TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityเยอรมัน – ไทย สร้างความร่วมมือเพิ่มความเป็นกลางทางคาร์บอน 

เยอรมัน – ไทย สร้างความร่วมมือเพิ่มความเป็นกลางทางคาร์บอน 

เยอรมณีและไทย เปิดตัวโครงการความร่วมมือด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai-German Cooperation on Energy, Mobility and Climate: TGC EMC)

ปัจจุบันประเทศไทยมีการตั้งเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ผ่านการลดการปล่อยคาร์บอน เพิ่มการผลิตพลังงานหมุนเวียน เป็นเหตุให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) ร่วมกับอีก 6 หน่วยงาน จัดตั้งโครงการ TGC EMC โดยมีการดำเนินการขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อสนับสนุนและให้องค์กรได้มีบทบาทในการวางแผนและดำเนินกิจกรรมที่จะมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงในภาคพลังงาน คมนาคม และอุตสาหกรรมการเกษตร รวมไปถึงกลไกทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

มุ่งเน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานซึ่งเป็นความท้าทายครั้งสำคัญในการประชุมฯ ประเทศไทยประกาศเป้าหมายในการมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ.2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065 เพื่อบรรลุเป้าหมายประเทศไทยต้องลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก และเพิ่มการผลิตพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ 

การนำระบบพลังงานหมุนเวียนเข้ามาใช้ในช่วงเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านถูกจำกัดจากหลายอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงาน การวางแผนระบบพลังงานที่ขาดความยืดหยุ่น ข้อจำกัดทรัพยากรทางเทคโนโลยี ข้อจำกัดในการเชิงบูรณาการขาดแผนการลดการปล่อยคาร์บอนที่เป็นรูปธรรม และความเข้าใจด้านความร่วมมือที่จำกัด ส่งผลให้ทุกภาคส่วนไม่สามารถขับเคลื่อนไปพร้อมกันอย่างเชื่อมโยง

โครงการความร่วมมือ ไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGC EMC) มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี โดยโครงการ TGC EMC ดำเนินงานหลายด้านเพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญ สามารถดำเนินกิจกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงในภาคพลังงาน การขนส่ง และอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมุ่งเป้าไปที่ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจหลัก เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านบริการต่าง ๆ 

โครงการ TGC EMC มุ่งเน้นไปที่บทบาทของการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดคาร์บอนในภาคพลังงาน การขนส่ง และอุตสาหกรรม ควบคู่กันไป ผ่านการดำเนินงานในหลายด้านได้แก่ 

1.Technical Knowledge โครงการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและขนส่ง ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ อาทิ การวางกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานสะอาด และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสู่ระบบ Smart Grid เพื่อรองรับการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนในอนาคต 

2. Policy & Regulation โครงการให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำหรือปรับปรุงนโยบาย ข้อบังคับ กรอบการตลาด เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานสะอาดที่ยั่งยืนทั้งในภาคผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งภาคพลังงาน ขนส่ง และอุตสาหกรรม

3. Pilot & Solution แนวทางที่ได้จากการศึกษาของโครงการจะถูกนำไปใช้ใน City Lab หรือห้องทดลองเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วนทั้งภาคผู้ผลิตไฟฟ้า ภาคขนส่ง อุตสาหกรรม รวมไปถึงภาคการเกษตร

4. Financing ด้วยการสนับสนุนทางการเงินผ่านกองทุน Thai Climate Initiative fund (ThaiCI) ซึ่งเป็นกลไกทางการเงินเพื่อให้ทุนสนับสนุนแก่โครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการพัฒนาขีดความสามารถในการพัฒนาโครงการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 

โดยในโครงการจะแบ่งออกเป็น 5 ภาคส่วน ได้แก่

1. Renewable Energy ร่วมผลักดัน เอื้ออำนวยการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั้งระบบให้มีความยืดหยุ่นและสามารถบูรณาการความต้องการที่ซับซ้อนจากภาคส่วนต่างๆ 

2. Transport ช่วยอำนวยทางข้อมูลความรู้และกลไกเชิงเทคนิคในการออกระเบียบข้อบังคับ และนโยบายต่างๆ รวมทั้งเสริมองค์ความรู้ สร้างแรงจูงใจสำหรับการลงทุนด้านยานยนต์ไฟฟ้า และพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ปรับปรุงโมเดลทางธุรกิจ

3. Industry ด้านอุตสาหกรรม มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อเป้าหมายที่สำคัญคือการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม 

4. Biomass สนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานชีวมวลที่ได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าวและใบอ้อยแทนการเผาในที่โล่ง สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายเพิ่มรายได้ของเกษตรกรรายย่อย

5. Financing ThaiCI จะเป็นจุดเริ่มต้นของแหล่งเงินทุนใหม่ที่สนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างศักยภาพในการเข้าถึงเงินทุนสำหรับโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในประเทศและต่างประเทศ 

เมื่อมีเป้าหมายเดียวกันคือการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โครงการ TGC EMC จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็นธรรมและยั่งยืน 

สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ

ดร.แอ็นสท์ ไรเชิล (Dr. Ernst Reichel) เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย กล่าวถึงวิธีการดำเนินการของโครงการที่เกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนและมีความสหวิทยาการว่า การบูรณาการระหว่างภาคพลังงานหมุนเวียน ขนส่ง อุตสาหกรรม และชีวมวล เป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำให้สำเร็จก่อนการประเมินและสำรวจทางแกปัญหาเชิงเทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมแบบนำร่อง นอกจากนี้ ด้วยกองทุน ThaiCI โครงการ TGC EMC จะสร้างเครื่องมือทางการเงินระยะยาวที่จะรักษาและเพิ่มพูนผลของโครงการโดยการสนับสนุนโครงการเพื่อการลดปัญหาและปรับตัวในขอบเขตต่างๆที่ต้องการดำเนินการอย่างมาก

โครงการ TGC EMC ถือเป็นการร่วมมือกันที่มีความร่วมมือมาอย่างยาวนานสำหรับ 2 เขตเศรษฐกิจ ในการลดหรือเพิ่มความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมได้รับการสนับสนุนด้านการเงินในการสร้างความยั่งยืน และเพิ่มประโยชน์ให้กับตัวโปรแกรม นอกจากนี้มีการใช้ระบบเพื่อให้การใช้พลังงานหมุนเวียนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความเป็นกลางทางคาร์บอน ร่วมมือกันใช้ความท้าทายในการสร้างนวัตกรรมเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืน เป็นการทำงานร่วมกันแบบ People to people ผ่านการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างบุคคล ซึ่งมีความคาดหวังว่าจะสามารถสร้างแรงสนับสนุนให้เพิ่มมากขึ้นหลังจบโครงการเป็น Life Long Experience 

ดร.ฟิลิปป์ เบห์เรนส์ (Dr.Philipp Behrens) หัวหน้าแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) กระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) กล่าวถึงความสำคัญของโครงการ TGC EMC ว่าเป็นมากกว่าโรงการเพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังเป็นพื้นที่สำหรับการร่วมมือในการวิเคราะห์ พัฒนาเพิ่มเติม ทดลองใช้ และขยายเส้นทางการเปลี่ยนผ่าน ถือเป็นโอกาสดีสำหรับรัฐบาลไทยในการมีแผนตั้งเป้าความเป็นกลางของคาร์บอน ที่จะร่วมมือกับภาคีจากทางเยอรมนี รวมถึงการดึงภาคีเครือข่ายจาก 4 กระทรวงเข้ามาทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด 

ดร.ฟิลิปป์ยกตัวอย่างจากประเทศเยอรมนีในการตั้งเป้าให้ถึงความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ในปี 2045 ซึ่งเริ่มต้นไปแล้วในช่วงปี 90 เผยว่าระหว่างการดำเนินการประชาชนส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวลและปราศจากความเชื่อมั่น แต่ปรากฏว่าในปีที่ผ่านมา กว่า 50% ของการบริโภคเกิดขึ้นจากพลังงานหมุนเวียน ส่งผลให้เกิดเป้าหมายว่าจะทำให้เพิ่มขึ้นไปถึง 80% ในปี 2030 

นอกจากนี้โครงการ TGC EMC ลงทุนไปเป็นเงินมูลค่ากว่า 26 ล้านยูโร เป็นปริมาณที่ค่อนข้างสูง ทาง IKI จึงมีเป้าความคาดหวังในระดับสูงไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Technical Support Policies, Regulatory Framework หรือการพัฒนาศักยภาพ รวมถึงการทำให้ IKI มีบทบาททั้งในและต่างประเทศ

นักพิทักษ์โลกรุ่นเยาว์ รวมพลังพิชิตวิกฤติขยะล้นโลก

ธุรกิจอาหารทางการแพทย์เติบโตสูง รับสังคมผู้สูงอายุ คาดอีก 7 ปี มูลค่าแตะหมื่นล้านบาท

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ