อตลาดอยู่ในช่วงขาลง เรามักจะได้ยินเสมอว่า “คริปโทถึงกาลอวสานแล้ว” แต่แท้จริงแล้ว ราคาคริปโทไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่บ่งชี้ถึงภาวะของอุตสาหกรรมคริปโท

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท หนุนใช้หุ่นยนต์โคบอท ดันไทยสู่ EV Hub

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน (โคบอท) จากประเทศเดนมาร์ก พร้อมหนุนผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยใช้หุ่นยนต์โคบอทช่วยการผลิต

Google เปิดตัว Generative AI บน Google Cloud และ Google Workspace

Google เปิดตัว คลื่นลูกใหม่ ของ generative artificial intelligence (generative AI) ในส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจหลัก

Samsung เปิดตัว Galaxy A54 5G และ A34 5G ดีไซน์ใหม่ เครื่องสวย กล้องคมชัด

ซัมซุงเปิดตัว Samsung Galaxy A54 5G และ Galaxy A34 5G ด้วย All New Design ปรับโฉมใหม่ สวยเทียบรุ่นเรือธง ชูโรงด้วย AWESOME Camera

อีริคสัน โชว์ศักยภาพโซลูชัน 5G ในงาน DTWA 2023 เดินหน้าขับเคลื่อนดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชันในไทย

อีริคสัน จัดแสดงโซลูชัน 5G ล่าสุด ภายในงาน Digital Transformation World Asia (DTWA) 2023 ที่จัดขึ้น 3 วันเต็มในกรุงเทพฯ

MUST READ

“WeTV” ประกาศแผนธุรกิจ ปี 66 รุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

WeTV แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงประกาศแผนธุรกิจรุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2566 เตรียมเดินหน้าผนึกกำลังกับพันธมิตรในหลากหลายธุรกิจมุ่งเสิร์ฟคอนเทนต์คุณภาพโดยเฉพาะคอนเทนต์จีนที่ถือเป็นจุดแข็ง

ลุมพินี วิสดอมฯ แนะ 3 นวัตกรรมป้องกันฝุ่น PM 2.5 ในที่อยู่อาศัย

ลุมพินี วิสดอมฯ แนะ 3 นวัตกรรมทางเลือกป้องกันฝุ่น PM 2.5 ภายในที่อยู่อาศัย ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตเพื่อสุขอนามัยที่ดีด้วยงบไม่เกินหลักหมื่นบาท

ปัญหาแบงก์ในสหรัฐฯ ล้ม… ไทยกระทบทางอ้อม แต่ต้องติดตามต่อเนื่อง

จากการปิดตัวของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ หน่วยงานของทางการสหรัฐฯ และธนาคารกลางสหรัฐฯ กำลังเร่งออกมาตรการมุ่งเป้าดูแลผู้ฝากเงิน

กูลิโกะ เปิดตัว “Almond Koka” นมอัลมอนด์ที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น รุกตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

ไทยกูลิโกะ ส่งนมอัลมอนด์ ภายใต้แบรนด์ “Almond Koka” (อัลมอนด์ โคกะ) นมอัลมอนด์ที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น บุกตลาดประเทศไทยเต็มกำลัง

NETA เดินหน้าผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ในไทย ตั้งเป้าเปิดสายพานการผลิตต้นปี 2567

NETA เดินหน้าแผนงานโรงงานประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าพวงมาลัยขวาสำหรับตลาดในภูมิภาคอาเซียนในประเทศไทย ตั้งเป้าเปิดสายพานการผลิตภายในปี 2567
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น