TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnology"โทรคมนาคมแห่งชาติ" หนุนดิจิทัลภาครัฐ-เพิ่มการแข่งขัน-ลดลงทุนซ้ำซ้อน

“โทรคมนาคมแห่งชาติ” หนุนดิจิทัลภาครัฐ-เพิ่มการแข่งขัน-ลดลงทุนซ้ำซ้อน

ในที่สุดปรากฏการณ์ควบรวมรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งก็ยุติลงอย่างเป็นทางการในวันนี้ (7 ม.ค 64)  เมื่อ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ National Telecom Public Company Limited: NT Plc. ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการจากการควบรวมของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดูแลการสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยกระทรวงการคลังถือหุ้น 100%

-กสทช.-สทค. และผู้ให้บริการโทรคมนาคม 9 ราย จัดตั้งศูนย์ TTC-CERT รับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์
-Edge เป็นโอกาส ภัยคุกคาม หรือการรบกวนสำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมกันแน่?

ความพยายามในการควบรวมบริษัททั้ง 2 แห่งนี้ มีมานานกว่า 18 ปี ตั้งแต่สมัย นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี พ.ศ. 2545 ต้องการควบรวมกันเพื่อให้ทั้ง 2 บริษัทอยู่รอด แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นมีความพยายามอีกหลายครั้ง จนเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563 การควบรวมกิจการระหวางทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ก็เป็นจริง

การควบรวมครั้งนี้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มองว่าเป็นเรื่องที่ดี ลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการของ 2 องค์กร ในขณะที่บริษัทใหม่จะสนับสนุนนโยบายของรัฐในการพัฒนาระบบดิจิทัลต่อไป นอกจากนั้นจะทำให้มีโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรมากที่สุด มูลค่าสินทรัพย์มากถึง 300,000 ล้านบาท ได้แก่

  • เสาโทรคมนาคมกว่า 25,000 ต้นทั่วประเทศ  
  • เคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมต่อไปยังทุกทวีป 
  • ถือครองคลื่นความถี่หลักเพื่อให้บริการรวม 6 ย่านมีปริมาณ 600 เมกะเฮิรตซ์ 
  • ท่อร้อยสายใต้ดินมีระยะทางรวม 4,600 กิโลเมตร 
  • สายเคเบิลใยแก้วนำแสง 4 ล้านคอร์กิโลเมตร 
  • Data Center 13 แห่งทั่วประเทศ
  • ระบบโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่เข้าถึงจากทุกประเทศในโลก

“ประเทศไทยกำลังจะแสดงให้โลกเห็นว่าความยิ่งใหญ่ของ ศักยภาพของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) มีมากเพียงไหน”

แม้การควบรวม รัฐวิสาหกิจ 2 แห่งนี้สำเร็จตามที่ รมต.ดีอีเอส คาดหวัง แต่ยังมีไม่ลงตัวหลาย ๆ อย่าง ซึ่งพนักงานทั้ง 2 องค์กรยังอยู่ในอาการ มึน งง มีคำถามค้างคาใจ เช่น โครงสร้างของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) จะเป็นอย่างไร คณะกรรมการและคณะผู้บริหาร โรงสร้างการปฏิบัติงานจะเป็นอย่างไร

เนื่องจากจำนวนบุคลากรรวมมีถึง 30,000 คน และตามที่บริษัท ที่ปรึกษากำหนดโครสร้างคือ มีรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 18 สายงาน  ตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ มากกว่า 30 คน ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจำนวน  119 คน และผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย มากกว่า 230 คน ผู้จัดการส่วนราว 2,000 คน ซึ่งยังไมได้มีการจัดสรร

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่น ที่เชื่อมโยงการควบรวมในครั้งนี้  เช่น กรณี  กสทช. เรื่องการโอนใบอนุญาตรวมถึงประเด็นในเรื่องผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้อง เรื่องผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาด หรือครอบครองปัจจัยการผลิตหรือการเข้าถึงบริการบางประเภท

"โทรคมนาคมแห่งชาติ" หนุนดิจิทัลภาครัฐ-เพิ่มการแข่งขัน-ลดลงทุนซ้ำซ้อน

กรณีตลาดค้าปลีก 5 ตลาด ได้แก่

-ตลาดบริการโทรศัพท์ประจำที่ภายในประเทศ TOT มีส่วนแบ่งตลาดเกือบ 80% ส่วน CAT ประมาณ 2%
-ตลาดบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ TOT มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 2% ส่วน CAT 65%
-ตลาดบริการอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ TOT มีส่วนแบ่งตลาด 0.5% ส่วน CAT 2%
-ตลาดบริการอินเทอร์เน็ตประจำที่ TOT มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 18% ในขณะที่ 3BB มีส่วนแบ่งตลาด 33% และ ทรูอินเทอร์เน็ต มีส่วนแบ่งตลาด 38%
-ตลาดบริการเกตเวย์อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ มีผู้เล่น 4 คน ได้แก่  CAT, TOT, AWN และ TIG เป็นตลาดที่ปริมาณแบนด์วิดท์ที่ใช้เชื่อมต่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย

ยังไม่รวมตลาดค้าส่งอีก 6 ตลาด ซึ่งต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะการควบรวมครั้งนี้ มีผลกระทบต่อตลาดโทรคมนาคมของไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งจำนวนผู้ประกอบการในตลาดและสัดส่วนที่มีอำนาจเหนือตลาด ทั้ง กสท. โทรคมนาคม  และ ทีโอที ถือเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน มีบทบาทในวงการโทรคมนาคมอย่างมาก ทั้งในฐานะ ผู้ให้สัมปทาน  ผู้กำกับดูแล (ก่อนมี กทช. กสทช.) คู่แข่งเอกชน และอื่น ๆจนถึงวันควบรวมก็ยังสร้างความสั่นสะเทือนในวงการ ซึ่งทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกำลังจับตามอง อย่างใจจดจ่อ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ