TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewระบบการเข้า-ออกอาคาร แบบไร้สัมผัส คือ New Normal

ระบบการเข้า-ออกอาคาร แบบไร้สัมผัส คือ New Normal

ฉากทัศน์ของระบบการเข้า-ออกอาคาร ในยุค New Normal หลังจากโควิดนี้จะมีความแตกต่างจากเดิมเพราะโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องระมัดระวังตนเองเมื่อต้องสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ และสัมผัสกันระหว่างบุคคล เช่น การจับมือทักทายกัน หรือจับลูกบิดประตู ทำให้ ระบบการเข้า-ออกอาคารแบบไร้สัมผัสในรูปแบบต่าง ๆ จะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสผ่านทางจุดสัมผัสต่าง ๆ ได้ 

อเล็กซ์ ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ธุรกิจ Physical Access Control ประจำภูมิภาคอาเซียน ของ HID Global บริษัทด้านโซลูชันการระบุตัวตน กล่าวกับ The Story Thailand ว่า การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือเพื่อการเข้า-ออกอาคารนั้น จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของธุรกิจระบบการเข้า-ออกอาคาร ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ โดยจะได้รับความนิยมในระดับต้น ๆ เพราะผู้ใช้จะไม่ต้องสัมผัสสิ่งอื่นใดเมื่อต้องใช้งาน 

นอกจากนั้นการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเข้า-ออกอาคารนั้นทางผู้ดูแลระบบยังสามารถที่จะส่งมอบและถอนบัตรที่อยู่ในโทรศัพท์ของผู้ใช้งานได้ผ่านทางระบบเครือข่ายซึ่งเป็นการลดปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในที่ทำงานได้

นอกจากโซลูชันแบบไร้สัมผัสแล้ว ความปลอดภัยในการเก็บข้อมูล ก็จะเป็นสิ่งที่ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการให้ความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน ระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และข้อมูลส่วนบุคคล จะเป็นทรัพย์สินที่มีค่ายิ่งขององค์กร การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดการนำดิจิทัลมาใช้ ซึ่งก็จะเพิ่มความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ด้วย ดังนั้น บริษัทจึงต้องมีมาตรการปกป้องและสร้างความไว้วางใจ รวมทั้งปรับเปลี่ยนมุมมองผู้บริหารในเรื่องของมาตรการความปลอดภัยด้วย

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจต่างก็ได้ตระหนักแล้วว่ามาตรการด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพนั้น เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจแทนที่จะเป็นการบริหารต้นทุนเหมือนสมัยก่อน 

ระบบการเข้า-ออกอาคาร แบบไร้สัมผัส คือ New Normal

ในยุคดิจิทัลนี้ โซลูชันใหม่ ๆ ยังต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้เพื่อเก็บข้อมูลให้บริษัทและธุรกิจต่าง ๆ สามารถส่งมอบบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องอาศัยโซลูชันที่ครบวงจรซึ่งระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวไม่สามารถทำได้ อีกทั้งยุคดิจิทัลนี้จะให้ความสำคัญกับส่วนงานบริการมากกว่าการมุ่งผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียว 

การใช้มือถือคู่กับแอปพลิเคชันสำหรับการเข้า-ออกอาคาร ยังทำให้ได้ข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งในเรื่องของความถี่ในการใช้งานและการเคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลเชิงลึกนี้ มาใช้ออกแบบโซลูชันที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพการบริการได้ 

โซลูชันดังกล่าว ยังต้องสามารถประสานกับระบบหรือแพลตฟอร์มที่มีอยู่ได้ง่าย และใช้เทคโนโลยีที่เชื่อที่ได้ที่สามารถปกป้องและป้องกันการโจมตีทางอิเล็กโทรนิคต่าง ๆ เนื่องจากความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และระบบ

เทคโนโลยีระบบเข้าออกอาคารยุค new normal 

จาก scenario ที่เปลี่ยนไปนี้ ทำให้ต้องมีการปรับเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับดูแลการเข้าออกอาคาร มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้งานในระบบเข้าออกอาคารยุค new normal อเล็กซ์ ตัน กล่าวว่า สามารถปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้ตอบโจทย์ในยุค new normal และช่วยให้บริษัทองค์กรต่าง ๆ บริหารจัดการให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานได้อย่างปลอดภัยได้ ซึ่งส่วนใหญ่ คือ โซลูชันเพื่อลดการสัมผัสต่าง ๆ อาทิ เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการผู้มาติดต่อ ซึ่งหลังจากการลงทะเบียนเพื่อรับรองตัวตนที่จุดทางเข้าแล้ว ระบบก็จะติดตามความเคลื่อนไหวไปยังจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร ซึ่งจะเป็นประโยชน์หากมีเหตุต้องติดต่อกลับไปในภายหลัง 

นอกจากนี้ นโยบายที่เหมาะสมและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า จะทำให้การเคลื่อนไหวไปยังจุดต่าง ๆ ของผู้มาติดต่อมีความปลอดภัย ซึ่งโซลูชันที่ใช้ มีทั้งที่เป็นระบบปฏิบัติการเดี่ยว หรือเชื่อมต่อเข้ากับระบบควบคุมการเข้า-ออกขององค์กร ระบบจะมีการแจ้งเตือนเมื่อมีการลงทะเบียนของผู้มาติดต่อ รวมทั้งผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำงานในอาคาร เครื่องสแกนใบขับขี่ บาร์โค้ด กล้องถ่ายรูป และ printer ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ขั้นตอนการลงทะเบียนมีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์มากขึ้น

ติดตามตำแหน่งการเคลื่อนที่แบบเรียลไทม์

เทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ ที่มีทวีความสำคัญขึ้นในยุค new normal นี้คือ การเฝ้าติดตามตำแหน่งการเคลื่อนที่ของผู้คนแบบเรียลไทม์ โดยใช้ระบบเฝ้าติดตามและการเว้นระยะห่างที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ ตรวจสอบระดับความหนาแน่นของการใช้พื้นที่ในแต่ละจุดได้ 

ระบบการเข้า-ออกอาคาร แบบไร้สัมผัส คือ New Normal

นอกจากนี้ ยังช่วยให้การจัดสรรพื้นที่เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ Beacon ที่เชื่อมต่อกันสามารถบอกความหนาแน่นภายในห้องได้ เพื่อดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างหากมีความหนาแน่นมากเกินไป และระบบยังสามารถระบุหาหาผู้ติดเชื้อ รวมทั้งผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อได้ด้วย

อีกหนึ่งคุณสมบัติสำคัญของโซลูชันการเข้า-ออกอาคารแบบไร้สัมผัสคือ เทคโนโลยี Over-the-Air Credentialing ที่ช่วยลดปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในขั้นตอนต้อนรับลงทะเบียนผู้มาติดต่อ จึงช่วยลดปัจจัยเสี่ยงลงได้เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การซื้อหนังสือในรูปแบบดิจิทัล ที่หนังสือจะถูกส่งไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้อ่านของผู้สั่งซื้อได้เลย

การใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้า-ออกที่ช่วยลดการสัมผัสนี้ มี iBeacon ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ IoT เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย และสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่ง HID Signo เครื่องอ่านบัตรในระบบควบคุมการเข้า-ออก ของ HID มีระบบที่รองรับเทคโนโลยี iBeacon นี้ได้ จึงสามารถปลุกแอปพลิเคชันของ HID ที่อยู่ในมือถือของผู้ใช้งานได้ เช่น เมื่อผู้ใช้งานเดินใกล้ถึงประตูทางเข้า แอปในมือถือก็จะถูกปลุกขึ้น และเชื่อมต่อสัญญาณกับเครื่องอ่านที่ประตู ทำให้ประตูเปิดได้อัตโนมัติ 

สถาปัตยกรรม API แบบเปิด ทำให้ระบบการเข้า-ออกอาคารที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันของอาคารหรือกลุ่มคอมมูนิตี้ ช่วยเพิ่มความไว้วางใจในระบบนิเวศ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น และใช้แอปพลิเคชันได้บ่อยขึ้น 

นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากการใช้แอปพลิเคชันแต่ละครั้งของผู้ใช้ ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อโอกาสทางธุรกิจ และรายได้ใหม่ ๆ ผ่าน Big Data ซึ่งที่ผ่านมา เรามองเห็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากที่บริษัทเจ้าของอาคารได้ผสมผสาน Mobile Access ของ HID เข้าไปในแอปพลิเคชันของอาคาร เพื่อปรับปรุงคุณภาพการทำงานของแอปพลิเคชันให้ดีขึ้น

“ภายหลังโควิด-19 ผมคิดว่าโซลูชันการเข้า-ออกอาคารโดยรวมจะมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้มากขึ้นด้วย โดยสามารถใช้เพียงโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวในการผ่านการเข้า-ออกอาคารรวมทั้งใช้ร่วมกับเครื่องอ่านบัตรในระบบอื่นๆ เพื่อการยืนยันตัวตน ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบการใช้งานผ่านทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้น และครอบคลุมทั้งการใช้งานภายในและภายนอก ผู้ใช้งานสามารถใช้งานระบบต่างๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกสบาย และราบรื่นไม่ติดขัด ในขณะเดียวกัน ระบบก็มีการเฝ้าติดตาม และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ