TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyประเทศไทยกับ โอกาสและความท้าทาย ในการทำธุรกิจในโลก Metaverse

ประเทศไทยกับ โอกาสและความท้าทาย ในการทำธุรกิจในโลก Metaverse

ด้วยพฤติกรรมทางสังคม วิถีการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากผลกระทบของโควิด-19 ตลอดจนการทำธุรกิจยุคใหม่ที่ทั้งหมดทำให้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และได้ก่อกำเนิดโลก Metaverse ที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย

ข้อมูลจาก Strategy Analytics คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2569 ตลาด Metaverse ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 42,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.39 ล้านล้านบาท) โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook ที่ประกาศเตรียมใช้เงินมากถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.3 แสนล้านบาท) เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์สำหรับสร้าง Metaverse

ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า “Metaverse เป็นตัวจุดกระแสความสงสัยและการตื่นตัว เมื่อทั่วโลกมีการพูดถึง Metaverse ทำให้เราเห็นว่า “Imagination” มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเรียนรู้ (Learning) เมื่อเรามีเทคโนโลยีที่มีศักยภาพอยู่ในมือ มนุษย์ก็สามารถสร้างสิ่งที่ตนเองจินตนาการไว้ได้ในโลกเสมือนจริง อาทิ  ผู้คน (Avatar) สินทรัพย์ดิจิทัล (NFTs) ดิจิทัลเพย์เมนต์ (Digital Payment) และสภาพแวดล้อม (Environment) ที่รวมความชอบเหมือน ๆ กันของผู้คนไว้ในโลกของ Metaverse”

Metaverse บนเว็บ 3.0 ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับคนอื่น ๆ ได้แบบเรียลไทม์จนแทบไม่ต้องเพิ่มเพื่อนหรือ Add Friend ซึ่งต่างจากกรณีการใช้โซเชียลมีเดียบนเว็บ 2.0 ที่กว่าจะทำความรู้จักหรือเพิ่มเพื่อนใหม่ ๆ สักคน ต้องมีพื้นฐานหรือความเชื่อมโยง อาทิ ความเป็นเพื่อนของเพื่อนหรือเคยมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการกดไลก์ กดแชร์ หรือคอมเมนต์ร่วมกันมาบ้าง ซึ่งสิ่งนี้ได้กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบสำคัญเมื่อ Metaverse ขยายวงกว้างออกไป จะมีปริมาณข้อมูลของ Identity และ Social Interaction เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้เกิดโอกาสและความท้าทายใน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

  1. Identity Management (การบริหารและจัดการอัตลักษณ์) – เป็นสิ่งที่สำคัญมากในโลกเสมือนจริง และมีความต่างชัดเจนระหว่างการใช้เว็บ 2.0 และเว็บ 3.0 มนุษย์จะแยกแยะคนที่รู้จักและไม่รู้จักได้ยากขึ้น และไม่รู้เลยว่า Avatar ของคนคนนั้นที่พบบนท้องถนนคือคนรู้จักหรือไม่ เป็นเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ เพศ หรือ อายุเท่าไร ในโลกความเป็นจริง
  2. Privacy (ความเป็นส่วนตัว) – บนเว็บ 2.0 เวลาเมื่อโพสต์อะไรในโซเชียลมีเดีย เพื่อน ๆ จะเห็นก็ต่อเมื่อโพสต์ลงไปแล้ว ต่างกับ Metaverse ที่ทุกคนอยู่ในรูปแบบ Avatar และสามารถเห็นทุกการเคลื่อนไหว ท่าทาง หรือ พฤติกรรมได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะเป็น Data ที่ไหลเวียนอยู่อย่างมหาศาลบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ
  3. Security (ความปลอดภัย) – ผู้ใช้ไม่มีทางรู้เลยว่าใครเป็นใครบน Metaverse ต่างจากเพื่อนในโซเชียลมีเดีย ที่ตรวจสอบย้อนกลับ (Track) ได้ว่าเป็นเพื่อนของเพื่อน แต่สำหรับ Metaverse ดูได้ลำบากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนเว็บ 2.0 เนื่องจากไม่มีการกดยอมรับ Accept เป็นเพื่อน ซึ่งใน Metaverse แบ่งความปลอดภัยออกเป็น 2 ระดับ (Layer) ได้แก่ Data Protection และ Access & Authentication
  4. Payment (ระบบชำระเงิน) สินค้าบน Metaverse เป็น Digital Asset ในรูปแบบที่แตกต่างจากโซเชียลมีเดีย ที่เป็นช่องทางในการขายของ แต่เว็บ 3.0 จะต่างออกไป ที่เห็นได้ชัดคือพวกแรร์ไอเท็มต่าง ๆ ในเกม (Rare Item) ที่มีมูลค่าเป็นเงินหรือที่สามารถนำไปซื้อขายได้ ดังนั้น Payment Systems จะเข้าไป Integrate ได้ทันที

โลก Metaverse มีความเกี่ยวข้องกับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างไร?

ศุภรัฒศ์ อธิบายว่า พอเป็น Web 3.0 ที่เสมือนเอาตัวเราเข้าไปอยูในโลกอีกใบแล้วย่อมเกิดปริมาณดาต้าอย่างมหาศาล รวมถึง Community และ Ecosystem ขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น จำนวน Friend เป็นล้านคน เกิดความกังวลในเรื่องความปลอดภัยมากมาย มีสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับทำการซื้อขายมหาศาล และมี Payment Transaction เกิดขึ้นแทบทุกนาที 

ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Metaverse ไม่ได้ต้องการแค่ที่เก็บข้อมูลหรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเพียงเท่านั้น แต่ปัจจัยพื้นฐานสำคัญต่อการให้บริการมากที่สุดคือ กำลังไฟฟ้า (Power) ซึ่ง Metaverse คือโลกที่ลูกค้าต้องได้รับความมั่นใจว่าไม่เกิดเหตุการณ์ไฟดับในดาต้าเซ็นเตอร์ที่หมายถึงหายนะทางธุรกิจ

ลักษณะดาต้าเซ็นเตอร์ที่เหมาะสมควรเป็นระดับไฮเปอร์สเกลที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้ามาตรฐานสูง พร้อมกับพลังงานสำรองในกรณีฉุกเฉินจะเป็นปัจจัยหลักที่ธุรกิจต้องพิจารณาเมื่อต้องเลือกดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความมั่นคงด้านพลังงานที่รองรับโลก Metaverse ที่ไม่มีกรอบของเวลาและตื่นตัวไปกับกิจกรรมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจจะเพิ่มโอกาสจาก Metaverse ได้อย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายสำคัญของผู้ใช้บริการ Metaverse คือคนรุ่นใหม่ในวันนี้และวันหน้าที่เกิดมากับเทคโนโลยีและพร้อมยอมรับเทคโนโลยีต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ได้รวดเร็ว นอกจากนั้นยังรวมไปถึงกลุ่มคนวัยทำงานหรือกลุ่มคนที่มีความชอบเหมือน ๆ กันโดยไม่จำกัดเพศและอายุ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากกิจกรรมการรวมตัวกันใน Virtual Concert หรือ Content บนสื่อต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสมหาศาลให้แก่ทั้งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ว่าจะทำยังไงให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตบนออนไลน์ ซื้อสินค้าและบริการของตนเองตลอดเวลา

คาดว่าความคับคั่งของข้อมูล (Traffic) จะสูงกว่า E-Commerce มหาศาลเนื่องจาก Metaverse คนพร้อม Interact ตลอดเวลา

ลูกค้าของผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Metaverse อาทิ แบรนด์สินค้าต่าง ๆ ที่จะเริ่มปรับตัวเข้าสู่โลก Metaverse มากขึ้น จะมอง Metaverse as a business model และหันมาสร้างสรรค์ NFTs เพื่อสร้าง Brand Value ในโลกเสมือนจริง และจำหน่ายออกไปเพื่อสร้างกำไรเป็นโมเดลการทำธุรกิจบน Metaverse แพลตฟอร์ม ที่ลงทุนต่ำแต่กำไร 100% และยังสามารถผลิตออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วกว่าแบบ Physical อาทิ Coca-Cola, Gucci

ในมุมของผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ การมาของ Metaverse ส่งผลดีต่อการทำธุรกิจ และส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับประเทศภาพรวม ไม่ว่าจะการลงทุนเพิ่มขึ้นของกลุ่มธุรกิจที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานใน Metaverse อย่างกลุ่มสถาบันการเงิน (FSI & Banking) รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการในกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Service Provider) และการพัฒนาฟีเจอร์และคอนเทนต์ใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลาย (Content Provider) หรือกลุ่มผู้ให้บริการเกม (Gaming) นอกจากนี้ในกลุ่มฟินเทค (FINTECH & Crypto Currency) ก็เป็นโอกาสของผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย รวมถึง New Born Customer ของดาต้าเซ็นเตอร์อย่าง Metaverse Provider

Digital transformation is Yesterday วันนี้สูตรใหม่คือ 3S

เอสทีที จีดีซี ไทยแลนด์ ในฐานะผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกล มองผู้ให้บริการและเจ้าของธุรกิจควรปรับสูตรการเดินหน้าสู่โลกดิจิทัล โดยใช้สูตร 3S ก็คือ 1. Scalability (ศักยภาพในการขยายธุรกิจ) 2. Security (ความปลอดภัย) 3. Sustainability (นโยบายความยั่งยืน) แทนที่การทำ Digital Transform ซึ่งหลายธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปรับกันไม่ทันแล้ว ดังนั้นเพื่อสร้างทางลัดไปสู่ความสำเร็จนี่จึงเป็นการ short cut จึงได้แนะนำสมการใหม่ (New Equation) ที่ธุรกิจควรนำมาพิจารณาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ดิจิทัล ซึ่งจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ วันนี้มี NFTs เยอะมาก แต่มีตลาดรองรับและดีมานด์จำกัด ดังนั้นหากธุรกิจใดเล็งรุกตลาด Metaverse อยู่ไม่ว่าในมุมใดก็ตามก็สามารถยึดหลักดังกล่าวนี้ได้

ทั้งนี้เอสทีทีฯ ยังมองว่าการมาของ Metaverse จะทำให้เกิดความร่วมมือข้ามธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม Data Center กับ Energy สำหรับประเทศยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล หากสามารถใช้จังหวะนี้สร้างความได้เปรียบ take advantage จากศักยภาพที่มีอยู่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) 

ประเทศไทยสามารถก้าวขึ้นเป็น “Hometown of Metaverse” ด้วยปัจจัย 3 ประการ ได้แก่

  1. Macro Economy – นโยบายจากประเทศจีน อาทิ การจำกัดเวลาในการเล่นเกมในเด็ก หรือ การเข้มงวดในการตรวจสอบ Tech Company และข้อจำกัดของสหรัฐอเมริกาที่เพ่งเล็งธุรกิจจากจีนและยังมีความไม่ชัดเจนในการสนับสนุนธุรกิจที่มาจากจีน หากประเทศไทยวางตำแหน่งด้านเทคโนโลยีของตัวเองได้เหมาะสมจะทำให้เปลี่ยนภูมิทัศน์ (Landscape) ของประเทศไทยไปเป็นคลัสเตอร์ของดาต้าเซ็นเตอร์ ก็จะช่วยดึงดูดผู้ให้บริการ Metaverse ได้เพิ่มเติม
  2. ศักยภาพตลาด E-Commerce – คนไทยเป็นผู้บริโภคชั้นดีของอุตสาหกรรม E-Commerce คนกรุงเทพฯ ใช้เวลาในเฟซบุ๊กเป็นอันดับหนึ่งของโลก สะท้อนให้เห็นความเป็น Technology Early Adopter แทบทุกอย่างและใช้เวลาบนโลกออนไลน์อย่างน่าสนใจ
  3. ประเทศไทยเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เสมอ และมีศักยภาพเพียงพอ – ด้วยภูมิประเทศที่เป็นจุดศูนย์กลางของเศรษฐกิจอาเซียน นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ Thailand 4.0 และการเปิดรับเทคโนโลยีต่าง ๆ ของภาคเอกชนมาเสริมศักยภาพเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผู้ให้บริการเหลียวมองประเทศไทยเป็น Hometown of Metaverse” ได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Meta ขยาย Reels ฟีเจอร์วิดีโอสั้นยอดนิยม บน Facebook

เบญจจินดา บุกตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี ชิงรายได้ 1,000 ล้านบาทใน 3 ปี

อะโดบีเผย เอเชียแปซิฟิก “ลงทุนด้านประสบการณ์ลูกค้า” สูงสุดในโลก เพื่อรองรับผู้บริโภคดิจิทัลที่พุ่งสูงขึ้น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ