TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistCyber Security เกราะป้องกัน IoT ปิดช่องโจมตีทางไซเบอร์

Cyber Security เกราะป้องกัน IoT ปิดช่องโจมตีทางไซเบอร์

ย้อนกลับไปในช่วงต้นของยุค 2000 เรื่องเกี่ยวกับ Internet of Things (IoT) ยังเป็นเพียงภาพในจินตนาการ แต่มาวันนี้รายงานหลายชิ้นระบุว่า ปัจจุบันมีการติดตั้งอุปกรณ์ IoT แล้ว 3.58 หมื่นล้านชิ้นทั่วโลก และจะทยานขึ้นอีกเท่าตัวภายใน 4 ปีนับจากนี้ 

Economic Times ระบุว่า ในปี 2021 โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละบ้านจะมีอุปกรณ์ IoT ราว 50 ชิ้น และเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน ลำโพง 5G จะมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการและการปฏิสัมพันธ์กับบ้านหรือธุรกิจ ขณะที่ Statista มองไกลถึงปี 2023 โดยคาดการณ์ว่า เฉพาะเครือข่าย 5G เพียงอย่างเดียวก็ผลักดันให้มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ผ่านโทรศัพท์มือถือสูงถึง 1.3 พันล้านชิ้น

ผมจึงไม่แปลกใจที่ปัจจุบันเทคโนโลยี IoT มีอยู่ทุกที่ และทวีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนวิถีชีวิตของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การออกกำลังกาย หรือแม้แต่การพูดคุย

อย่างไรก็ตาม ยิ่งโลกเข้าสู่ยุค IoT ที่ทุกสิ่งสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attacks) ซึ่งจากสถิติพบว่า 75% ของการถูกคุกคามทางไซเบอร์บนอุปกรณ์ IoT เป็นผลพวงมาจากเรื่อง Network Routers โดยมีจำนวนการโจมตีถึง 5,200 ครั้งต่อ router ต่อเดือน 

ดังนั้น ประเด็นเรื่องความปลอดภัย (Security) จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ IoT เพราะจากนี้ไปการโจมตีทางไซเบอร์จะไม่ได้จำกัดอยู่แค่โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อโครงข่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ กล้องวิดีโอ หรือแม้กระทั่งหม้อหุงข้าว

อ่านถึงตอนนี้ก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกกันไป เพราะยังไงเราก็หลีกเลี่ยงหรือหยุดยั้งเทรนด์ IoT ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดของใบโลกนี้ไม่ได้ แต่เราสามารถพัฒนาและเลือกใช้โครงข่ายที่มีความปลอดภัยสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้

หนึ่งในโครงข่าย IoT ระดับโลกที่ให้ความปลอดภัยขั้นสูง คือ โครงข่าย 0G ของ Sigfox บนเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะไกลที่ใช้พลังงานในการรับส่งข้อมูลต่ำ (Low Power Wide Area Network: LPWAN) ซึ่ง Sigfox ได้พัฒนาโครงข่ายและสร้าง ecosystem ของตัวเองขึ้น อีกทั้งใช้รูปแบบการส่งข้อความด้วยคลื่นความถี่ต่ำและเป็นปลายปิด จึงปิดช่องโหว่ในการโจรกรรมข้อมูลหรือโดนโจมตีทางไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี

Sigfox ไม่ได้เพียงเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีโครงข่าย Sigfox Network Operators (รวมถึง Things on Net ในประเทศไทย) แต่ยังเป็นผู้สร้างโครงข่าย ดูแลบำรุงรักษา และเชื่อมโยง Connectivity ให้กับผู้ใช้งานในแต่ละประเทศ ขณะที่ Sigfox Corporate จะดูแลและพัฒนาด้านเทคนิคโครงข่าย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือกับ Operators

Christophe Fourtet ผู้ร่วมก่อตั้ง Sigfox อธิบายว่า Sigfox ไม่ใช่แค่ผู้ให้บริการเครือข่าย IoT หรือ IoT Cloud Provider แต่ Sigfox เป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร IoT ที่ต้นทุนต่ำ สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลโดยใช้พลังงานน้อย แต่ประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นที่มาของโครงข่ายอัจฉริยะของ Things on Net ในฐานะผู้นำ IoT Solutions ของไทยด้วยโครงข่ายเทคโนโลยีสื่อสารชั้นนำระดับโลกและถือสิทธิ์การให้บริการโครงข่าย 0G ของ Sigfox เพียงบริษัทเดียวในประเทศไทย

ปัจจุบัน Sigfox ให้บริการครอบคลุม 75 ประเทศ โดยมีอุปกรณ์ IoT ราว 19.1 ล้านชิ้น ที่ส่งข้อความมากถึง 76.5 ล้านข้อความต่อวันบนโครงข่ายของ Sigfox 

สำหรับประเทศไทย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา แม้กระแส IoT ในไทยจะมาแรง ไม่ว่าจะเป็น gadget ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึง Smart Cities แต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน IoT ยังล่าช้า เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 แต่ผมเชื่อว่า นับจากปี 2565 เป็นต้นไป ทุกภาคส่วนจะหันมาให้ความสนใจและลงทุนเรื่อง IoT อย่างจริงจัง 

ในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ หลายธุรกิจอาจจะยังไม่อยากลงทุน แต่สำหรับเรื่อง IoT ใครทำก่อน ได้เปรียบแน่นอน

บทความอื่น ๆ ของ Things on Net

New S-Curve ด้าน Healthcare ที่กำลังมาถึง

ท่องเที่ยววิถีใหม่ในยุค IoT Disruption

0G อนาคตของสมาร์ทซิตี้

ขนของสดแบบไม่เสี่ยง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ