TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistคนแก่ล้น เกิดใหม่ไร้คุณภาพ วิกฤติใหม่ของไทย

คนแก่ล้น เกิดใหม่ไร้คุณภาพ วิกฤติใหม่ของไทย

ปัญหาคนแก่ล้น คนเกิดใหม่น้อย กำลังเป็นวิกฤติใหม่ในสังคมไทย จะส่งผลให้ประเทศไทยมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของประเทศลดลงตามไปด้วย แม้ว่าโดยปกติผู้สูงอายุในสังคมไทยร้อยละ 40 ยังคงประกอบอาชีพอยู่ แต่ก็มักจะเป็นอาชีพอิสระเป็นส่วนใหญ่ หากไม่มีมาตรการพิเศษรองรับ จะทำให้ประสิทธิภาพผลผลิตและการเติบโตของประเทศลดลง อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

ที่สำคัญ ประเทศไทยมีจีดีพีต่อหัว อยู่ที่ 7,000 ดอลลาร์ ในปี 2564 ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น ที่มีจีดีพีต่อหัวคิดเป็น 5 เท่าของไทย หมายความว่า คนญี่ปุ่นรวยแล้วค่อยแก่ คนไทยจะแก่ก่อนรวย จะมักจะป่วยก่อนแก่ตามมา การเป็นประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย ต้องมาติดหล่มกับดักรายได้ปานกลาง ประกอบกับกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุขั้นสูงสุด อีกทั้งสัดส่วนคนในวัยทำงานลดลง จึงเป็นความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศในอนาคตค่อนข้างมาก

5 เทรนด์ธุรกิจแรง ตอบโจทย์ตลาดผู้สูงวัย

แต่ที่น่าห่วงคือ ในอีก 10 ปีข้างหน้า รัฐบาลไทยจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายสวัสดิการดูแลสุขภาพและเงินบำนาญเพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลงเพราะคนในวัยทำงานน้อยลง แต่คนใช้เงินมีเพิ่มขึ้น ทำให้การจัดสรรงบประมาณในการลงทุน พัฒนาทักษะประชากร และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มผลิตภาพของประเทศทำได้ยากมากขึ้น เพราะงบประมาณที่ต้องใช้ในการดูแลผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นนั่นเอง

อันที่จริง แม้คนในวัยทำงานน้อยลง แต่ถ้าคนในสังคมนั้น ๆ มีคุณภาพก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่สำหรับประเทศไทยเจอ 2 เด้ง ประชากรน้อยแถมด้อยคุณภาพอีกต่างหากกลายเป็นว่า สังคมไทยตอนนี้กำลัง”ติดกับดักประชากรไร้คุณภาพ” กลายเป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติทั้งการเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หนุ่มสาววัยทำงานลดลง รวมถึงเด็กๆ เยาวชนในวัยเรียนก็มีปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา

ยิ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการประเมินคะแนน “PISA Score” หรือโปรแกรมการประเมินวัดระดับนักเรียนทั่วโลกที่จัดโดย “OECD” ที่วัดผลเด็กนักเรียนอายุ 15 ปีขึ้นไป ประเทศทั่วโลก ปรากฏว่า เด็กไทยสอบตกทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ความจริงเด็กไทยสอบตกต่อเนื่องมา 20 ปีตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขัน แต่ปีนี้ตกหนักที่สุดจนน่าเป็นห่วง ข้อสอบจะเป็นแบบให้เด็กคิดวิเคราะห์ วิชาที่ใช้ทดสอบเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้เทคโนโลยีสำหรับการขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งการขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าไปได้นั้น คนทำงานต้องมีองค์ความรู้ และรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากไม่มีความรู้ก็จะใช้เทคโนโลยีไม่เป็น คิดนวัตกรรมไม่ได้ ประเทศก็จะเดินหน้าลำบากเพราะโลกทุกวันนี้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและข้อมูล ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทั้งสิ้น

ดังนั้น หากจะยกเครื่องเศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องยนต์หลักจริงๆ รัฐบาลต้องทุ่มเทปฏิรูปการศึกษาอย่างจริง ๆ จัง ๆ เสียที ถ้าระบบการศึกษาไม่เข้มแข็งคนไม่มีคุณภาพ เศรษฐกิจก็ขับเคลื่อนไม่ได้

วันนี้ “อินโดนีเซีย” กำลังเนื้อหอมและ “เวียดนาม” ที่เป็นคู่แข่งไทย เป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งทั้งสองประเทศนี้มีศักยภาพดีกว่าไทย ทั้งมีประชากรจำนวนมากคนในวัยทำงานก็มีมากและยังไม่ได้เข้าสู่สังคมสูงอายุเหมือนไทย ทำให้ตลาดภายในประเทศมีขนาดใหญมีกำลังซื้อสูงเพราะคนในวัยทำงานมีมาก ฐานคนชั้นกลางใหญ่ขึ้น ซึ่งคนในวัยทำงานหรือคนชั้นกลางมักชอบจับจ่ายใช้สอย ยกระดับชีวิตและสถานะตัวเองช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของนักลงทุนใช้ตัดสินใจในการจะลงทุน

ต้องบอกว่า อนาคตประเทศไทยหลังจากนี้ไม่ง่าย และหากไม่แก้ที่ปมหลักๆอย่างเรื่องคุณภาพคนทั้งเด็กรุ่นใหม่ คนวัยหนุ่มสาว รวมถึงผู้สูงอายุล้นประเทศไม่ได้ คงจะไปต่อลำบาก

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

อย่าลืมกวาดบ้าน …ก่อนเปิดรับนักลงทุน  

“ดิจิทัล วอลเลต” ไปต่อไหวไหม

แรงงานไทยในต่างแดน สะท้อนความเหลื่อมล้ำ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ