TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnology‘ปริญญา หอมเอนก’ แนะเพิ่มภูมิคุ้มกันดิจิทัล ลดความเสี่ยงที่มากับดิจิทัล-เพิ่มความเท่าเทียม

‘ปริญญา หอมเอนก’ แนะเพิ่มภูมิคุ้มกันดิจิทัล ลดความเสี่ยงที่มากับดิจิทัล-เพิ่มความเท่าเทียม

“Digital Transformation” ก้าวมาปฏิวัติโลกครั้งใหญ่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกมิติ โดยเฉพาะด้านความมั่นคงปลอดภัยยิ่งต้อง “รู้ และตามให้ทัน” โดยเฉพาะ “Digital Risk & Digital Inequality” เป็นแนวโน้มใหม่กำลังเปลี่ยนโลกดิจิทัลอย่างสิ้นเชิง ต้องเตรียมความพร้อมรับมือ เพียง 4 เดือนมูลค่าความเสียหายจากความเสี่ยงและความไม่รู้มีกว่า 3,000 ล้านบาท

อ.ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า Digital Risk และ Digital Inequality กำลังเป็น new trend ของโลกในเวลานี้

ทั้งนี้ พื้นฐานสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ต้องรู้และตามให้ทันนับจากนี้ไปมี 2 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ 1. จากความเสี่ยงด้านไซเบอร์ ไปสู่ความเสี่ยงด้านดิจิทัล (From Cyber Risk to Digital Risk) 2. จากความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล ไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันทางดิจิทัล (From Digital Divide to Digital Inequality)

แต่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่ทราบว่า ประเด็นดังกล่าวแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากผู้นำหน่วยงานระดับชาติ ผู้บริหารองค์กร รวมทั้งประชาชน ไม่รู้ไม่เข้าใจให้ถ่องแท้อาจตกเป็นผู้สูญเสียโดยไม่ทันตั้งตัว

“Digital Transformation ได้สร้างสภาวะให้โลกที่เราอยู่มีความซับซ้อน ผันผวน และยากที่จะเข้าใจ แต่เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจสิ่งที่เป็น Known Unknown Risks ของ Donald Rumsfeld ซึ่งต้องเตรียมความพร้อม และแก้ปัญหาต่างๆ ให้ทัน เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจคำจัดกัดความของ Digital Risk และ Digital Inequality เสียก่อน”

“From Cyber Risk to Digital Risk”

“Digital Risk” เป็นความเสี่ยงภัยรูปแบบใหม่ที่เกิดจากสิ่งใหม่ๆ ไม่จำเป็นที่ภัยจะต้องมาจากแฮกเกอร์ เช่น เทคโนโลยีใหม่ กฎระเบียบใหม่ หรือการให้บริการใหม่ๆ ฯลฯ 7 ความเสี่ยง เช่น Technology Risk เทคโนโลยีที่ใช้มีช่องโหว่, Automation Risk เกิดจากการตัดสินใจผิดของ AI, Compliance Risk เกิดจากองค์กรไม่มีความแม่นยำในเรื่องกฎระเบียบ กฏหมาย, Data Privacy Risk องค์กรนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไปใช้โดยไม่ได้ขอความยินยอม, Third-party Risk คู่ค้าถูกแฮก ทำให้องค์กรของเราได้รับผลกระทบไปด้วย

จากอดีตเรารู้จัก Cyber Risk เป็นความเสี่ยงที่อาจถูกโจมตีทางไซเบอร์ เช่น มัลแวร์ ฟิชชิ่ง แรนซัมแวร์ มักเป็นความเสี่ยงที่มาจากปัจจัยภายนอก ถ้าองค์กรสร้างระบบ ระเบียบ นโยบาย แนวทางปฏิบัติ และฝึกวินัย จะป้องกันภัยเหล่านี้ได้ระดับหนึ่ง

ที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1 มี.ค – 27 มิ.ย. 2565 มียอดสะสมคดีโจมตีทางไซเบอร์ที่เข้าแจ้งความกว่า 44,000 คดี มูลค่าความเสียหายมากกว่า 3,000 ล้านบาท แต่ถ้านับรวมยอดที่ไม่ได้แจ้งความอาจมีมูลค่าความเสียหายเพิ่มเป็น 2 เท่า

“From Digital Divide to Digital Inequality”

ส่วน “Digital Inequality” คือความเหลื่อมล้ำทางความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น คนมีสมาร์ทโฟนใช้เหมือนกัน แต่คนกลุ่มหนึ่งมีความสามารถตั้งค่าความปลอดภัยไม่ให้แอปเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ภายในเครื่อง แต่คนอีกกลุ่มไม่รู้และไม่มีทักษะที่จะตั้งค่าความปลอดภัยดังกล่าว

ต่างจากอดีตที่เราพูดถึง “Digital Divide” เกิดความเหลื่อมล้ำความไม่เท่าเทียมทางดิจิทัล พื้นที่ห่างไกล-คนยากไร้ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ เข้าไม่ถึงดิจิทัล

ทั้งนี้ งานวิจัยของ Center for Long-Term Cybersecurity (CLTC) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในหัวข้อ “Improving Cybersecurity Awareness in Underserved Populations” ระบุว่า ผู้ที่ด้อยโอกาสส่วนใหญ่จะมีความรู้ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ต่ำกว่ากลุ่มคนที่มีโอกาส

ผู้นำต้องเตรียมความพร้อม

ทั้ง Digital Risk และ Digital Inequality เป็นแนวโน้มใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาระดับโลก แต่เป็นเรื่องที่สามารถป้องกันได้ “ถ้าเข้าใจ และรู้ทันภัย” โดยการนำแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่ถูกต้องมาใช้ ดังนั้นผู้บริหารองค์กร ผู้นำหน่วยงานระดับชาติล้วนต้องเตรียมความพร้อมให้เร็วที่สุด

แนวโน้มใหม่ๆ เหล่านี้ ได้นำเสนอในงาน CDIC 2022 การสัมมนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 21 ระหว่างวันที่ 9–10 พฤศจิกายน 2565 ภายใต้แนวคิด “Optimizing Security of Things and Digital Supply Chain Risk”

ภายในงานได้รวบรวมองค์ความรู้ที่เหมาะกับองค์กรในประเทศไทย แนวทางปฏิบัติเพื่อเตรียมองค์กรและบุคลากรให้พร้อมรับมือกับ Digital Risk และ Digital Inequality สภาวะใหม่ในยุคที่มีแต่ความเปราะบาง (Brittle) ความวิตกกังวล (Anxious) คาดเดาได้ยาก (Nonlinear) และยากที่เข้าใจได้ (Incomprehensible) หรือที่เรียกว่า BANI World ทั้งยังรองรับกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งการจัดการความเสี่ยงในยุคข้อมูลดิจิทัล ความก้าวหน้าของ Blockchain, AI-powered, Quantum ที่นำมาใช้ทั้งด้านบวกและด้านลบ การ upgrade version ของ ISO/IEC 27002:2022 เวอร์ชั่นใหม่

รายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://www.cdicconference.com/

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ศูนย์วิจัยกสิกร มองปี 65 ตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจะทยอยเติบโต เนื่องจากอยู่ในช่วงเริ่มต้น

KOMILO ผลงานนักศึกษา ม.พระจอมเกล้าธนบุรี ชนะรางวัล JAMES DYSON AWARD 2022

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ