TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyดีป้า ส่งเสริม ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล

ดีป้า ส่งเสริม ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เดินหน้าส่งเสริมการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล เผยตัวเลขคำขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรด้านดิจิทัลเติบโต หลังได้รับอานิสงส์จากมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการจัดทําหรือยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล 

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ ดีป้า เปิดเผยว่า นโยบายสำคัญที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เร่งขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง คือ การส่งเสริมให้เกิดการยื่นขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรด้านดิจิทัลในประเทศไทย โดยมอบหมายให้ ดีป้า ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทของทรัพย์สินทางปัญญา ผ่านความร่วมมือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนช่วยเหลือผู้ประกอบการฟันฝ่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ดีป้า มุ่งมั่นส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านดิจิทัลยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ประกอบการด้านดิจิทัลได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ผ่านมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการจัดทำหรือยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa Intellectual Property Voucher) แล้วกว่า 30 ราย ทำให้ประเทศไทยมีคำขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้น

สะท้อนได้จากข้อมูลสถานภาพทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ระบุว่า ปี 2563 มีสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรด้านดิจิทัลที่ยื่นขอรับสิทธิไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 208 คำขอ คิดเป็น 2.64% ของคำขอทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีเพียง 165 คำขอ คิดเป็น 1.8 % ของคำขอทั้งหมด

ล่าสุด มติที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุนเห็นชอบ 10 โครงการจาก 8 ผู้ประกอบการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุน ผ่านมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการจัดทำหรือยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งมีการประกาศรับสมัครเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย

1. โครงการระบบตรวจนับมัดแผงยาอัตโนมัติและโครงการตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ

        โดย บริษัท เอด้าซอฟท์ จำกัด

2. โครงการระบบและกระบวนการติดตามการเจริญเติบโตของลูกสัตว์น้ำในบ่อเพาะเลี้ยงด้วยคอมพิวเตอร์วิชั่น

      และปัญญาประดิษฐ์

        โดย บริษัท อัลจีบา จำกัด

3. โครงการวิธีการสำหรับลงลายมือชื่อบนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยอาศัยรหัสเครื่องหมายที่อ่านได้ด้วยแสง 

    โดย บริษัท ฟินีม่า จำกัด

4. โครงการมายหมู่บ้านแอพลิเคชันและ SGOC แพลตฟอร์ม

        โดย บริษัท มาย หมู่บ้าน จำกัด

5. โครงการระบบตรวจสอบอุณหภูมิในตู้แช่ตู้ยาหรืออุณหภูมิห้องแบบ Realtime พร้อมระบบแจ้งเตือนเมื่อ

             อุณหภูมิผิดปกติและโครงการตู้ยา

       โดย บริษัท นิปปอน ไซซิทส์ จำกัด

6. โครงการระบบวัดและควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารผ่านเซนเซอร์และแผงวงจรควบคุมอุปกรณ์

        พัฒนาคุณภาพอากาศ

        โดย บริษัท ไวท์เวลเซอร์วิส จำกัด

7. โครงการเครื่องจักรกลเกษตรอัตโนมัติ

        โดย บริษัท ฟิวเจอร์ศิวิไลซ์เทคโนโลยี จำกัด

8. โครงการระบบบริหารจัดการร้านสะดวกซัก

        โดย บริษัท ที-เดฟ จำกัด

ดร.ณัฐพล กล่าวอีกว่า ดีป้า จะยังคงเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนผู้ที่ต้องการขอรับสิทธิบัตร เพื่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สร้างระบบนิเวศน์ดิจิทัลสมบูรณ์แบบ และเป็นไปตามเป้าหมายด้านการเพิ่มนวัตกรรมของอุตสาหกรรมด้านดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งจะสามารถปรับอันดับดัชนีทรัพย์สินทางปัญญา (IP Index : Intellectual Property Index) ให้อยู่ในอันดับที่สูงขึ้นได้ในอนาคต

สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่ตอบโจทย์ประเทศอย่างยั่งยืนโดยในปี 2564 มีการปรับหลักเกณฑ์มาตรการให้ครอบคลุมผู้สมัครที่เป็นบุคคลทั่วไป พร้อมเพิ่มรอบการประกาศรับสมัคร ซึ่งจะปิดรับข้อเสนอโครงการรอบที่ 2 ภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ