TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyดีอี จับมือ Meta เสริมแกร่งความปลอดภัยไซเบอร์

ดีอี จับมือ Meta เสริมแกร่งความปลอดภัยไซเบอร์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมมือกับ Meta, ETDA , ตำรวจไซเบอร์ และ สอท. จัดงาน ‘โครงการความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยหลอกลวงออนไลน์’ (Anti-Scam and Integrity Forum : Strengthening Collaboration Against Scams for a Safer Digital Future) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ มีการอบรมบุคลากรร่วมกับ META ในปี 2566 ถึง 5,000 คน

ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้น ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน เครือข่ายประชาสังคมและองค์กรพันธมิตร ที่จะร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทักษะดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการรวมถึงส่งเสริมนวัตกรรมผ่านการทำงานร่วมกันที่เข้มแข็งระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในการเสริมทักษะทางดิจิทัล (digital literacy) การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (digital transformation) และเศรษฐกิจดิจิทัล (digital economy) เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมที่สนับสนุนการสร้างโลกดิจิทัลที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน ตามนโยบายรัฐบาล

ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญเรื่องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล กระทรวงดีอีได้ผลักดันเป็นนโยบาย The Growth Engine of Thailand ประกอบด้วยการยกระดับขีดความสามารถของประเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล การสร้าง พัฒนาต่อยอดทุนมนุษย์

ประเสริฐ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนประชาชนคนไทยเพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ ด้วยนโยบายและแผนระดับชาติที่มุ่งเน้นการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่มีจุดมุ่งหมายชัดเจนที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนทุกคนและการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงโลกดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

กระทรวงดีอี มีส่วนสำคัญในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เพื่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิทัล อาทิ National Blockchain โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลระดับประเทศ, Digital Government เป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น, Go Cloud First การวางกรอบในการขยายระบบคลาวด์เชิงโครงสร้างพื้นฐาน ให้แก่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน Public Cloud และ Private Cloud ที่มีมาตรฐานในการดูแลข้อมูลภาครัฐการลงทุนด้าน Cloud Data Center ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค (Hub) ในเรื่องนี้

ขณะที่ Digital ID ขณะนี้กฎหมายมีมาตรฐานที่รับรองไว้แล้ว ในด้านการบริการทั้ง ThaID และ NDID (หรือ National Digital ID) เป็นการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการบนโลกดิจิทัล ที่สามารถทำธุรกรรมทางโลกออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งการติดต่อและดำเนินงานผ่านระบบรัฐและการติดต่อค้าขายทำได้ง่ายขึ้นและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ประเสริฐ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้กระทรวงดีอียังให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการแก้ไขปัญหาภัยหลอกลวงออนไลน์ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบกลโกงอย่างรวดเร็ว และเป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล สร้างความเสียหายแก่ประชาชนชาวไทย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ หรือ Anti Online Scam Operation Center : AOC สายด่วน 1441 เพื่อให้มีการบูรณาการในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ ให้บริการ one stop service แก่ประชาชน ช่วยดำเนินการ ระงับ/อายัดบัญชี ได้ทันที รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยออนไลน์ต่าง ๆ

ทั้งยังมีการกำหนดแนวทางที่สำคัญ โดยเน้นไปที่การจัดการและป้องกันภัย หลอกลวงออนไลน์ และส่งเสริมความน่าเชื่อถือผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กร ภาครัฐที่มีบทบาทในแต่ละภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และ แพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันทรัพยากร ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และหาแนวทาง ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อเตรียมพร้อมให้แก่ประชาชน คนไทยรับมือกับความท้าทาย ทางไซเบอร์อย่างรู้เท่าทัน

“กระทรวงดีอีและหน่วยงานภายใต้สังกัด มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับภัยหลอกลวงออนไลน์ร่วมกับ Meta โดยในปี 2566 ที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมให้ความรู้ ประชาชนภายใต้โครงการ We Think Digital มากกว่า 5,000 คน และมีช่องทางเฉพาะสำหรับทำงานร่วมกับ Meta เพื่อระบุหรือติดตามบุคคล หรือองค์กรที่ก่ออาชญากรรม เหล่านี้รวมถึงการจัดการกับเนื้อหาสื่อที่เป็นอันตรายต่อสังคม โดยทาง Meta ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีสำหรับในปี 2567 ซึ่งกระทรวงและหน่วยงานภายใต้สังกัดมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมส่งเสริมบทบาทพลเมืองดิจิทัล สนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล และร่วมเป็นพันธมิตรกับทาง Meta เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนชาวไทย”

“ขอขอบคุณ Meta, ETDA , สำนักงานสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และผู้มีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรพันธมิตรและผู้เข้าร่วมงานทุกท่านที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับพี่น้องประชาชนให้มากที่สุด แม้ความสำเร็จและความปลอดภัยของข้อมูลอาจไม่มีระบบใดป้องกันได้ 100% จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งสิ่งสำคัญในการป้องกันอาชญากรรมออนไลน์ การหลอกลวงออนไลน์ นอกจากจะเป็นการให้ความรู้ ความตระหนักแก่ประชาชนแล้ว ยังเป็นการย้ำเตือนกับพี่น้องประชาชนขอให้ใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสารจากโลกออนไลน์ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนและทุกคนในสังคม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีกล่าว

สำหรับงาน ‘ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ภัยหลอกลวงออนไลน์’ เป็นส่วนหนึ่งในโครงการความร่วมมือด้านความปลอดภัยออนไลน์ประเทศไทย 2566 : รู้เท่าทันการหลอกลวงทางออนไลน์ ‘Integrity Partnership for Thailand 2023 : Staying Safe Online from Fraud and Scam’ ซึ่งเป็นความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และองค์กรภาคีอื่น ๆ เพื่อต่อยอดกิจกรรม ‘1212 ETDA : สร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์’ ที่จัดขึ้นกว่า 20 จังหวัด ทั่วประเทศไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุน เป้าหมายร่วมในการเสริมสร้างความรู้แก่ประชาชนไทย เกี่ยวกับการป้องกันและรับมือปัญหามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ ผ่าน 2 กิจกรรมหลัก 1.การพัฒนาโซเชียลแคมเปญ ‘จุดจบสแกมเมอร์’ 2.จัดงาน ‘Anti-Scam and Integrity Summit 2023’

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ZEEHO เร่งเปิดตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ หลังทำขายยอดขายพุ่งทะลุเป้า ในงาน Motor Expo 2023  

มทร.ล้านนา พัฒนาเซนเซอร์ ระบบเตือนภัยไฟป่าแบบเรียลไทม์ แจ้งพิกัดไฟป่า ป้องกันไฟลุกลาม

ฟูจิฟิล์ม โชว์โซลูชัน “CAD EYE” ใช้ AI ตรวจหามะเร็งระบบทางเดินอาหาร

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ