TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessSea ประเทศไทย ขยายโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลต่อเนื่อง ผ่านช้อปปี้ (Shopee) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

Sea ประเทศไทย ขยายโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลต่อเนื่อง ผ่านช้อปปี้ (Shopee) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

องค์กรจำนวนไม่น้อยที่มีมาตรวัดความสำเร็จจากการมีความยั่งยืน หนึ่งในองค์กรเหล่านั้นคือ Sea ประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจโดยยึดโยงกับยุทธศาสตร์องค์กรที่มุ่งสร้างการเติบโตพร้อมกับการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact) ครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงการสร้าง Social Impact จากธุรกิจเกมและอีสปอร์ตอย่างการีนา (Garena) ไปแล้ว บทความนี้จะเล่าเรื่องราวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ช้อปปี้ (Shopee) ที่สร้างโอกาสและผลลัพธ์เชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมกัน ก่อนที่จะไปสู่บทความถัดไปที่จะพูดถึงพันธกิจด้านการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศหรือสิ่งแวดล้อม

ใช้ความเชี่ยวชาญด้าน E-commerce ของช้อปปี้ (Shopee) สร้าง Social Impact ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ SME

กลุ่ม SME และผู้ประกอบการ คือแกนหลักของเศรษฐกิจไทย ช้อปปี้ (Shopee) จึงมองว่าการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและทักษะผู้ประกอบการเพื่อปูเส้นทางสู่ความสําเร็จให้แก่ SME และผู้เกี่ยวข้องนับเป็นเรื่องสําคัญ จึงได้จัดทำโครงการเพื่อเสริมทักษะเหล่านี้ให้กับคนหลายกลุ่ม ทั้งผู้ประกอบการ ตัวแทนผู้กระจายความรู้ไปสู่ชุมชน และนักเรียนนักศึกษา ผ่านโครงการมากมาย เช่น  Shopee University, Shopee Bootcamp และ Digital Opportunities for Talents (DOTs) เป็นต้น 

โครงการ Digital Opportunities for Talents (DOTs) 2022 หรือ DOTs 2022 เป็นโครงการประกวดแผนธุรกิจภายใต้โจทย์ “Sustainability in Action” มุ่งพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลให้กับผู้เข้าแข่งขัน ทั้งด้านการวางแผนธุรกิจ รวมถึงการลงมือทำจริง 

Sea ประเทศไทย เริ่มโครงการ DOTs มาตั้งแต่ปี 2021 โดยโจทย์ของ DOTs 2022 ซึ่งเป็นปีที่ 2 ภายใต้โจทย์ “Sustainability in Action” รวมพลคนรุ่นใหม่ร่วมต่อยอดธุรกิจให้แก่ 30 ร้านค้า SMEs ที่ใส่ใจด้านความยั่งยืน ทั้งในมิติของสิ่งแวดล้อมและสังคม ให้สามารถเติบโต และพัฒนาต่อไปได้ในระยะยาว พร้อมชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 200,000 บาทโดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรของโครงการ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันทักษะดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งทำงานคลุกคลีกับเครือข่ายผู้ประกอบการและมีบทบาทในการสนับสนุนธุรกิจที่ใส่ใจความยั่งยืน

ผู้ร่วมโครงการ 30 ทีม ผ่านการแข่งขันอย่างเข้มข้นจนเหลือ 6 ทีมสุดท้าย นำเสนอผลลัพธ์ความสำเร็จภายในงานประกาศผลรางวัลรอบสุดท้าย (Final Presentation) เพื่อส่งต่อองค์ความรู้จากการลงมือทำจริงตลอดระยะเวลา 2 เดือนให้กับผู้ประกอบการ SME ตลอดจนร่วมคว้าเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท และในปี 2022 นี้ ทีม In it for the beers เป็นผู้ที่คว้ารางวัลชนะเลิศไปได้ด้วยแผนธุรกิจสำหรับร้าน Artstory by AutisticThai ผลงานจากจินตนาการผ่านภาพและลายเส้นผลงานศิลปะของกลุ่มเด็กและบุคคลที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้

เป้าหมายของ Sea (ประเทศไทย) คือพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและยกระดับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยด้วยเทคโนโลยี พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Nation ด้วยการพัฒนา Digital Talent โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศต่อไป

เพราะแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซนั้นไร้พรมแดน Sea (ประเทศไทย) จึงพาผู้ประกอบการไทยไปบุกตลาดต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มช้อปปี้ (Shopee) ด้วยความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน โปรแกรม “Shopee International Platform (SIP)” โปรแกรมนี้เป็นการช่วยสร้างโอกาสและลดอุปสรรคในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทย 

ผู้ประกอบการรายย่อยของไทยที่เข้าร่วมโครงการ “Shopee International Platform (SIP)” จะได้รับการสนับสนุนจากช้อปปี้ในด้านการจัดการร้านค้า เช่น การสร้างร้านค้าในต่างประเทศ การจัดการสินค้าและสต็อก การแชตกับผู้ซื้อ และการจัดส่งไปต่างประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ และจะสามารถส่งออกสินค้าไทยผ่านช่องทางของช้อปปี้ได้ โดยผู้ประกอบการเปิดเพียงแค่ 1 ร้านค้าบนช้อปปี้ประเทศไทย จะสามารถขายสู่ 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ ยังจะมีการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อเสริมกลยุทธ์ด้านการขายได้อย่างยั่งยืน

โครงการ Shopee Bootcamp เป็นความร่วมมือของช้อปปี้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มุ่งมั่นพัฒนาเสริมศักยภาพด้านอีคอมเมิร์ซให้แก่เหล่า ผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ทั่วประเทศ

โดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมศักยภาพอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ผ่านการฝึกอบรมจากหลักสูตรพิเศษที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจากช้อปปี้ โดยเนื้อหาในหลักสูตรครอบคลุมหลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ แนวทางการเริ่มต้นเป็นผู้ขายสินค้าออนไลน์ การบริหารจัดการร้านค้าบน Shopee รวมไปถึงแนวทางการพิชิตยอดขาย เป็นต้น

สร้าง Social Impact ผลักดันสินค้านวัตกรรม

เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์และยั่งยืนในระดับประเทศและนานาชาติ ช้อปปี้ยังร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(สนช.) เพื่อร่วมพัฒนาทักษะกลุ่มผู้ประกอบการสินค้านวัตกรรมบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ โดยได้รวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการนวัตกรรมไว้บนร้านค้า INNOMALL ให้เข้าถึงง่ายอีกด้วย โดยมีการพัฒนาผู้ประกอบการให้เข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ตั้งแต่การเปิดร้านค้าออนไลน์ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การวางกลยุทธ์ทางการตลาด และการวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาสินค้านวัตกรรมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

สร้าง Social Impact ไปให้ถึงระดับท้องถิ่น

ช้อปปี้ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐดำเนินการพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนการตลาดแก่ SMEs ท้องถิ่นที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและท้องถิ่น เพื่อต่อยอดความสำเร็จในโลกดิจิทัลสู่ความยั่งยืน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการ SME Hybrid Fair ที่ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สนับสนุน SME ท้องถิ่นกว่า 1,000 รายในการแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ในโลกออนไลน์ หรือ โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ OTOP ที่ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน ในการสนับสนุนผู้ประกอบการ OTOP ทั่วประเทศให้ขยายตลาดได้บนช่องทางอีคอมเมิร์ซ โดยมีผู้ประกอบการ 30 แห่ง จาก 16 จังหวัด เข้าร่วม

สร้าง Social Impact ให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุและผู้หญิง

เพราะเชื่อว่า ‘สูงวัยทำได้’ และ ‘อายุเป็นเพียงแค่ตัวเลข’ Sea (ประเทศไทย) และ ช้อปปี้ จึงทำโครงการ ‘อัปสกิลวัยเกษียณ สู่ผู้ประกอบการวัยเก๋า’ ที่นำความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซของช้อปปี้มาสร้างเสริมทักษะอีคอมเมิร์ซในผู้สูงวัย เปิดโอกาสการสร้างรายได้เสริมหลังเกษียณ และส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง จากการก้าวข้ามอุปสรรคทางด้านอายุ รวมไปถึงปลดล็อกความกลัวต่าง ๆ ตลอดเส้นทางการเรียนรู้และอัปสกิลอีคอมเมิร์ซ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ‘สูงวัยทำได้’ และ ‘อายุเป็นเพียงแค่ตัวเลข’ อย่างแท้จริง

ภาพรวมกิจกรรม มีผู้สูงวัยจำนวนมากที่ได้ร่วมเรียนรู้ พัฒนาทักษะอีคอมเมิร์ซ แบ่งปันประสบการณ์กัน สามารถเปิดร้านค้าบนช้อปปี้เป็นของตนได้สำเร็จ ซึ่งภายในระยะเวลาไม่นานหลังเริ่มเปิดร้านค้า พี่ๆ วัยเก๋าสามารถสร้างยอดเข้าชมร้านมากถึง 42,962 ครั้ง โดยมียอดออเดอร์รวมกว่า 219 คำสั่งซื้อ รวมมูลค่ากว่า 88,000 บาท

สุชญา อาภาวัฒนกิจสกุล วัย 54 ปี เจ้าของร้าน yara.projects ขายสินค้างานฝีมือและเอี๊ยมผ้าสไตล์ญี่ปุ่น ตัวแทนจากคอร์สขายได้ขายดีกับช้อปปี้ ปี 2 รุ่น 1 มีภาระที่ต้องดูแลแม่ที่บ้าน ได้ธุรกิจออนไลน์มาช่วยตอบโจทย์ชีวิต เพราะสามารถทำธุรกิจและดูแลแม่ไปพร้อมกันได้ การเรียนคอร์สนี้ ทำให้เข้าใจถึงระบบของช้อปปี้มากขึ้น มีลูกค้าเข้ามาที่ร้านมากกว่าตอนที่ยังไม่เคยเรียน รู้สึกดีที่ได้พัฒนาตัวเอง พึ่งพาตัวเองได้ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น

ยิ่ง วทนะใหญ่ วัย 73 ปี เจ้าของร้าน ลุงเป๋า ขายสินค้ากระเป๋าถือผู้หญิง ผู้เข้าร่วมอบรมที่สูงอายุที่สุด ตัวแทนจากคอร์สขายได้ขายดีกับช้อปปี้ ปี 2 รุ่น 2 เป็นผู้สูงวัยอีกคนที่ได้รับประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำด้วยตัวเอง ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะระบบอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว

เมื่อฝึกอบรมผู้สูงวัยให้ใช้เครื่องมือดิจิทัลและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสร้างธุรกิจได้แล้ว Sea (ประเทศไทย) ก็จัดแคมเปญ “ตลาดนัดเกษียณสุข ช้อปของกินของใช้ เติมไฟวัยเก๋า” บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ เพื่อเพิ่มช่องทางการรับรู้ของร้านค้าผู้ประกอบการออนไลน์วัยเก๋าในโครงการ ช่วยกระตุ้นยอดขายอีกทางหนึ่ง และส่งต่อแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนในสังคม

ช้อปปี้ เปิด ‘ตลาดนัดเกษียณสุข’ รวมร้านค้าผู้ประกอบวัยเก๋า สร้างรายได้หลังเกษียณบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ ต่อยอดความสำเร็จจากโครงการ ‘อัปสกิลวัยเกษียณ สู่ผู้ประกอบการวัยเก๋า’

ร้านค้าที่เข้าร่วมแคมเปญ ‘ตลาดนัดเกษียณสุข ช้อปของกินของใช้ เติมไฟวัยเก๋า’ กว่า 50 ร้าน ล้วนมาจากผู้ประกอบการวัยเก๋าที่เข้าร่วมโครงการฯ และผ่านการอบรมจากเวิร์คช้อป “ขายได้ขายดีกับช้อปปี้” ปี 2 ทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2 ซึ่งออกแบบให้มีเนื้อหาการเรียนรู้ครบถ้วน เข้าใจง่าย และเหมาะสมกับวัยเก๋า ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญและทีมงานที่คอยช่วยแนะนำเคล็ดลับและเทคนิคการขายออนไลน์ พร้อมตอบทุกปัญหาและข้อสงสัยอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบทเรียน และเข้าใจกระบวนการการจัดการร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซ ตลอดจนสามารถก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากผู้สูงอายุแล้ว ผู้หญิงยังเป็นอีกกลุ่มที่ Sea ประเทศไทยให้ความสำคัญ จึงได้มีโครงการ Women Made ที่สนับสนุนผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยให้สามารถใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นความร่วมมือของ Sea (ประเทศไทย) กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เพื่อนำความรู้และความเชี่ยวชาญทางธุรกิจมาต่อยอดและพัฒนาโครงการถ่ายทอดความรู้และทักษะดิจิทัล (Digital Education) ให้กับผู้คนในสังคมไทย

ต่อยอดจาก ‘Women Made’ สู่แคมเปญ ‘Women Made ช้อป 10 แบรนด์พลังหญิง’ ที่คัดเลือก 10 แบรนด์ มาเข้าฝึกอบรม Women Made Masterclass เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ การขับเคลื่อนสังคมด้วยธุรกิจ และการพัฒนาธุรกิจในโลกอีคอมเมิร์ซ และจับคู่กับเหล่าดีไซน์เนอร์จากเครือข่าย CEA Connect ทั้ง 5 ท่าน ได้แก่ ปิติ อมรเลิศวัฒนา จาก Norman Design Studio, นัยญดา ผิวดำ จาก  Studio dē cloud, นภัทรชนนันท์ นันท์ทปรีชา (@abouttongpic), ธิรดา ชนาวิโชติ และอุ้มบุญ ลิ้มน้ำคำและร่วมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของโครงการฯ แบบ One-on-one พัฒนาสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษวางขายบนช้อปปี้ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ที่ผ่านมา

จากโครงการที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มีรายได้เติบโตมียั่งยืน และสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกันเป็นสิ่งที่ทำได้และทำได้อย่างดี ซึ่ง Sea ประเทศไทยได้ทำเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและลงมือทำตามพันธสัญญาที่ต้องการสร้างการเติบโตพร้อมกับการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact) ในเวลาเดียวกัน 

Sea Thailand เดินหน้าสร้างทักษะดิจิทัลให้ระบบนิเวศธุรกิจ

ใช้พลัง การีนา (Garena) เพิ่มทักษะดิจิทัลผ่านเกม อีกหนึ่งกลยุทธ์ความยั่งยืนของ Sea (ประเทศไทย)

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ