TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessแบตเตอรี่ Game changer ของพลังงานสะอาด ไทยจะได้ประโยชน์อย่างไร?

แบตเตอรี่ Game changer ของพลังงานสะอาด ไทยจะได้ประโยชน์อย่างไร?

อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกยังมีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่อง โดยภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการผลักดัน หลายประเทศมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ โดยมีนโยบายที่คล้ายคลึงกัน 3 ประการ คือ 1. นโยบายผลักดันให้เกิดความต้องการใหม่ (New demand-driven) 2. นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมและการใช้งานผ่านกฎหมายและข้อบังคับ (Regulation-driven) และ 3. การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจากงบประมาณนโยบาย (Technical-driven)

SCB EIC ประเมินว่าความต้องการแบตเตอรี่ของไทยจะมีไม่น้อยกว่า 36 GWh ภายในปี 2030 จากการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจากนโยบาย 30@30 และ จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าแห่งชาติ (PDP 2018 Rev.1) ที่มีแผนการนำแบตเตอรี่ (BESS) มาใช้ ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่าความต้องการขั้นต่ำของแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบาย 30@30ของไทย รวมกันอาจมีไม่น้อยกว่า 34GWh ในปี 2030 และสำหรับภาคการผลิตไฟฟ้าจาก Solar+BESS ไม่น้อยกว่า 2.76 GWh ในปี 2030 คิดเป็นมูลค่าตลาดในปี 2030 ไม่น้อยกว่า 3,051 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การแข่งขันด้านเทคโนโลยี และต้นทุนที่ชะลอลงจะส่งผลให้ราคาแบตเตอรี่ลดลงต่อเนื่อง

ต้นทุนจากสินแร่สำคัญอย่างลิเธียมและองค์ประกอบอื่น ๆ ของแบตเตอรี่มีแนวโน้มลดลงเข้าสู่กรอบเดิมตามสภาวะปกติจากสภาวะตลาดที่เริ่มคลายตัวและอุปทานส่วนเกิน ผนวกกับการพัฒนาแบตเตอรี่ให้มี Energy density (Wh/Kg) สูงขึ้น และต้นทุนการดำเนินการ (Opex) ที่ลดลง ส่งผลให้ราคาแบตเตอรี่มีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ คาดว่าราคาแบตเตอรี่จะลดลงต่อเนื่อง โดยในปี 2024 จะลดลงราว 21% มาอยู่ที่ 121ดอลลาร์สหรัฐ/kWh และคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องโดยเฉลี่ยที่ราว 12% ต่อปี ในช่วง 2024-2027 มาอยู่ที่ 83 ดอลลาร์สหรัฐ/kWh

ราคาแบตเตอรี่ที่ลดลงในอนาคตจะยิ่งหนุนความต้องการไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้การลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจาก Solar + BESS มีความน่าสนใจมากขึ้น โดย SCB EIC ประเมิน IRR ที่ 11-15% SCB EIC ได้ทำการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้า (Utility scale) สำหรับผลิตไฟฟ้าจาก Solar + BESS ตาม PDP 2018 Rev.1ของประเทศไทย ทั้งนี้ หากเริ่มดำเนินโครงการในปี 2024 โดยลงทุนในปี 2022-2023 จะมี IRR ที่ 11-15% ที่ D/E: 2.55 อีกทั้ง IRR มีแนวโน้มดีขึ้นสอดคล้องกับต้นทุน Solar PV และราคาแบตเตอรี่ที่ลดลง

สำหรับภาคครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็ก ความเหมาะสมในการติดตั้ง Solar rooftop + แบตเตอรี่ ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มที่มีค่าไฟสูง

ด้วยต้นทุนของแบตเตอรี่ในปัจจุบันที่ยังค่อนข้างสูง ทำให้กลุ่มที่เหมาะสมที่จะติดตั้ง Solar + BESS ยังจำกัดอยู่แต่ในกลุ่มที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน เช่น บ้านขนาดใหญ่ ร้านอาหารที่เปิดถึงช่วงเวลากลางคืน (20.00 – 22.00 น.) และอะพาร์ตเมนต์หรือคอนโดมิเนียมที่มีการเปิดไฟสำหรับส่วนกลาง ซึ่งหากพิจารณาจากจุดคุ้มทุนในการติดตั้ง Solar rooftop + BESS ควรจะน้อยกว่า 10 ปี โดยหากต้องการกักเก็บและจ่ายไฟฟ้าได้ 2 ชั่วโมงหลังจากหมดไฟฟ้าจาก solar pv แล้ว จะต้องมีค่าไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 21,100 บาทต่อเดือน และกำลังการติดตั้งสูงที่ 10 kWp และหากต้องการกักเก็บและจ่ายไฟฟ้าได้ถึง 4 ชั่วโมง จะต้องมีค่าไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 61,000 บาทต่อเดือนและกำลังการติดตั้งสูงที่ 20 kWp

แม้ว่าตลาดแบตเตอรี่ยังมีโอกาสทางธุรกิจได้อีกมาก แต่ยังมีความท้าทายที่ต้องติดตามทั้งการแข่งขันในเทคโนโลยี วัตถุดิบและต้นทุนในการผลิต รวมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม SCB EIC ประเมินว่า ความท้าทายของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และการนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยที่ต้องติดตามมี 4 ประการ ได้แก่

1. เทคโนโลยีใหม่ที่พร้อมเข้ามาเปลี่ยนเกมการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เช่น การใช้ All solid state battery และการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการแพ็กแบตเตอรี่

2. ต้นทุนการผลิตที่พึ่งพิงสินแร่ราคาสูง แม้ว่าราคาจะมีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงมีปัจจัยภายนอกที่อาจกระทบให้ราคามีความผันผวน เช่น ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และมาตรการกีดกันทางการค้า

3. ราคาแบตเตอรี่ที่อาจลดลงไม่มากพอที่จะจูงใจในการติดตั้ง Solar+BESS ในกลุ่มโรงไฟฟ้า รวมถึงภาคครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็ก

4. การรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่หมดสภาพหรือครบอายุการใช้งาน
(Retired battery) แล้ว ซึ่งจะเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมสำคัญที่จะกดดันการผลิตแบตเตอรี่ในอนาคต ซึ่งประการสำคัญทั้งหมด ผู้ประกอบการไทยรวมถึงภาครัฐต้องเร่งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาต่อไป

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ