TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyเอไอเอสชู 5G Private Network โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรม

เอไอเอสชู 5G Private Network โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรม

ใช้งานได้จริงแล้ววันนี้ โชว์เคสโมเดลพันธมิตร “ผู้ใช้-ผู้พัฒนา-ผู้ให้บริการเทคโนโลยี”

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกธุรกิจและอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเสริมศักยภาพการทำงานอยู่ตลอดเวลาและเทคโนโลยีคือตัวช่วยสำคัญของการเสริมความแข็งแรงของศักยภาพมาโดยตลอด และวันนี้เทคโนโลยี 5G เข้ามามีบทบาทสำคัญที่ไม่เพียงแต่เสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและช่วยพาอุตสหากรรมก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายที่สุดแห่งช่วงเวลาของการถาโถมของดิจิทัลดิสรัปชัน

และวันนี้วันที่ 5G เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมโดยเฉพาะผู้ที่มีคลื่น 5G ในครอบครองมากที่สุดอย่างเอไอเอสนั้น มีบทบาทสำคัญอย่างมากที่จะช่วยเสริมศักยภาพให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมหลักในวันนี้

ธนพงษ์  อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า เอไอเอสได้ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจสร้างระบบนิเวศของการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G มาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดคือความร่วมมือระหว่าง AIS Business กับสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) ที่จะนำเทคโนโลยี 5G ผสานเข้ากับระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรม 

โดยเอไอเอสให้บริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 5G Private Network ในโรงงานยาวาต้าเพื่อรองรับโซลูชัน smart manufacturing ในขณะที่บทบาทของสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) คือ ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเพื่อพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไปสู่โซลูชันอุตสาหกรรม 4.0

แพลตฟอร์ม 5G Private Network เป็นบริการเครือข่ายส่วนตัวสำหรับการใช้งานเฉพาะภายในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม และสามารถทำ Network Slicing เพื่อจัดสรรทรัพยากร ทำให้เกิดคุณสมบัติทางเครือข่ายรองรับความต้องการเฉพาะของแอปพลิเคชัน เช่น ความเร็ว หรือความหน่วงต่ำ

การออกแบบเครือข่ายเฉพาะนี้ช่วยให้การเชื่อมต่อข้อมูลเป็นส่วนตัวแม้จะใช้เครือข่ายแบบไร้สาย ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลมีความคล่องตัว มีความหน่วงในการทำงานต่ำ และมีความปลอดภัยของข้อมูลสูง จึงเป็นการตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำในตลาดลูกค้าองค์กรและกลุ่มอุตสาหกรรมของ AIS 

บริษัท เลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ จำกัด เป็นผู้ประกอบการให้บริการโซลูชันระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรม จะมีบทบาทในการพัฒนาโซลูชันไปสู่การใช้งานจริงในโรงงาน (ยาวาต้า) บนเครือข่าย AIS 5G

“เป็นการร่วมกันสนับสนุนผู้ประกอบการไทยเพื่อพัฒนา smart manufacturing solutions บนเครือข่าย 5G เพื่อยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัล และอุตสาหกรรม 4.0 ของไทย” ธนพงษ์ กล่าว

ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ยาวาต้าได้เริ่มปรับเปลี่ยนระบบการผลิตให้เป็นระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์บนเครือข่ายเทคโนโลยี 5G ในพื้นที่โรงงานผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้า 25,000 ตารางเมตร ที่จังหวัดนครราชสีมา แผนต่อไปคือการขยายผลรูปแบบความร่วมมือกับเอไอเอสไปยังบริษัทสมาชิกของ TARA 

สมาชิกของ TARA เป็นบริษัทที่ทำอุตสาหกรรมด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 10 อุตสาหกรรม New S-Curve ที่ประกอบด้วยผู้ประกอบที่เป็นฝั่งซัพพลาย คือ ผู้พัฒนาและผลิตเทคโนโลยี และฝั่งดีมานด์ คือ ผู้ใช้เทคโนโลยี ซึ่งภายใต้ความร่วมมือกับเอไอเอสในครั้งนี้ ทางสมาคมได้นำผู้ผลิต คือ บริษัท เลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ จำกัด และผู้ใช้งาน คือ บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด มาร่วมมมือกัน โดยมีเอไอเอสเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีที่สำคัญ

บริษัทยาวาต้าคือบริษัทผู้ผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้าหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีกำลังผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้า 180,000 ตันต่อปี มีพนักงาน 290 คน ตั้งมา 48 ปี ขายทั่วโลก 25 ประเทศ ดำเนินธุรกิจมากว่า 50 ปี และลวดเชื่อมไฟฟ้าของบริษัทนำไปใช้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ และสะพานพระราม 9 เป็นต้น

บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) ปรับเปลี่ยนตัวเองตลอด โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ ลดต้นทุน ลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่โรงงาน และการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรโดยการใช้เทคโนโลยีและ 5G นี้ ยังได้เข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีนิติบุคคล 100% ของวงเงินการปรับปรุงเป็นเวลา 3 ปี ตามมาตรการสนับสนุนจาก BOI ด้วย 

ในโรงงานมีระบบไอทีและการปฏิบัติงานภายในโรงงาน (โอที) ซึ่งต้องเชื่อมต่อกันและต่อเชื่อมกับคลาวด์คอมพิวเตอร์ ภายในโรงงานมีการใช้หุ่นยนต์ในการจับลวดเชื่อมและขนถ่ายของได้ภายในโรงงาน ใช้ 5G เชื่อมต่อข้อมูลภายในโรงงานเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบคลาวด์ภายในโรงงานและเชื่อมต่อออกนอกโรงงานได้ความเร็วเกือบ 1 gbps ที่คลื่น 2.6 GHZ 

“หุ่นยนต์ยกของ เดิมใช้คน 1 ไลน์ใช้ 2 คน เปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์ยกลัง 20 กิโล 11 วินาที การทำงานด้วยหุ่นยนต์ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นเร็วขึ้น นอกจากนี้ พนักงานยังได้คุณภาพชีวิตในโรงงานที่ดีขึ้นเพราะไม่ต้องยกของหนัก” ดร.ประพิณ กล่าว

ดร.กุลฉัตร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการแผนกวิจับและพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงาน บริษัท เลิศวิลัยแอนด์ ซันส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัท เลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ จำกัด คือ บริษัทที่ทำเครื่องจักรอัตโนมัติ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมม แอปพลิเคชันหุ่นยนต์ ระบบกล้อง (vision) อุตสาหกรรม พัฒนารถยกของไร้คนขับ หรือ AMRs (Autonomous Mobile Robots) โดยไม่มีคนบังคับ รวมถึงพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ IIoT และเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (robot training center) ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าและระบบบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นต้น ซึ่งระบบ OT และ IT เชื่อมต่อกันด้วยโปรโตคอล OPC UA ที่รันอยู่บน 5G Private Network ซึ่งมีความปลอดภัยสูง 

ภายใต้ความร่วมมือกับเอไอเอสและยาวาต้า (ประเทศไทย) บริษัทได้วิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ยกของที่เรียกว่า AMR (รถไร้คนขับ) จากเดิมที่กระบวนการผลิตที่ใช้คนเป็นหลักเปลี่ยนมาสู่การใช้ระบบอัตโนมัติ นำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมใส่เข้าไปในไลน์การทำงานในโรงงานแทนคนได้ 2-3 คนต่อไลน์การผลิต และนำรถ AMR มาใช้แทน forklift (ที่ต้องใช้คนขับ) ซึ่งช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และที่สำคัญเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพนักงาน

โรงงานของยาวาต้าเป็นโรงงานผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้าที่มีกระบวนการผลิตค่อนข้างซับซ้อนในการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบแต่ละจุด ระบบ AMRs ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ขนย้ายสินค้าอัตโนมัติซึ่งต้องเคลื่อนที่อย่างอิสระในพื้นที่ทั้งหมดของโรงงานโดยไม่มีเส้นนำทางบนพื้นเหมือนระบบเก่า จึงต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่เสถียร มีความหน่วงต่ำ มีความปลอดภัยสำหรับการรับส่งข้อมูล และมีพื้นที่ครอบคลุมอย่างแท้จริงในโรงงาน  เมื่อนำมาใช้กับ AIS 5G Private Network ก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความแม่นยำในการสั่งการ สามารถเพิ่ม Productivity ได้ตามเป้าหมายการเป็น Smart Factory เต็มรูปแบบ

ภายในโรงงานมีระบบการทำงานที่หลากหลายฟังก์ชันซึ่งบริษัทพัฒนาระบบการปฏิบัติงานภายในโรงงานควบคู่กับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยระบบการทำงานทั้งสองเชื่อมกันเองและเชื่อมระหว่างกันแบบไร้รอยต่อ เดิมทีจะมีระบบงานที่ยังคงต้องใช้การทำงานด้วยมือไม่เป็นระบบอัตโนมัติอยู่ในส่วนของการปฏิบัติงานภายในโรงงาน เพราะข้อจำกัดของเทคโนโลยีการสื่อสารภายในพื้นที่ ที่เดิมจะต้องใช้สัยญาณ WiFi แต่พอได้ร่วมมือกับเอไอเอสนำ AIS 5G มาเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญช่วยทำให้ระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่พัฒนาสามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย 

“โซลูชัน Smart Factory มีหลายองค์ประกอบ เช่น Robotics, AMR และ PLC ของระบบ IIoT ซึ่งจะต้องเชื่อมต่อกันผ่าน OT, IT และ Cloud ในรูปแบบ Everything Connected เพื่อเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมไทยให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มศักยภาพของการทำงานมากยิ่งขึ้นได้” ดร.กุลฉัตร

ซึ่งบริษัทจะขยายผลความร่วมมือในครั้งนี้ไปยังผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภายใต้สมาคมฯ โดยจะนำเสนอระบบครบวงจรร่วมกันระหว่างบริษัทเลิศวิลัยฯ และเอไอเอส โดยมีต้นแบบการใช้งานจริงที่โรงงานยาวาต้าฯ การร่วมมือกันในครั้งนี้ ถือเป็นการผนึกกำลังกันระหว่างบริษัทคนไทยด้วยกันเองในการยกระดับมาตรฐานการทำงานและการผลติของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่จะไม่เพียงสร้างขีดความมสามมรถในการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นแต่จะสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจของแต่ละภาคส่วน 

ธนพงษ์ กล่าวเสริมว่า เอไอเอสเห็นโอกาสของการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้วยการเป็น 5G Industrial Solutions วันนี้เอไอเอสมีความพร้อมในการพาภาคอุตสาหกรรมไทยในทุกกลุ่มเข้าสู่โลกของ 5G Industrial Solutions

“เห็นผลที่ชัดเจนจากการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโซลูชันในโรงงานอุตสาหกรรม ในการผลักดันโซลูชันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นจริง เราเชื่อว่าการทำงานร่วมกันในครั้งนี้จะช่วยทำให้ระบบนิเวศของผู้ประกอบการไทย มีศักยภาพพร้อมรับโอกาสและการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” ธนพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

AIS เดินหน้าขยายโครงสร้างพื้นฐาน 5G ยุทธศาสตร์ปี 65 สู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ

AIS ร่วมมือ ม.ธรรมศาสตร์ ให้บริการ “รถ EV ไร้คนขับอัจฉริยะ”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ