TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeโลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ METAVESE

โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ METAVESE

ถ้าคอนเทนต์ดี แพลตฟอร์มไหนก็รอด Tech ที่ดีต้องเป็น Tech ที่คนใช้โดยไม่รู้ตัว วารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชนไม่ตาย แต่ต้องเพิ่มทักษะใหม่หลายด้าน ให้เป็น Multi Skill มีความรู้ด้าน Business Model/ Marketing และทักษะการเล่าเรื่องใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีและแพลตฟอร์ม  ถึงจะอยู่รอด  ด้าน กสทช. เปิดวิสัยทัศน์ ใช้หลัก 5E คือ Economy/ Evidence/  Ethic/ Environment/ Equality เพื่อสื่อสารมวลชน สังคม และประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์ร่วมกัน 

พีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ขอขอบคุณผู้สนับสนุนและวิทยากรทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนและให้เกียรติเข้าร่วมเป็นวิทยากรในเวทีเสวนา “โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ METAVESE” เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เม.ย.2565 และกล่าวความเป็นมาของเวทีเสวนาฯ “เกิดขึ้นจากสิ่งที่คณะกรรมการสมาคมฯ เห็นว่าโลกของคอนเทนต์ หลาย ๆ กลุ่มของคนที่ออกไปทำคอนเทนต์ สร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มอิสระ หรือกลายเป็นสื่ออิสระประสบปัญหาหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงและเปลี่ยนเร็วมาก ขณะเดียวกัน 2 ปีของสถานการณ์โควิด โลกได้เอาเรื่องดิจิทัลเข้ามาอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สื่อจะต้องรู้ ต้องรับมือ ต้องปรับ และต้องรู้ทันของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญ

“เราไม่อาจจะเรียกตัวเองว่าเราเป็นสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ได้เพียงอย่างเดียว เรายังจำกัดความว่าเราเป็นคนผลิตคอนเทนต์ แต่การจะผลิตคอนเทนต์ให้เป็น King of Content เราต้องปรับตัวเองให้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ถ้าคอนเทนต์คือคิง แพลตฟอร์มคือควีน แล้วอะไรที่จะไกด์ให้คิงกับควีนเจอกัน มันคือ Tech เพราะฉะนั้นวันนี้ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้า ซึ่งเราได้เชิญผู้ที่เริ่มต้นสร้างคอนเทนต์ดิจิทัล 4 ท่านมาเล่าถึงประสบการณ์ มาบอกเล่าสิ่งที่คนทำคอนเทนต์จะต้องปรับ มาบอกเล่าสิ่งที่ Tech กำลังจะไป เพื่อให้คนทำคอนเทนต์เข้าใจและได้เห็นทิศทางมากยิ่งขึ้น ช่วงบ่ายยิ่งสำคัญใหญ่ เพราะคนที่ดูแลแพลตฟอร์มโดยตรงจะมาบอกเล่าเรื่องราวนี้ให้ฟัง อยากให้สิ่งที่จัดขึ้นในวันนี้เป็นประโยชน์กับคนทำสื่อ เด็กนิเทศศาสตร์ นักข่าวรุ่นใหม่ รวมถึงคนที่อยากจะออกไปทำแพลตฟอร์มของตัวเอง”

เวทีเสวนาฯ เริ่มด้วย  4 ขุนพล Digital Content  คือ ก้าวโรจน์ สุตาภักดี  Associate Director Digital Media TNN 16 กนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ชุตินธรา วัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อใหม่ สถานีโทรทัศน์ PPTV HD 36 และระวี ตะวันธรงค์ กรรมการผู้จัดการ เนชั่น ดิจิทัล คอนเทนต์ และนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมแชร์ประสบการณ์ผู้สร้างผู้บุกเบิกมาแล้วทุกแพลตฟอร์ม ผู้ดำเนินรายการสนทนาช่วงนี้คือ อรชพร ชลาดล ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี

เนื้อหาโดยสรุป คือ ทำคอนเทนต์อะไรก็ได้ที่ทำให้มีชีวิตรอด สื่ออย่างพวกเราโดนมาหมด จนต้องมาหาทางเอาตัวรอดในดิจิทัลมีเดีย ทุกเวอร์ชัน ที่เกิดขึ้นเราไปมาหมด อยากบอกว่าเวลาทำงานแล้วอยากรอดต้องวัดผลให้เป็น อะไรที่วัดผล มันประสบผลสำเร็จเสมอ เช่น คลิปที่ทำ ตั้งเป้าไว้ 1 ล้านวิว แต่รู้หรือยังว่าคลิปที่ได้ล้านวิวเขาทำกันอย่างไร

วารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชนไม่ตาย เรียนไปเถอะ แต่อาจจะต้องเติมในเรื่องของทักษะแพลตฟอร์ม แพลตฟอร์มตาย แต่กระบวนการสื่อสารไม่มีวันตาย คิดว่าเรียนสื่อสารมวลชนไม่ได้ตกงาน แต่อาจจะต้องเติมทักษะใหม่ ๆ อาจจะต้องเติมในเรื่อง Marketing และทักษะอื่น ๆ ให้เป็น Multi Skill  ให้ได้มันถึงจะอยู่รอด วิธีการเล่าเรื่องใหม่ ๆ ไอที หรือแม้กระทั่ง Business Model ถ้าคุณเป็นวารสารศาสตร์อย่างเดียวคุณตาย แต่ถ้าคุณได้ Multi Skill อย่างไรก็อยู่รอด หลักสูตรเขาเปลี่ยนไปเยอะแล้วเหมือนกัน ยิ่งถ้าได้ Multi Skill ต้องการคนครบเครื่อง ถ้าน้อง ๆ จบมาแล้วไม่หยุดเรียนรู้ จะเป็นยุคที่เฟื่องฟูสำหรับเขามาก ๆ ซึ่งมันก็จะมีช่องว่างห่างขึ้นเรื่อย ๆ กับคนที่ทำเท่าเดิม

“ไม่เฉพาะแค่นักศึกษา เพราะคนทำองค์กรสื่อเยอะ ทำเองส่วนตัวเยอะ เวลาเราทำสื่อที่ผ่านมาเราจะมีหน่วยงานแค่ไม่กี่หน่วยงาน โปรดักชั่น ฝ่ายข่าว ฝ่ายขาย การตลาด ผมเคยเชื่ออย่างหนึ่งว่าคอนเทนต์มันจะเป็นตัวโฆษณาเราเอง ถ้าเราทำคอนเทนต์ดีมันจะโฆษณาต่อประชาชน แต่ปัจจุบันมันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น หน่วยงานองค์กรสื่อหลาย ๆ ที่ขาดบุคลากร ที่เป็น Media Digital Strategy คือคนที่เรียนการตลาดและเข้าใจแพลตฟอร์ม และทำคอนเทนต์ งานข่าวที่เราทำ ยากกว่าการขายน้ำหนึ่งขวดที่จะคิดดิจิทัล มีเดีย กลยุทธ์ เพราะงานข่าวเรามี Product ออกใหม่ทุกชั่วโมง เราต้องคิดทุกวันว่าเราจะทำอย่างไรให้ข่าวขายได้ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณและจริยธรรม ผมว่าองค์กรสื่อขาดคนที่เข้าใจคอนเทนต์จริง ๆ”

“ในฐานะผู้ดำเนินรายการวันนี้ จากที่นั่งคุยกันมา พูดถึงว่า “โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ Metaverse” รู้สึกว่าที่เราจะทำได้ ณ ตอนนี้ ปรับทัศนคติ สื่อทุกวันนี้ไม่ใช่องค์กรแล้ว สื่อคือคน คนที่จะทำหน้าที่ในการสื่อสาร สารคือคอนเทนต์ เพราะฉะนั้นปรับวิธีคิดก่อนว่าสื่อคือใคร สารคืออะไร และเป้าหมายคือใคร สอง วิธีการทำงาน คิดวิธีการวัดผลหรือยัง ลองปรับกลยุทธ์ในการทำงานใหม่หรือยัง ที่เราจะต้องรับมือกับสิ่งที่มันจะวิ่งไปข้างหน้าตลอด โดยที่เราจะไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่และถอยหลังลงไปเรื่อย ๆ สาม ปรับเรื่องของวิธีการรับมือ บางทีการรับมือเราอาจจะไม่ต้องแอคทีฟตลอดไปก็ได้ 4 ท่านที่นั่งอยู่ตรงนี้รับมือด้วยการแอคทีฟมาตลอด ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด แต่สุดท้ายเรียนรู้ว่า Passive บ้างก็ได้ ตั้งรับ ศึกษา ทำความเข้าใจ แล้วหาจังหวะเวลาเหมาะ ๆ ที่เราจะสามารถแอคทีฟให้ถูกจุด สามปรับนี้หลาย ๆ คนน่าจะเอาไปปรับใช้ และลองดูว่าเราจะเป็นสื่อที่ทำคอนเทนต์หรือสารแบบไหน เพื่อให้มันประสบความสำเร็จ” อรชพร ชลาดล ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี

ต่อด้วยเวทีภาคบ่ายด้วย เปิดวิสัยทัศน์ กสทช.  โดย ศาสตราจารย์ พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ 

วิสัยทัศน์ที่จะพูด ขอใช้หลัก 5 E /  E แรกคือ Evidence ก็คือขอเน้นว่ามาจากโครงการวิชาการเพราะฉะนั้นในแง่ของการกำกับดูแลตั้งแต่ตอนที่แสดงวิสัยทัศน์กับทางคณะกรรมการสรรหาก็พูดว่ามันต้องเป็น Evidence based regulation ถือว่าเป็นการกำกับดูแลที่อยู่บนทางของหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่เราสามารถที่จะศึกษาได้แล้วก็ประเมินได้ แล้วก็ได้ที่สรุปทบทวนได้ ตั้งแต่เริ่มต้นก็คือตั้งแต่การออกแบบการกำกับดูแลนั้นต้องไปดูก่อนว่าความต้องการคืออะไรแล้วสิ่งที่เป็นกฎระเบียบที่ร่างขึ้นมาดีไซน์ออกมาสอดคล้องตรงกับความต้องการของสาธารณะในภาคส่วนต่าง ๆ นั้นก็คือทั้งตัว Industry ตั้งแต่ผู้ชม ผู้ดู ผู้ฟัง ประชาสังคมอะไรต่าง ๆ มองว่ายังไงมันทำได้จริงหรือเปล่านั้น ก็จะลดช่องว่างด้วยเพราะว่าตั้งแต่การออกแบบแล้วก็ทำให้เห็นว่าวัตถุประสงค์มันคืออะไร วิธีการคืออะไรแล้วถ้าเอาไปทำจริงมันจะเกิดผลกระทบอะไรหรือเปล่า ในแง่ของการออกแบบเสร็จแล้วก็ต้องมีการตัดสินใจจริงว่าตกลงจะเอาไปใช้อะไร ซึ่งตรงนี้ก็ต้องดูเรื่องของต้นทุน เหมือนกันว่าออกแบบการกำกับดูแลมา กลายเป็นขี้ช้างจับตั๊กแตนคือว่าเรื่องที่มันไม่ควรจะลงทุนขนาดนั้นก็ไปลงทุน แต่เรื่องที่ควรจะลงทุนไม่ลงทุนอะไรต่าง ๆ ก็คือ ความคุ้มค่า ก็ต้องดูเหมือนกัน แบบเดียวกันพอเอาไปใช้จริงแล้ว ตัดสินแล้วมาเอานี้ลองไปใช้ดูก็ต้องมีการประเมินนะที่เราเรียกกันว่า RIA หรือ  Regulatory Impact Assessment ก็คือว่าพอไปใช้จริงมันต้องมีช่วงที่เป็น trier period เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าใช้ไปแล้ว ผลเสียเกิด industry ผลเสียเกิดกับสังคมโดยรวมอะไรต่างๆ ไม่ได้แก้ปัญหา ก็ต้องทบทวนใหม่ เป็นกระบวนการที่เรียกว่า Evidence stage

E แรกก็คือว่ากำกับดูแลโดยมีหลักฐาน อย่างชัดเจนในทุกขั้นตอนในแง่ของการออกแบบการตัดสินใจเลือกวิธีการแล้วก็การทบทวน ถ้ามันไม่ดีก็ต้องปรับเปลี่ยน 

E ที่ สอง คือ Economy นี้สำคัญมากในแง่ที่ว่าเราคงจะยอมรับว่าเราเกิด Disruption ขึ้นมาอย่างน้อยใน industry ของ ทั้ง broadcast ทั้ง telecom อะไรต่าง ๆ ซึ่งการถูก Disruption ไม่ใช่แค่ทางเทคโนโลยีเท่านั้น ตอนนี้สภาพแวดล้อมเรื่องของโควิดอะไรต่าง ๆ ก็ Disruption ทุกคนและทุกคนที่อยู่ใน industry และนอก Industry ไปกันหมด ในเชิงของ กสทช. สิ่งที่สำคัญมากคือเรากำกับดูแลการสื่อสารในทุก Layer เริ่มตั้งแต่ Infrastructure telecom ต่อเนื่องมาถึงเรื่องของ Device อุปกรณ์เชื่อมต่ออะไรต่าง ๆ ต่อเนื่องมาถึงคอนเทนต์ ต่อเนื่องมาถึงแอพพลิเคชั่นซึ่งบางทีเค้าเรียก OTT ในการเข้าถึงตอนนี้ก็แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เพราะฉะนั้นนิเวศวิทยาของการสื่อสารมันมีความเกี่ยวข้องมากกว่าการสร้างการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจตรงนี้ก็คิดว่าหน้าที่สำคัญอันหนึ่ง ก็คือว่าก็ต้องดูแล  ดูแลภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง industry แน่นอนตอนนี้ก็บอบช้ำอะไรต่าง ๆ เนี่ยว่าเราจะทำยังไงที่การส่งเสริมไม่อยากเรียกว่าอุตสาหกรรมโทรคมอุตสาหกรรมบรอดแคสติ้งเท่านั้น อยากจะใช้คำว่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร หรือถ้าเกิดจะเน้นก็คงเป็นเรื่องของทางคอนเทนต์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม ซึ่งอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเนี่ยคงไม่ได้มีแค่ Audient Visual เรื่องที่เกี่ยวกับ Broadcast แต่จริง ๆ มันเชื่อมโยงไปหมด ตอนที่เกาหลีเกิด 1997 ใครดู Twenty Five Twenty One หนังเกาหลีซึ่งต่อมามีบริบททางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน มีบริบทที่เห็นชัดเจนต่าง ๆ  กลับมาเรื่องของเรารู้ว่าในหนังในบริบทของเกาหลีเนี่ยเกิดกิมจิเราเกิดต้มยำกุ้ง แต่ว่าเกาหลีสามารถที่จะสร้างวิกฤติให้เป็นโอกาสโดยการหาจุดแข็งของเขาได้ ซึ่งก็มองว่าตรงนี้ก็เหมือนกันทำไมเราไม่มองวิกฤตให้เป็นโอกาสแล้วหาจุดแข็ง เกาหลีเติบโตจากสูตรที่เป็น 3 ประสานระหว่าง 3 ส่วนภาค 3 ส่วนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเศรษฐกิจ Digital Economy หรือว่า Creative Economy เรื่องของ 3 ประสานคือเรื่องของภาคการศึกษา ภาครัฐแล้วก็ภาคอุตสาหกรรม 

ภาครัฐมีธงว่าจะดึง Soft power ตรงนี้ขึ้นมาสร้างการเติบโตจากภายใน แต่พอมองเห็นว่านี่ คืออนาคตการเติบโตจากภายในเป็นสิ่งที่เกาหลีมีของตัวเองก่อสร้างตรงนี้โดยให้โจทย์กับทางการศึกษาให้ทำโมเดลร่วมกับภาคอุตสาหกรรมแล้วสุดท้ายเกาหลีก็ได้สูตรที่ Winning เป็น Winning Formula  เมื่อก่อน Model Asian อยู่ที่ญี่ปุ่นอย่างหนังญี่ปุ่นซีรีย์ญี่ปุ่นเนี่ยคือ Model Asian ซึ่งมันใกล้ ๆ กับคนเอเชียอะไรต่าง ๆ แต่มันแพง ก็เป็นวินนิ่งฟอร์มูล่าก็เลยมองว่าตรงนี้คือถ้า กสทช. จะทำอะไรได้ในแง่ของ Culture Content Creative  Industry จะเรียกว่าอะไรก็ตามก็คือว่าอยากจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมศักยภาพ กสทช.ก็เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วเป็นองค์กรที่พูดกันตรง ๆ ว่าก็มีทุนสูงที่สุดมีทุนสูงที่สุดไม่ใช่ทุนในเงิน License ฟรีจากผู้ประกอบการ แต่ทุนในแง่คนด้วย มีคนเป็นพันนะ แล้วก็มีนักเรียนนอกเยอะแยะมากมายควรจะใช้ต้นทุนตรงนี้ให้ได้ประโยชน์ที่สุด แล้วคือมองในแง่ว่าเงินที่หล่อเลี้ยงกสทชมา Industry ก็ควรจะ Play back ทุกคนจะมี Return ให้กับ Industry ในแง่ของการคือมองไปถึงว่า กสทช ก็จะเป็น Think thank ในเรื่องของ broadcast ทั้ง Telecom เวลาที่จะมี Industry forecast ก็แค่การทำนายอุตสาหกรรมอะไรต่าง ๆ มันควรจะมาจาก กสทช. ทุกวันนี้มันไม่ใช่ เรายังต้องพึ่งอุตสาหกรรมเป็นผู้ Read เรามากกว่าด้วยซ้ำนี่ก็เป็น E ที่สอง Economy

E ที่ 3 คือเรื่อง Ethic  อันนี้สำคัญมาก Ethic คือถึงแม้ว่าสื่อจะเปลี่ยน Platform จะเปลี่ยนคนที่สร้างเนื้อหาจะเปลี่ยนแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเพียงทำช่วยพยุงให้สังคมมันดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนก็คือจริยธรรมคือในทุกส่วนจริง ๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องของสื่อ นักการเมือง ครูบาอาจารย์อะไรต่าง ๆ ก็ต้องมี Ethic ทั้งนั้น แต่ว่าค่าส่วนนี้เนี่ยเป็นเรียกว่าอะไรเป็นตัวคูณแล้วกัน เพราะว่าการแพร่ภาพออกอากาศหรือว่าการเป็นแพลตฟอร์มในการที่แพร่กระจายเนื้อหาต่าง ๆ ที่คนสื่อสารถึงกันได้เนี่ยมันคือมา Multiplier มหาศาล เพราะฉะนั้น Ethic สำคัญมาก แล้วเราก็คุยกันได้รับรู้ Innovation ใหม่ ๆ ว่าควรจะมีเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่จะใช้คนหรืออะไรต่าง ๆ

แทนที่จะรอให้สังคมมาช่วยตรวจสอบ องค์กรวิชาชีพ กับองค์กรกำกับดูแลทำงานด้วยกันไหมโดยเน้นเรื่องของจริยธรรมแล้วก็พยายามลดการใช้กฎหมายทุกคนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมโทรทัศน์วิทยุคงรู้จักมาตรา 37 ของพรบ.กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ก็เป็นมาตราที่ว่าด้วยเนื้อหาที่ต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศจริง ๆ มีอยู่ 4 ข้อซึ่งจริง ๆ แล้วเนี่ยมันต้องตามกฎหมายจริงก็ต้องปรู๊ฟ ว่าเนื้อหาเนี่ยจะก่อให้เกิดผลตาม 4 ข้อนี้อย่างร้ายแรงจริง ๆ แต่ที่ผ่านมาเราจะเจอว่ามัน Over used แล้วกันนะ มันถูก Over used  มาตรา 37 อันนี้ไม่แน่ใจ 

เพราะฉะนั้นก็ Ethic ก็จะเป็นสิ่งที่ขอมุ่งเน้น แล้วก็ไม่ใช่มุ่งเน้นในแง่ที่ว่าเอากฎหมายกับไปกำกับจริยธรรมแต่ว่าจะเสริมแรงทำงานร่วมกับองค์กรวิชาชีพองค์กรสื่อกับคนในวิชาชีพสื่อเพื่อทำให้ Ethic เกิดผลจริง  ๆ เพราะ กสทช. ไม่มีทางรู้เท่ากับคนทำงานอยู่แล้ว ว่าเนื้อหากระบวนการออกมายังไงถ้าเกิดเราจะทำให้เกิด ethic เนี่ยมันก็ตรงไหน นั่นตรงช่องว่างเดิม ๆ ที่แบบเป็นลักษณะสั่งการควบคุมเรียก Command  control  regulation ของอดีตควรจะต้องลดลงแล้วก็ทำยังไงให้เป็นลักษณะที่ร่วมมือกันมากขึ้น ยิ่งข้อมูลจากทาง industry จากผู้ประกอบการจากวิชาชีพมากขึ้นเนี่ย กสทช. ก็ทำงานได้ดีขึ้นในการการใช้ Ethic อีกเรื่องหนึ่ง

E ที่ 4 -Environment ที่เป็นนิเวศวิทยาของการสื่อสารก็คือเน้นว่าคนอยู่ด้วย Device ก็คือ Media environment หรือว่า Online environment เป็นสิ่งที่แวดล้อมคนมากที่สุด จะทำยังไงในส่วนที่เราเกี่ยวข้องที่จะสร้าง environment ตรงนี้ให้ที่สุด โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นคนที่เป็น Consumer หลักของ Device เหล่านี้ มี Area หนึ่ง ที่รู้สึกว่า กสทช. ก็อาจจะยังไม่ได้ทำเท่าไหร่หรืออาจจะไม่ได้เห็นละอาจจะทำก็ได้คือเรื่องของ information  ซึ่ง information เนี่ยมันเป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็น Solution เป็นเป็นมลภาวะอย่างสูงใน mediaว่าใน Communication environment ในปัจจุบัน งั้นอันนี้ก็อาจจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราก็ยังคงพยายามที่จะทำงานร่วมกับทั้งองค์กรวิชาชีพแล้วก็นักวิชาชีพว่าจะทำยังไงให้ environment Media หรือว่า Communication environment เนี่ย มันน่าอยู่และยั่งยืนมากขึ้น

E สุดท้ายคือ Equality นี้ก็บอกตรง ๆ ว่าในอดีตที่ผ่านมามันอาจจะมีความไม่เท่าเทียมในแง่ของความสัมพันธ์เท่าไหร่ระหว่างองค์กรกำกับดูแลกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะเป็นวงวิชาชีพ อุตสาหกรรมหรืออะไรต่าง ๆ ก็เราควรจะทำงานในระนาบที่เป็นเพื่อนกัน พูดง่าย ๆ แล้วก็เลยอยากให้เกิด Equality ตรงนี้นิดนึงแล้วก็อยาก จริง ๆ ก็พูดลำบากนะคือเดี๋ยวก็ทำงานกันไปแล้วก็เจอกันแล้วก็เรียนรู้ซึ่งกันและกันแต่ว่าไม่อยากจะ Overcame อยากให้มันเป็นภาพที่เป็นอยู่ระนาบเดียวกันทำงานด้วยกันเพราะจริง ๆ ก็เป้าหมายแล้วไม่น่าจะต่างกันนะแล้วก็คือต้องการสร้าง Environment ที่ดีนั้นก็คือขอให้มีการทำงานในแง่ Partnership อันนึงแล้วก็อีกอันก็คือว่าการในแง่ของสื่ออาจจะมาจากพื้นฐานที่เป็นนักวิจัยด้วยก็คือว่ารู้สึกว่าเรา Representation เรื่องของการเป็นตัวแทน หรือการเป็นตัวแทนของคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเนี่ย เราอยากจะให้สื่อให้พื้นที่กับคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเท่าเทียมมากขึ้น ก็จะมีแน่นอนมีความไม่เท่าเทียมอยู่ในทุกมิติแต่เป็นมิติทางด้านกายภาพ ความพิการหรือเรื่องของ Gender เรื่องของเพศสภาวะ หรือ ว่าเรื่องของชนกลุ่มน้อยหรืออะไรต่าง ๆ มีเยอะมากนะแล้วก็หรือแม้แต่เรื่องของทั้งทางการเมือง ก็เหมือนกันนั่นก็เป็นจุดที่แบ่งนั้นก็คือว่าอยากจะให้สื่อเนี่ยทำงานร่วมกันแล้วก็มี Eco Representation for all ก็เป็น 5 E ที่คิดไว้นะอาจจะไม่ครบทั้งหมดก็อยากพอนำเสนอเพื่อเริ่มต้น Equality

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ พิรงรอง รามสูต กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์  ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลังขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ บนเวที “โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ Metaverse”  ว่า การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน เป็นส่วนสำคัญในการทำงานด้านสื่อในทุกแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะการทำงานของสื่อโทรทัศน์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการของสื่อโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อหลัก ปรับตัวได้อย่างดีมาตลอด โดยเฉพาะการนำเนื้อหาลงสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงผู้รับสารในทุกกลุ่ม

ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค Metaverse โลกเสมือนจริง เหนือจักรวาล ตามความหมายของเทคโนโลยีนี้ กสทช.พร้อมรับมือและให้การสนับสนุนได้หลายส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ รวมถึงด้านโทรคมนาคม ในแง่การกำกับดูแล มองว่า อะไรที่เกินความจำเป็น ก็สามารถลดต้นทุนให้เข้าถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น ส่วนเรื่องคอนเท้นท์หรือเนื้อหา  ก็จะสนับสนุนไม่ให้ถูกมองว่า คอนเท้นท์กระจุกอยู่ในสื่อประเภทใดประเภทหนึ่ง ไม่ใช่แค่ ซีรีส์ หนัง ละคร หรือข่าว ทำให้เป็นในลักษณะข้ามแพลตฟอร์มได้  สื่อทีวี ปรับตัวมาเยอะและเข้าสู่ออนไลน์มากขึ้น แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้น คือ ไม่ควรมองข้ามเรื่องความถูกต้องของเนื้อหาภายใต้จริยธรรม ซึ่งกังวลว่า หาก สื่ออยู่ในโลก Metaverse ซึ่งไม่มีพรมแดนที่ชัดเจนในคำว่าดิจิทัลออนไลน์ ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ เพราะบางทีคนในสังคมออนไลน์อาจจะป้อนข้อมูลที่บิดเบือน หรือ Fake News จึงต้องอาศัย สื่อทีวี เป็นเสาหลักในการตรวจสอบเพื่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของสื่อเอง

ปิดท้ายเวทีเสวนาฯ ด้วย เจาะลึกนวัตกรรมเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม คอนเทนต์ รายได้และความน่าเชื่อถือ ในอุตสาหกรรมสื่อ โดยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญจาก AIS TURE และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน

เนื้อหาสาระเรื่องเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยสรุปคือ ผู้ให้บริการเครือข่าย เตรียมความพร้อม มีความพร้อมในการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างไร ในมุมของสื่อสารมวลชน ผู้ผลิตคอนเทนต์  ควรศึกษาแพลตฟอร์ม พฤติกรรมผู้บริโภค สิ่งสำคัญคือ จินตนาการในอุตสาหกรรมสื่อ DATA จากผู้ให้บริการนำมาใช้ในการสร้างคอนเทนต์และวางแพลตฟอร์ม  การทำดาต้าเพื่อธุรกิจ ทำ Service ให้กับองค์กร Blochian Core Immersive +เทคโนโลยี+AI /Storytelling

“สื่อ+คอนเทนต์+เทคโนโลยี สื่อต้องรู้ว่า คอนเทนต์ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอย่างไร? ถ้าคอนเทนต์ดี แพลตฟอร์มไหนก็รอด ในยุคที่ใครๆ ก็เป็น Content Creator , Content Provider และถึงแม้ว่าเทคโนโลยี จะเปลี่ยนแปลงเร็วมากแค่ไหนภาคอุตสาหกรรมสื่อจะทำอะไร แต่  Mindset กระบวนการทางความคิด ยังคงสำคัญที่สุด”การสร้างความรับรู้การเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีต้องไม่ใช่การ Educate แต่ “เทคโนโลยีที่ดีต้องเป็นเทคโนโลยีที่คนใช้โดยไม่รู้ตัว” 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ