TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเมื่อ E-commerce เติบใหญ่ โอกาสลงทุนอยู่ไหนบ้าง?

เมื่อ E-commerce เติบใหญ่ โอกาสลงทุนอยู่ไหนบ้าง?

รู้หรือไม่ว่า ปี 2563 มูลค่ายอดขายค้าปลีกออนไลน์ทั่วโลก มีมูลค่าสูงถึง 4.28 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.3% จากปีก่อนหน้า 

Statista คาดว่า ยอดขายค้าปลีกออนไลน์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 ปีนี้ โดยจะมีมูลค่าสูงถึง 5.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2565 

ยิ่งปีที่ผ่านมา โลกเราเผชิญวิกฤติ Covid-19 มาตรการล็อกดาวน์ รักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ผู้คนทั่วโลกต้องพึ่งพาการซื้อของออนไลน์มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ 

บทบาทของแพลตฟอร์ม E-commerce จึงมีอิทธิพลมากขึ้นในช่วง Covid-19 แต่เทรนด์การซื้อของออนไลน์ ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เสียทีเดียว เพราะเมื่อคนทั่วโลกสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ถูกพัฒนาตามมาด้วย

เพราะพื้นฐานพฤติกรรมมนุษย์อย่างหนึ่งคือ การซื้อขายแลกเปลี่ยน ดังนั้นความต้องการช็อปปิงของคนเราจึงไม่มีที่สิ้นสุด 

ยิ่งมีกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อกระตุ้นการช็อปปิงออนไลน์ โค้ดส่วนลดบ้าง ช่วงเวลา 11.11 บ้าง โพรโมชันลดแลกแจกแถมทุกเดือน จนขาช็อปทั่วโลกถึงกับเฝ้ารอหน้าจอสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อรีบกดสั่งซื้อสินค้าราคาพิเศษ ทำให้อีคอมเมิร์ซแทบจะฝังอยู่ในวิถีชีวิตผู้คนยุคดิจิทัลแทบแยกออกจากกันไม่ได้

รู้จักกับ ‘อีคอมเมิร์ซ’

‘อีคอมเมิร์ซ’ ชื่อเต็มว่า Electronic Commerce หรือ ในภาษาไทยบัญญัติศัพท์ว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เริ่มมีการพูดถึงมาตั้งแต่ปี 2514 ในยุคที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตกำลังถูกพัฒนาในหมู่ทหารสหรัฐฯ และเริ่มกระจายเข้าสู่หลายๆ ประเทศในยุโรป มีการให้คำจำกัดความรูปแบบการซื้อขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น B2B (Business-to-Business) B2C (Business-to-Customer) หรือ C2C (Customer-to-Customer)

เมื่อถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นโอกาสของอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ทั้ง Amazon หรือ eBay นั้น ในปี 2538 ขณะที่ Alibaba จากฝั่งจีนนั้น ให้บริการในปี 2542

วงจรอีคอมเมิร์ซไม่ได้จำกัดอยู่แค่ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์อย่างที่เราได้กล่าวถึงเท่านั้น เพราะการซื้อขายผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เจ้าของแบรนด์และร้านค้าให้บริการกับผู้ซื้อโดยตรง หรือผู้ค้ารายเล็ก ๆ เปิดร้านขายออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย ก็นับว่าเป็นรูปแบบของอีคอมเมิร์ซได้เหมือนกัน

คำกล่าวของ Jean-Paul Agon (ฌอง-พอล แอกง) อดีตซีอีโอของแบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกอย่าง L’Oréal พูดเมื่อปี 2559 หลังจากที่ลอรีอัลลงทุนกำลังคนและพัฒนาระบบดิจิทัลอย่างจริงจัง ว่า “E-commerce isn’t the cherry on the cake, it’s the new cake” ขยายความ คือ อีคอมเมิร์ซไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจค้าขายแบบเดิม แต่เป็นธุรกิจใหม่ ที่มีส่วนจะสร้างยอดขายและกำไรให้เติบโตได้ในอนาคต

Agon ยังคงดำรงตำแหน่งประธานของบอร์ด L’Oréal มองว่า อีคอมเมิร์ซไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้เสริมอีกต่อไป แต่จะเป็นเครื่องยนต์ชิ้นใหม่ที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจค้าขาย Consumer Product อย่างลอรีอัลมีรายได้เติบโตในระยะยาว

เราเชื่อว่า ในยุคที่ทุกอย่างอยู่บนดิจิทัลแบบนี้ ไม่มีซีอีโอคนไหนจะปฎิเสธโอกาสทางธุรกิจอย่าง ‘อีคอมเมิร์ซ’ ได้แน่นอน

อิทธิพลของ ‘อีคอมเมิร์ซ’

เราได้รวบรวมข้อมูลจาก Statista บอกว่า ปี 2563 ผู้คนมากกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก ใช้ช่องทางซื้อสินค้าออนไลน์ หรือ ‘อีคอมเมิร์ซ’ 

เมื่อเทียบกับยอดค้าปลีกจากช่องทางอื่นๆ ยอดขายสินค้าออนไลน์ทั่วโลกปีที่แล้ว มีสัดส่วน 18% ของอุตสาหกรรมค้าปลีก คาดว่า สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเป็น 21.8% ในปี 2567

ไม่เพียงเท่านั้น ตลาดซื้อขายออนไลน์ หรือ E-marketplace อย่าง Amazon eBay และ Alibaba และเจ้าอื่น ๆ กินส่วนแบ่งใหญ่ที่สุดของยอดขายค้าปลีกออนไลน์ทั่วโลก 

Alibaba จากจีนยังครองเบอร์หนึ่งของ E-marketplace ของโลก โดยมีแบรนด์ Taobao และ Tmall รั้งตำแหน่งเบอร์ 1 และ 2 วัดจาก Gross Merchandise Value (GMV) ขณะที่ Amazon สัญชาติอเมริกันตามมาเป็นเบอร์ 3 

Statista รายงานว่า การช็อปปิงออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟนในปี 2563 มีสัดส่วนสูงถึง 60% ของการเข้าใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั่วโลก โดยเฉพาะจากเอเชีย อย่างเกาหลีใต้มีการซื้อของออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟนในสัดส่วนสูงถึง 65%

Statista อธิบายว่า การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กลายเป็นพฤติกรรมปกติของผู้คนทั่วโลก บางคนเลือกที่จะซื้อสินค้าออนไลน์ เพราะสะดวกสบายกว่าและประหยัดเวลา ขณะที่บางคนก็เลือกซื้อผ่าน E-marketplace เจ้าใหญ่ ๆ เพราะมีราคาที่ดีกว่าหรือถูกกว่าซื้อช่องทางอื่น

นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังสามารถถูกชักจูงให้ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านข้อมูลต่าง ๆ ในโลกดิจิทัลด้วยเช่นกัน ผ่านอีเมล์หรือการรีวิวสินค้า

แม้ว่า การแพร่ระบาดของ Covid-19 จะเป็นตัวเร่งสำคัญให้เกิดการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพราะผู้คนออกไปไหนไม่ได้ในช่วงล็อกดาวน์ และไม่อยากออกจากบ้านให้เสี่ยงติดเชื้อ เมื่อคลายล็อกดาวน์แล้ว ผู้ซื้อก็ยังคงพึ่งพาช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้าต่าง ๆ 

ไม่เพียงเท่านั้น โลกของ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ยังสร้างผลบวกแก่ธุรกิจโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ 

ตัวอย่างชัดเจนอย่างในไทย จำนวนผู้ให้บริการขนส่งพัสดุมีผู้เล่นรายใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ต่างแข่งขันกันด้วยราคาค่าขนส่ง ความรวดเร็วในการส่งถึงมือผู้รับ และบริการชำระเงินปลายทาง (Cash on Delivery – COD) เรียกได้ว่า ‘อีคอมเมิร์ซ’ สร้างสมรภูมิเดือดให้แก่ธุรกิจโลจิสติกส์ ผลดีก็ตกไปอยู่กับคนค้าขายและผู้บริโภค เพราะมีทางเลือกขนส่งหลากหลายมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่ได้แรงผลักดันจาก ‘อีคอมเมิร์ซ’ คือ กลุ่มผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษและพลาสติกสำหรับขนส่ง และกลุ่มระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-payment เรียกได้ว่า การซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้สร้างซัพพลายเชนกลุ่มใหญ่ ๆ และยังมีช่องว่างในการเติบโตไปทั่วโลก

ดูๆ แล้ว ‘อีคอมเมิร์ซ’ มีการแข่งขันกันสูง แต่ยังมีโอกาสเติบโตอีกในอนาคต เป็นเมกะเทรนด์ที่น่าจับตา จากทั้งฝั่งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ในเมื่อทุกอย่างอยู่บนโลกดิจิทัล ทุกธุรกิจหันมาพึ่งพาระบบออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ ที่สำคัญคือ พฤติกรรมของผู้ซื้อทั่วโลกยุคนี้ ต่างผูกติดการซื้อสินค้าออนไลน์ไปแล้ว

โอกาสลงทุนของ ‘อีคอมเมิร์ซ’

หากคุณไม่อยากตกขบวนเมกะเทรนด์อย่าง ‘อีคอมเมิร์ซ’ และมองว่า มีโอกาสเติบโตในอนาคต ปัจจุบันมีทั้งการลงทุนในหุ้นรายตัวอย่าง Alibaba บนกระดาน NYSE และ Amazon กับ eBay บนกระดาน Nasdaq แค่ลงทุนใน 3 บริษัทนี้ ก็กินส่วนแบ่งคำสั่งซื้อออนไลน์ไปมากกว่าครึ่งค่อนโลก

แต่ถ้าคุณอยากคว้าโอกาสการเติบโตของหุ้นบริษัทที่ทำธุรกิจค้าขายออนไลน์และอีมาร์เก็ตเพลส การลงทุนใน ETF (Exchange Traded Fund) ที่ลงทุนในธุรกิจกลุ่มนี้ เป็นอีก 1 ทางเลือกที่น่าจะสนใจ

Jitta Wealth มีบริการกองทุนส่วนบุคคล Thematic ที่ให้คุณเลือกลงทุนธีมอีคอมเมิร์ซ ลงทุนใน ProShares Online Retail ETF (ONLN)

ONLN ลงทุนในหุ้นที่ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและออนไลน์ช็อปปิงมากกว่า 25 บริษัททั่วโลก แน่นอนว่ามีรายใหญ่อย่าง Alibaba Amazon และ eBay และธุรกิจอีคอมเมิร์ซอื่นๆ ในสหรัฐฯ ที่เป็นสินค้าเฉพาะด้านอย่าง Overstock (เฟอร์นิเจอร์) Wayfair (เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน) Chewy (สินค้าสัตว์เลี้ยง) Etsy (สินค้าวินเทจและงาน Craft) Stamps.com (แสตมป์ออนไลน์) และ GrubHub (บริการส่งอาหาร)

นอกจากนี้ ONLN ยังมีลงทุนในอีคอมเมิร์ซรายอื่นๆ ในจีนอย่าง JD.com และ Pinduoduo รวมทั้งผู้ให้บริการคลังภาพถ่ายอย่าง Shutterstock 

ONLN จะลงทุนให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนีอ้างอิง ProShares Online Retail Index โดยที่ผลตอบแทนไตรมาสแรกปี 2564 อยู่ที่ 3.43% และผลตอบแทน 1 ปีย้อนหลัง ณ สิ้นเดือนมี.ค. อยู่ที่ 139.10% 

คุณสามารถลงทุนธีมอีคอมเมิร์ซ จัดพอร์ตร่วมกับธีมอื่น ๆ ได้สูงสุด 5 ธีม ผ่าน Thematic เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนด้วย

กองทุนส่วนบุคคล Thematic มีธีมการลงทุนให้เลือก 14 ธีม และในอนาคต Jitta Wealth จะเพิ่มธีมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโตในระยะยาว ลองเข้ามาศึกษาหลักการลงทุนได้ที่ https://jittawealth.com/thematic

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ