TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyนูทานิคซ์ โชว์ผลงาน APJ ไตรมาส 2/2023 เติบโต 23% มูลค่า 268 ล้านดอลลาร์

นูทานิคซ์ โชว์ผลงาน APJ ไตรมาส 2/2023 เติบโต 23% มูลค่า 268 ล้านดอลลาร์

แม้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลาย แต่ความไม่แน่นอนยังคงอยู่ รวมถึงความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค ขณะที่ธุรกิจยังต้องเดินหน้า ส่งผลไฮบริดคลาวด์เติบโตต่อเนื่อง

จากสถานการณ์ก่อนหน้านี้ในช่วงวิกฤติโควิด องค์กรต่างนำพับลิกคลาวด์มาใช้อย่างรีบเร่งเพื่อให้ทำงานจากระยะไกลได้ ต่างรีบนำโซลูชันด้านไอทีมากมายมาใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในแต่ละเรื่อง เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ แต่กลายเป็นความผสมปนเป 

แอรอน ไวท์ ผู้จัดการทั่วไปและรองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น นูทานิคซ์ โชว์ผลงานไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2023 มีมูลค่า 268 ล้านดอลลาร์ เติบโต 23% เมื่อเทียบปีต่อปี โดยทุกประเทศล้วนเติบโต โดยไทย 14% สิงคโปร์ 13% ญี่ปุ่น 16% และอินเดีย 17% แม้ในมุมของเศรษฐกิจมหภาคจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน พิสูจน์ถึงการใช้งานไฮบริด มัลติคลาวด์ นำไปสู่การปลดล็อกปัญหาที่ลูกค้าเผชิญ

ไฮบริดคลาวด์เพื่อความคล่องตัว และความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ

เมื่อผ่านช่วงวิกฤติโควิดจะเห็นได้ชัดเจนคือ ความไม่แน่นอนซึ่งผู้คนต่างไม่รู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความต่อเนื่องทางธุรกิจและความสามารถของพนักงานในการทำงานจากทุกที่จะต้องมี หากไม่ใช่การฝากทุกสิ่งไว้บนคลาวด์

องค์กรเลือกใช้คลาวด์ที่เหมาะสม

จากรายงาน Enterprise Cloud Index (ECI) บอกว่า ทีมไอทีกว่า 60% ต้องการการผสมผสาน ต้องการแอปพลิเคชันบางอย่างในเอดจ์ หรือพับลิกคลาวด์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมสำหรับธุรกิจ

หลายองค์กรได้ย้ายขึ้นคลาวด์ และแอปพลิเคชันบนคลาวด์มีจำนวนมากมาย โดยมีตัวช่วยจัดการคอนเทนเนอร์ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับขนาด และเกือบจะเป็นค่าเริ่มต้นสำหรับแอปพลิเคชันใหม่ ๆ จำนวนมากเนื่องจากแอปพลิเคชันมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก 

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้รองรับการใช้งานและข้อกำหนดที่ซับซ้อนได้ เพราะบ่อยครั้งที่วิกฤติเกิดจากข้อมูล

ปัจจุบัน องค์กรต่างมีแอปพลิเคชันมากมาย และต่างมีข้อกำหนดหลากหลาย ทั้งเพื่อความปลอดภัย การปฏิบัติตามเพื่อนำไปสู่บริการใหม่ ๆ แต่ปัญหาคือ ต่างก็มีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน โดยต้องการที่จะใช้แพลตฟอร์มเดียวเพื่อช่วยจัดการปัญหาได้ดี และต้องไม่ใช่ต้นทุนสูง

ท้ายที่สุดแล้ว องค์กรต่าง ๆ ล้วนต้องการวางปริมาณงานในที่ที่เข้าถึงได้ ปรับขนาดได้ และคุ้มค่า

ยืดหยุ่น-ทำงานต่อเนื่อง

สำหรับตลาดไทยนั้น คุณสมบัติที่ดึงดูดใจให้ลูกค้าหันมาใช้งานคือ ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับเพิ่มตามความต้องการ 

อีกประเด็นคือ การทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีดาวน์ไทม์ ทำให้งานมีประสิทธิภาพ สร้างกำไร สร้างรายได้ให้องค์กรมากขึ้น เป็นการหักล้างต้นทุนไอทีได้

ส่วนลูกค้าที่น่าสนใจในปี 2023 คืออุตสาหกรรมบริการทางการเงิน (Financial Services Industry:FSI) ซึ่งมีข้อมูลจำนวนมาก และมีแอปพลิเคชั่นมากมายที่ต้องใช้งาน ต่างมีกลยุทธ์ไฮบริดจ์คลาวด์ใช้งาน โดยเป็นทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาค 

การ์ทเนอร์คาด บริการคลาวด์สาธารณะ แตะ 600 พันล้านเหรียญ ปี 66

คลาวด์ในไทยโตรอบทิศ

ก่อนหน้านี้ บริษัทวิจัย IDC ระบุว่า รายได้จากโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นแตะ 2.18 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้น 25% โดยสิงคโปร์คิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่ง ขณะที่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซียรวมกันแล้วคิดเป็นกว่า 30% ซึ่งแซงหน้าภูมิภาคเอเชียโดยรวมและตลาดทั่วโลก ซึ่งขยายตัว 25% และ 29% ตามลำดับ

ส่วน ข้อมูลของ Statista ระบุ รายได้ของตลาดคลาวด์สาธารณะในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 270% ในช่วงปี 2565 ถึง 2570 เป็น 2.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ ตลาดคลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ก็คึกคักเป็นอย่างมาก ล่าสุด เอ็นทีที บริษัทผู้ให้บริการและติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีชั้นนำจากญี่ปุ่น ได้ประกาศการลงทุนมูลค่า 3,000 ล้านบาท (ประมาณ 90 ดอลลาร์สหรัฐ) ผ่านเอ็นทีที โกลบอล ดาต้า เซ็นเตอร์ส คอร์ปอเรชัน เพื่อพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลแห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

โดยศูนย์ข้อมูล “Bangkok 3 Data Center” (BKK3) แห่งใหม่มีกำหนดเปิดบริการครึ่งหลังของ ปี 2567

ด้าน AWS หน่วยธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ ภายใต้ Amazon.com เคยประกาศแผน มีแผนใช้เงินลงทุน 1.9 แสนล้านบาทภายในระยะเวลา 15 ปี เพื่อตั้งฐานดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย

ตลาดคลาวด์ไทยคึกคัก เมื่ออาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย ปักธงผู้นำตลาด

“อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย” กับภารกิจขับเคลื่อน “คลาวด์กลางภาครัฐ” ยกระดับบริการรัฐสู่โลกดิจิทัล

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ