TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyTZ APAC หนุนอีโคซิสเต็มส์พัฒนา Web 3.0 ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน

TZ APAC หนุนอีโคซิสเต็มส์พัฒนา Web 3.0 ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน

TZ APAC มุ่งเน้นส่งเสริมอีโคซิสเต็มส์ โฟกัสใน 3 ส่วนหลัก ตลาด NFT ปั้นสตาร์ตอัพ และกลุ่มนักพัฒนา  

TZ APAC ผู้สนับสนุนอีโคซิสเต็มส์ของ Tezos บล็อกเชนสมาร์ทคอนแทร็กต์ เปิดเผยถึงทิศทางการพัฒนาธุรกิจมุ่งเน้นในการสนับสนุนและพัฒนา Web 3.0 บนเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยเดินหน้ากลยุทธ์ธุรกิจด้วย 3 ส่วนหลัก คือ การพัฒนาตลาด NFT การปั้นสตาร์อัพ และการสร้างกลุ่มนักพัฒนา ที่เน้นการผลิตนักพัฒนา Web 3.0  

จิวาน ทัลสิเอนิ (Jivan Tulsiani) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด TZ APAC กล่าวว่า “ทั้งตลาด NFT สตาร์ตอัพ และการพัฒนากลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ทั้งสามส่วน ล้วนมีความสำคัญกับ TZAPAC และทั้งสามส่วนมีความสัมพันธ์กันเกี่ยวเนื่องกัน เราให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ กับผู้คนในอีโคซิสเต็มส์ทั้งสามส่วนอย่างต่อเนื่อง” 

บิทคับ แล็บส์ ร่วมมือกับ Algorand Foundation ผลักดันการเรียนรู้เทคโนโลยี Web 3.0 ผ่าน Learning Airdrop

เปิดประตูสู่โอกาสทองในยุค Web 3.0 กับงานบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุดของไทย 26 – 27 พ.ย. นี้ 

การพัฒนาตลาด NFT 

จากข้อมูลของ Finder ตลาด NFT ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุด มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และโมบายมากที่สุด และเป็นตลาดหลักที่มีการประยุกต์ใช้ NFT โดยมีการคาดการณ์อัตราการใช้งาน NFT อยู่ที่ 41% มีมูลค่าตลาด 40,000 ล้านเเหรียญสหรัฐในปี 2021 

สำหรับการใช้งานใน NFT ในไทยจัดอยูในอันดับที่สอง รองจากฟิลลิปินส์ นอกจากนี้แล้ว ยังมีการคาดการณ์จาก Tech Insight 360 ว่าตลาด NFT ในไทยมีการคาดการณ์การเติบโตในปี 2565 ที่ 47.1% ด้วยมูลค่า 1,112.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 39,235 ล้านบาท

จากตัวเลขดังกล่าวจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่าเหตุใด TZ APAC จึงเลือกการพัฒาตลาด NFT ซึ่งกลยุทธ์หลักในการพัฒนาตลาด NFT คือ การสร้าง Creator Economy หรือสังคมของนักสร้างสรร การให้ความรู้กับอาร์ทิสดั้งเดิมในการก้าวเข้าสู่วงการ NFTอาร์ทิส รวมถึงศิลปิน NFT ที่ต้องการสร้างสรรผลงานแปลกใหม่ ทาง TZ APAC มีระบบให้ทำการทดลองและเรียนรู้ ในการสร้างผลงานใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด รวมถึงส่งผู้เชี่ยวชาญตอบคำถามบน Telegram สำหรับศิลปินที่ต้องการก้าวเข้าสู่วงการ NFT 

TZ APAC ช่วยสนับสนุนศิลปิน โดยการจัดอาร์ทแฟร์ NFT ในประเทศต่างๆ รวมถึงการสร้างชุมชนศิลปิน NFT เช่น การจัดงานล่าสุดที่ Art Moments Jakarta ที่มีศิลปินจากประเทศต่างๆ ไปแสดง รวมถึงศิลปินไทย และงานอาร์แฟร์ TU ในสิงคโปร์ รวมถึง การเปิดตัวแคมเปญ Indonesia Independence Day ในอินโดนีเซีย ที่มีผลงานของศิลปิน 17 คน ในประเทศต่าง ๆ 17 ประเทศทั่วเอเชีย รวมถึงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ในอินโดนีเชีย Kompass ได้เลือกที่จะปล่อยผลงานภาพถ่ายของช่างภาพ ในช่วงระหว่างปี 2546-2561 (2003 – 2018) บนอีโคซิสเต็มส์ของ Tezos ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการสร้าง crator economy และสร้างชุมชนช่างภาพที่แข็งแกร่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ชุมชนศิลปินของ Tezos มีความแข็งแกร่งมาก คนในชุมชนทุกภาคส่วน มีส่วนร่วม และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน Tezos มี Community Manager ในการบริหารจัดการชุมชน การออกโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ปัจจุบัน มีอาร์ทิสบน Tezos อีโคซิสเต็มซิสต์จำนวนมาก และหนึ่งในตัวอย่าง NFT อาร์ทิส คือ สาริสา ธรรมลังกา หรือที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในแวดวงอาร์ทิสบน NFT ว่า Sarisa Kojima 

Sarisa Kojima เป็น NFT อาร์ทิสบนแพลตฟอร์ม Tezos เป็นลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่นที่มีความสนใจ ในการทำบล็อกเชน และเข้ามาศึกษาระบบของ Tezos อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา Web3 และพัฒนา NFT สาริสาเปิดเผยว่า “ระบบของ Tezos มีค่าธรรมเนียมในการแสดงผลงาน บนแพลตฟอร์มเพียงตัวเลขหลักเดียว เทียบกับระบบอื่นๆ ที่อาจต้องใช้เงินลงทุนหลักหมื่น หลักพัน หรือหลักร้อย จุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นทีทำให้ นำผลงานมาแสดง และซื้อขายบนแพลตฟอร์มของ Tezos และตั้งแต่ใช้งานมาก็ไม่เคยโดนแฮค ในขณะที่ได้ยินข่าวว่าผลงานของระบบอื่นโดนแฮค” 

นอกจากการแสดงผลงานของตนเองแล้ว สาริสา มีส่วนร่วมในการชักชวนศิลปิน NFT อื่นๆ ในการพัฒนาผลงานมาแสดงบน NFT รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Tezos ในการผลิตผลงานในรูปแบบ NFT 

นอกจากนี้ สาริสา ยังได้พัฒนาแอป @sweatynft เพื่อซัพพอร์ต generative NFT เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือช่วยศิลปินออกแบบตัวละคร ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการสร้างรูปภาพ 5,000 – 10,000 รูป แอป @Sweatynft สามารถช่วยในการสร้างส่วนประกอบ 10,000 รูป ระบบจะใช้เวลาครึ่งชั่วโมง แล้วจากนั้นนำรูปเข้าไปในระบบเพื่อสร้างซีรี่ยส์ของชุดรูปภาพ ครีเอเตอร์หรือศิลปิน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เชิงเทคนิคเลยเพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ซึ่งในตอนแรกสาริสาเปิดให้ใช้ครีเอเตอร์และศิลปินให้ใช้งานฟรีในช่วงเฟสแรก เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา และเป็นโครงการเดียวจากในไทยที่เข้ามาขอทุนกับทาง TZ APAC ในการพัฒนาแอปดังกล่าว  

สาริสา กล่าวเพิ่มเติมถึงผู้ที่ต้องการก้าวเข้ามาเป็นครีเอเตอร์บน NFT ว่า “NFT เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่ และหลายคนอาจยังไม่เข้าใจ ซึ่งทุกอย่างต้องมีครั้งแรก เทคโนโลยีช่วยให้ครีเอเตอร์หรือศิลปินสามารถคอนเน็คกับผู้ซื้อจากทั่วโลกได้โดยตรง สิ่งที่คิดว่ายากในการขายผลงานศิลปะแบบดั้งเดิม แต่เมื่อมาอยู่บนตลาดซื้อขาย NFT จะรู้ว่าไม่มีกำแพงขวางกั้นแบบเมื่อก่อน สามารถขายผลงานได้โดยตรงสู่ผู้ซื้อ และมีโอกาสรู้จักศิลปินคนอื่น ๆ ทั่วโลก และตลาดนี้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหารายได้”  

การพัฒนาสตาร์ตอัพ 

การพัฒนาสตาร์ตอัพ TZ APAC ได้จัดตั้ง ศูนย์บ่มเพาะสตาร์อัพ สำหรับสตาร์อัพทุกขนาด ที่สนใจการพัฒนา Web 3.0 โดยใช้บล็อกเชนเทคโนโลยี ซึ่ง TZ APAC จะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก ในการจัดหาสิ่งต่าง ๆ ให้กับสตาร์ตอัพ เช่น พี่เลี้ยงซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับต้นๆ ในวงการ การฝึกอบรมด้านต่างๆ เพื่อให้สตาร์อัพได้มีโอกาสทดลองผลิตผลงาน และสาธิตผลงานให้กับกลุ่มนักลงทุน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแอปต่างๆ สู่ตลาด เช่น การเปิดตัว EGG Web 3.0 Incubator มีโครงการบ่มเพาะมากกว่า 20 โครงการที่มีสตาร์อัพเข้าร่วม

จิวาน กล่าวว่า “ในปีหน้าทาง TZ APAC มีโครงการเปิดตัวศูนย์บ่มเพาะสตาร์อัพอื่นๆ อีกหลายโครงการ ที่ผ่านมามีการตอบรับเป็นอย่างดีจากสตาร์อัพต่างๆ ใน 8 ประเทศ และปีหน้า ทางบริษัทมีความคาดหวังว่าจะมีสตาร์อัพในเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นส่วนอื่น ๆ เช่น เกมส์ Defi เป็นต้น 

การพัฒนาชุมชนนักพัฒนาบนบล็อกเชน 

สิ่งที่ TZ APAC จัดทำเพื่อผลักดันชุมชนนักพัฒนา คือ การจัดการแข่งขัน Hackathons รวมถึงมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ยกตัวอย่างงานล่าสุด คือ งานแข่งขัน Test Asia เมื่อช่วงต้นปี มีผู้ลงทะเบียนแข่งขัน 11,000 ราย การแข่งขัน Hackathons เปรียบเสมือนเป็นเวทีแมวมองในการมองหากลุ่มนักพัฒนาที่มีความสามารถ และนำเข้าสู๋ขบวนการโปรแกรมบ่มเพาะสตาร์อัพ EGG Web 3.0 Incubator และโครงการบ่มเพาะอื่นๆ ต่อไป ในปีหน้าทาง TZ APAC ยังคงจัดให้มีการแข่งขัน Hackathons ต่อเนื่องต่อไป

นอกจากการจัดแข่งขัน Hackathons แล้ว TZ APAC ร่วมมือกับทางสถาบันการศึกษา โดยจัดทำเวิร์กช้อปให้กับกลุ่มนักศึกษา เช่น ปีนี้ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติในสิงคโปร์ HK USD ในฮ่องกง และ WHA ในเกาหลีใต้ รวมถึง IDE Academy ในสิงคโปร์ 

แผนงานในทุกส่วนมีความเกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกัน หากทาง TZ APAC เล็งเห็นกลุ่มนักศึกษาที่มีความสนใจในการพัฒนาก็จะผลักดันต่อยอดและสนับสนุนให้มาสมัครแขงขัน Hackathon และถ้า

จิวาน ได้ทิ้งท้ายว่าปี 2022 ที่ผ่านมา TZ APAC ได้เห็นความคืบหน้า และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในอีโคซิสเต็มส์ ทั้งครีเอเตอร์ ผู้ก่อตั้งสตาร์อัพ นักลงทุน และ TZ APAC จะเดินหน้าสนับสนุนทุกภาคส่วนในอีโคซิสเต็มส์ต่อไป  

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

GALA เผยแนวทางสำหรับบริษัท Web 2.0 เตรียมก้าวสู่โลกใหม่ ตอบโจทย์ลูกค้าบน Web 3.0

Web 3.0 โอกาสใหม่ สร้างธุรกิจไทยให้โต

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ