TH | EN
TH | EN
หน้าแรกThe MovementARV ร่วมโชว์เทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ในงาน FEA 2023

ARV ร่วมโชว์เทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ในงาน FEA 2023

บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้นำด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้กลุ่ม ปตท.สผ. ส่ง 2 บริษัทในเครืออย่าง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จํากัด นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาจัดแสดงร่วมกับบูธของ ปตท.สผ. ในงาน Future Energy Asia Exhibition and Summit 2023 (FEA 2023) เพื่อร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายใต้หัวข้อ “Driving Towards a Resilient and Low Carbon Energy Future” ในวันที่ 17 – 19พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

ดร. ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส หรือ เออาร์วี (ARV) กล่าวว่า “ARV ได้ส่ง 2 บริษัทในเครือ เพื่อนำแนวคิด และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สะท้อนถึงการขับเคลื่อนพลังงานสู่ความยั่งยืน จัดแสดงร่วมกับบูธของ ปตท.สผ. ภายใต้แนวคิด “PTTEP Landscape for Energy Transition” ให้กับผู้เข้าชมงาน เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

การเข้าร่วมงานนี้ สอดคล้องกับความตั้งใจของเราที่ต้องการนำความถนัดด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนตอบโจทย์การแก้ปัญหาด้านพลังงาน มุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนให้กับแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญทั้งต่อ ARV และเศรษฐกิจของโลก” 

ภายในบูธของ ปตท.สผ. ได้แบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่ โซน Drive Value  โซน Decarbonize และ โซน Diversify ซึ่งนวัตกรรมของ VARUNA และ SKYLLER จัดแสดงในโซน Decarbonize และ Diversify ตามลำดับ

เทคโนโลยีของทั้ง 2 บริษัทในเครือ ที่ถูกนำไปจัดแสดง ได้แก่ 

  • Smart Forest Solution เทคโนโลยีที่ช่วยประมวลผล วางแผนการบริหารจัดการพื้นที่ และมีส่วนช่วยให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ โดยสามารถนำผลลัพธ์จากข้อมูลมาวิเคราะห์แพลตฟอร์ม Varuna Analytics เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติงานซึ่งครอบคลุมขอบเขตการปฏิบัติงานของเทคโนโลยี ดังต่อไปนี้ 
  • เทคโนโลยีการจัดการพื้นที่สีเขียว (Green Area Management) ที่สามารถวิเคราะห์และบริหารจัดการการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ป่าด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม รวมถึงการใช้ข้อมูลและภาพถ่ายจากโดรนมัลติสเปกตรัม (Multispectral Drone) มาวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในรูปแบบ Dashboard ส่งผลให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวได้ตรงจุดและเกิดความแม่นยำมากขึ้น 
  • แพลตฟอร์ม “Varuna Land Monitoring Service Forest” (VLM Forest) ที่สามารถเข้ามาช่วยลดการใช้เเรงงานคนเเละความเสี่ยงในการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยในการติดตามและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงขนาดของพื้นที่สีเขียวตามช่วงเวลา หรือเเม้กระทั่งการติดตามสุขภาพของต้นไม้ รวมถึงใช้ประมาณค่าการกักเก็บคาร์บอนของป่าในพื้นที่ได้อย่างเเม่นยำ 
  • แอปพลิเคชัน “KANNA” ที่สามารถระบุรายละเอียดและตำแหน่งของต้นไม้เพื่อประเมินประเภทต้นไม้ของผู้ใช้งานที่สามารถบ่งบอกการมีส่วนช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คำนวณเป็นจำนวนตันคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายคาร์บอนเครดิตในภาคป่าไม้อย่างยั่งยืน  
  • Skyller platform แพลตฟอร์มวิเคราะห์และประมวลผลอัจฉริยะ ที่ให้บริการตรวจสอบโครงสร้างสิ่งปลูกสร้างครบวงจร ผ่านแพลตฟอร์มที่สามารถวิเคราะห์และประมวลผลภาพจากโดรน ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว โดยนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ในการตรวจสอบได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิการตรวจสอบระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า (Powerline Inspection) การตรวจสอบแผงโซลาร์เซล (Solar Inspection) และการตรวจสอบกังหันลมเพื่อการผลิตไฟฟ้า (Wind Turbine Inspection) เพื่อช่วยให้งานตรวจสอบมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Virtual Twin ตัวเร่งพัฒนาการเดินทางในอนาคต และเมืองอัจฉริยะ

Google Cloud เปิดตัวความสามารถใหม่ของ Generative AI พร้อมการใช้งานจริง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ