TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessFinGas ทรานส์ฟอร์มร้านแก๊ส สร้างอีโคซิสเต็มส์ผู้ใช้แก๊ส

FinGas ทรานส์ฟอร์มร้านแก๊ส สร้างอีโคซิสเต็มส์ผู้ใช้แก๊ส

FinGas แพลตฟอร์มกลางสำหรับซื้อขายแก๊สหุงต้ม ที่คนสั่งสามารถระบุสถานที่จัดส่ง ขนาดถัง และยี่ห้อ โดยระบบจะจดจำข้อมูลผู้ใช้สำหรับสั่งในครั้งต่อไป ด้านร้านค้าแก๊ส มีระบบ Point of sale (POS) สำหรับร้านแก๊สบริหารจัดการบันทึกสินค้าคงคลัง รวมถึงมอบหมายผู้จัดส่งแก๊สในแต่ละถังได้

ภรณี วัฒนโชติ CEO & CO-founder บริษัท ฟินแก๊ส จำกัด (FinGas) กล่าวกับ The Story Thailand ว่า FinGas เริ่มเปิดให้บริการและทำตลาดเมื่อเดือนเมษายนปี 2019 ปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์ร้านแก๊ส 500 ร้าน ให้บริการที่จังหวัดเชียงใหม่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี และกำลังวางแผนขยายไปถึงเมืองหลัก ๆ ทั่วประเทศไทย

“ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมามีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ มีลูกค้าใหม่เข้ามามากขึ้น ในขณะเดียวกันลูกค้าที่เป็นร้านอาหารการสั่งลดลง แต่โดยเฉลี่ยแล้วยอดโตขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์”

FinGas จับมือกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายบริษัท ปัจจุบันมีครัวเรือนที่เข้าถึงการสั่งแก๊สผ่านแอปพลิเคชันประมาณ 150,000 ครัวเรือน ซึ่งเมื่อสั่งแก๊สผ่าน FinGas จะได้รับประกันอัคคีภัยทุกการสั่ง ในวงเงินสูงสุด 50,000 บาท

ในปี 2020 นี้มีแผนที่จะขยายไปกลุ่มร้านอาหารข้างทาง (Street food) แต่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้แผนชะงักไป แต่เริ่มกลับมาดำเนินการแผนต่อเพราะสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว แผนคือจะปล่อยสินเชื่อในรูปแบบของแก๊สหุงต้มให้กับเจ้าของร้านอาหาร หรือร้านอาหารข้างทาง โดยพาร์ทเนอร์กับบริษัทสินเชื่อเข้ามาปล่อยกู้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าร้านอาหาร โดยมี FinGas เป็นตัวกลาง

พาร์ทเนอร์ร้านแก๊สต้องได้มาตรฐาน

ภรณี กล่าวว่า ปัญหาของร้านค้าแก๊สที่เกิดขึ้น คือ คนขับไปส่งแก๊สหลงทาง ซึ่งถ้าร้านแก๊สจะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าแค่ร้านเดียวก็คงไม่คุ้มทุน ลูกค้าบางส่วนมีความกังวลจากการสั่งแก๊ส ซึ่ง FinGas เข้ามาช่วยแก้ปัญหา มีระบบแจ้งเส้นทางการจัดส่ง ระบบให้คะแนนทั้งคนซื้อและร้านค้าแก๊ส เพื่อเป็นตัวควบคุมมาตรฐานและคุณภาพของร้านค้า มีระบบบริหารถังแก๊สในร้าน (POS)

รวมถึงมีอัลกอริทึมให้คนสั่งหาร้านแก๊สได้โดยอัตโนมัติในกรณีที่ร้านประจำปิดทำการ ส่วนคนที่ใช้ครั้งแรกระบบก็จะหาร้านให้อัตโนมัติเพียงแค่บอกสถานที่และยี่ห้อแก๊ส ขนาดถังที่จะใช้

ร้านค้าแก๊สที่จะเข้ามาอยู่ในระบบจะต้องมีคุณภาพ มีความตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาร้าน และทำการตลาดร่วมกันเพื่อให้คนเข้าถึงร้านค้าแก๊สได้ง่ายขึ้น

“เราเข้ามาช่วยปรับการทำงานรูปแบบเดิมที่ร้านแก๊สใช้กระดาษ เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัล เราตั้งใจที่จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรให้ร้านค้าแก๊ส โดยการเข้ามาช่วยบริหารจัดการรวมถึงทำการตลาดร่วมกัน”

ตั้งเป้าครอบคลุมหัวเมืองใหญ่ในไทย รุกตลาดเพื่อนบ้าน

ภรณี กล่าวว่า ตลาดแก๊สหุงต้มในประเทศไทยมีมูลค่าถึง 75,000 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้ในอุตสาหกรรมและใช้ในครัวเรือน ปัจจุบันข้อมูลในประเทศไทยยังแยกได้ยากเพราะยังไม่มีการจัดทำข้อมูล ถ้าร้านค้าเข้ามาใช้แพลตฟอร์ม FinGas ก็จะทำให้ระบุตัวตนของผู้ใช้ได้ดีขึ้น สามารถสร้างขึ้นมาเป็นรายงานการใช้แก๊ส เพื่อดูพฤติกรรมของผู้ค้าขาย

“เราอาจจะมองว่าแก๊สหุงต้มเป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว แต่เมื่อเทียบเพื่อนบ้านประเทศไทยเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ เพราะเพื่อนบ้านเราเพิ่งจะมีโรงงานบรรจุแก๊สหุงต้มเมื่อไม่นานมานี้”

FinGas ตั้งเป้าจะระดมทุนเพื่อขยายตลาดต่อไปในต่างประเทศ เช่น เมียนมา เวียดนาม และ อินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยจะเน้นที่จังหวัดใหญ่ก่อน ส่วนในจังหวัดเล็ก ๆ ถ้าพาร์ทเนอร์มีความสามารถที่จะบริการลูกค้าให้ครอบคลุมได้ก็เข้ามาร่วมกันได้

“ปัจจุบันเราบริหารจัดการกันเองเพราะต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัท ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาจากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจากผู้บริโภคและร้านค้าแก๊สที่ใช้ฟีเจอร์เสริมในระบบ POS ช่วยให้บริหารจัดการได้ดีขึ้น อีกส่วนหนึ่งมาจากค่าโฆษณาที่ขึ้นอยู่ในแอปพลิเคชัน”

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
ทรงกลด แซ่โง้ว – เรียบเรียง

บทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-LINE ตอกย้ำ บทบาท Beyond Super App ดันชีวิตคนไทย Life on LINE
-“ดิจิทัลพีอาร์” ฉลาดสื่อสาร เข้าใจคน-เทคโนโลยี
-“สมคิด จิรานันตรัตน์” ชูแนวคิด Thailand Digital Platform ช่วยขับเคลื่อนประเทศ
-Thailand Mobile Expo มาใหม่ในรูปแบบ “ไฮบริด” ออนไลน์/ออฟไลน์
-“โควิด-19” ขับเคลื่อนดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น “ธุรกิจ เทคโนโลยี คน” ปัจจัยสำเร็จ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ