TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเทรนด์ ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ ดิสรัปบัตรเครดิต เสริมทัพธีม ‘ฟินเทค’ โตแกร่ง

เทรนด์ ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ ดิสรัปบัตรเครดิต เสริมทัพธีม ‘ฟินเทค’ โตแกร่ง

นับวัน โลกเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ‘ฟินเทค’ (Fintech) เข้ามาสร้างโลกการเงินใบใหม่ที่ใหญ่ยิ่งกว่าเดิม  ความสะดวกสบาย รวดเร็วในการทำธุรกรรม Digital Payment ผ่านสมาร์ทโฟน การจ่ายเงินออนไลน์เมื่อซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ  ได้แทรกซึมเข้าไปกับวิถีชีวิตและพฤติกรรมผู้คนทั่วโลกแล้ว  

โดยเฉพาะช่วงเวลาเกือบ 2 ปี ท่ามกลางวิกฤติ Covid-19  ผลักดันผู้คนเข้าสู่สังคมไร้เงินสด” หรือ Cashless Society อย่างเต็มตัว ทำให้เกิดความคุ้นชินกับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง หมดห่วงกับการพกเงินสด เพราะสามารถเบิกเงินหรือโอนเงินจ่ายเงินผ่านมือถือได้ทุกเวลาและปลอดภัย

@เทรนด์ ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’  เข้ามาดิสรัปบัตรเครดิต

ล่าสุด อีกหนึ่งเทรนด์ที่เป็นคลื่นลูกใหญ่มาแรงในธุรกิจฟินเทค คือ แอปพลิเคชัน ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) ที่กำลังมีอิทธิพลมาก ทั้งจากผู้ใช้งานทั่วโลกและผู้พัฒนาฟินเทค

จริง ๆ แล้ว ก่อนหน้านี้ เทรนด์ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง หรือ BNPL นี้ เติบโตตามมาพร้อมกับโลก ‘อีคอมเมิร์ซ’ ที่ผู้คนทั่วโลกใช้กันทุกวันนี้แยกขาดจากกันไม่ได้ไปแล้ว ยิ่งเกิด Covid -19 ยิ่งเร่งทั้ง ‘อีคอมเมิร์ซ’ และ ‘BNPL’ เติบโตควบคู่กันไปอย่างรวดเร็ว ล่าสุด ธุรกิจ BNPL มีมูลค่ากว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ผู้พัฒนาฟินเทคได้สร้างตัวเลือก ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ ให้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน และคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ สามารถเลือกชำระแบบรายสัปดาห์หรือรายเดือน ตอบโจทย์กลุ่มผู้ไม่มีบัตรเครดิตได้อย่างมาก ที่สำคัญ ‘BNPL’ อนุมัติสินเชื่อให้เกือบจะทันที ไม่ยุ่งยากเท่าบัตรเครดิต

โดยบริการ BNPL โดนใจผู้ใช้อย่างมาก เพราะทุกคนก็อยากเก็บเงินสดไว้กับตัวก่อน หลังจากที่เศรษฐกิจซบเซาช่วง Covid-19 คนมีรายได้ลดลงทั้งจากการตกงานและบางคนมีชั่วโมงทำงานลดลง อันเนื่องมาจากผลกระทบจากมาตรการล็อคดาวน์และหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา

ผมอยากชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจสินเชื่อบัตรเครดิตกำลังถูกดิสรัปอีกหนึ่งอุตสาหกรรม เพราะบริการ BNPL ได้เข้ามาแย่งชิงมาร์เก็ตแชร์ของธุรกิจบัตรเครดิต ด้วยศักยภาพของแอปพลิเคชัน ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ มีจุดแข็งให้สามารถเลือกระยะเวลาที่ผ่อนชำระได้อย่างสะดวก ทำให้บริหารจัดการเงินในกระเป๋าได้ดีขึ้น

IBISWorld ระบุว่า ลูกค้าที่ใช้บริการ BNPL มักซื้อสินค้าซ้ำเฉลี่ยมากกว่า 20 ครั้งต่อปี ลูกค้าจะยอมจ่ายเงินมากกว่าปกติ ยิ่งร้านค้าที่เปิดให้บริการนี้ จะยิ่งดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ได้มากขึ้น ฐานลูกค้าของร้านค้าก็จะใหญ่ขึ้น ที่สำคัญ ร้านค้าจะได้รับเงินเต็มจำนวนล่วงหน้า เพราะผู้ให้บริการ BNPL จะเป็นคนจ่ายให้ก่อน และเรียกเก็บกับลูกค้าเอง พร้อมเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงนั้นด้วย

กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ BNPL เป็นคนรุ่นใหม่ตั้งแต่กลุ่ม Gen Y (มิลเลนเนียล) และ Gen Z โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งมีข้อเสนอและสิทธิพิเศษต่าง ๆ

ขณะที่ประเทศที่เห็นจุดเปลี่ยนผ่านของผู้ถือบัตรเครดิตลดลงมาก คือ ออสเตรเลีย ที่เลิกใช้บัตรเครดิตมากขึ้น  ธนาคารกลางออสเตรเลีย ระบุว่า จำนวนบัตรเครดิตได้ลดลง 6.6% ในปี 2563 และในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ชาวออสเตรเลียทิ้งบัตรเครดิตมากกว่า 100,000 ใบ 

Worldpay ระบุว่า บริการ BNPL มีมูลค่าคิดเป็น 2.1% เท่านั้น ของธุรกรรมทั่วโลก สะท้อนว่า ตลาดนี้ยังเติบโตได้อีกมาก  

Allied Market Research ได้คาดการณ์ว่า ตลาด BNPL จะขึ้นไปแตะ 3.98 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573 โดยในปี 2564-2573 จะเห็นการเติบโตเฉลี่ยสะสม 45.7%

ปัจจุบัน ผู้ให้บริการ BNPL ที่ได้รับความนิยม นำโดย บริษัท Afterpay บริษัท Square บริษัท Klarna และ Pay in 4 ของบริษัท Paypal เป็นต้น 

โดย PayPal เป็นฟินเทคยักษ์ใหญ่ ที่เพิ่งเปิดบริการ Pay in 4 เมื่อปี 2563

ขณะที่ Square ธุรกิจฟินเทคของ Jack Dorsey ซีอีโอ Twitter ได้ซื้อ Afterpay ของออสเตรเลียมูลค่ากว่า 29,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แม้แต่เจ้าตลาดบัตรเครดิตอย่าง Mastercard ก็กระโดดเข้าสู่เทรนด์ ‘BNPL’ ด้วยโปรแกรมการผ่อนชำระเช่นเดียวกัน 

อย่างไรก็ตาม BNPL ยังอยู่ในช่วงก้าวแรก ๆ ที่เป็น Early Adoption คนทั่วโลกหันมาใช้งาน ก้าวถัดไป คือ Mass Adoption มีผู้ใช้งานแพร่หลาย ส่งผลให้ธุรกิจ BNPL มีผลดำเนินงานเติบโตได้ต่อเนื่องยาว ๆ ไปด้วย และยิ่งเป็นโอกาสของคนที่สนใจลงทุนธีมฟินเทคกับธุรกิจ BNPL ซึ่งเป็นหนึ่งในธีมเมกะเทรนด์โลก

และนี่คือหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีของธุรกิจฟินเทค ซึ่งผมจึงเชื่อว่า พลังของ ‘ฟินเทค’ ยังแรงดีไม่มีตก ยิ่งผู้คนพกเงินสดน้อยลง และหันมาใช้แอปพลิเคชันกันมากขึ้น ก็จะยิ่งส่งเสริมให้ธุรกิจฟินเทค มีการพัฒนาเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ สร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และทำให้ธุรกิจยังเป็นเมกะเทรนด์ที่เติบโตต่อไปในระยะยาว ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน ในธีมฟินเทค หนึ่งในเทกะเทรนด์มาแรงของโลก เพื่อหวังผลตอบแทนที่ดีไปพร้อมๆ กับความแข็งแกร่งของธุรกิจนั้น ๆ

ผมขอยกตัวอย่าง การลงทุนในธีมฟินเทค ของ Jitta Wealth ซึ่งเป็นทางเลือกการลงทุนระยะยาวให้แก่นักลงทุน นั่นคือ การลงทุนผ่านกองทุน Global X FinTech ETF หรือ FINX ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินจากทั่วโลก และที่สำคัญมีหลายธุรกิจที่พัฒนาบริการ BNPL ขึ้นมาเพื่อขยายและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจบริษัท

โดยหุ้นที่ ETF นี้ลงทุนสูงสุด 10 อันดับแรก คือ บริษัท Adyen N.V.  บริษัท Intuit, Inc. บริษัท Square, Inc. บริษัท Fiserv, Inc. บริษัท PayPal Holding, Inc. บริษัท Upstart Holding, Inc. บริษัท Bill.com Holding, Inc. บริษัท Coinbase Global, Inc. บริษัท Fidelity National Information Services, Inc. บริษัท Afterpay Limited 

FINX เป็น Passive Fund ลงทุนให้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง Indxx Global FinTech Thematic Index โดย ณ 11 ตุลาคม 2564 ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน และ 6 เดือน อยู่ที่ 2.27% และ 2.61% ตามลำดับ ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี อยู่ที่ 19.94% 91.25% และ 218.5% ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าถ้าลงทุนระยะยาว จะได้รับผลตอบแทนก้าวกระโดดจริงๆครับ

ดังนั้น หากคุณเชื่อมั่นกับการมาของธุรกิจ BNPL ซึ่งเป็นส่วนของ เมกะเทรนด์ ‘ฟินเทค’ ที่เป็นอีกหนึ่งเมกะเทรนด์ที่แตกตัวออกมาจากเมกะเทรนด์ ‘เทคโนโลยี’ ที่จะก้าวล้ำไปข้างหน้าและพร้อมเพิ่มศักยภาพให้แก่โลกการเงินแห่งอนาคต ที่เป็นตลาดใหญ่มีผู้เล่นทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินรายใหญ่ไล่เรียงไปถึงสตาร์ตอัพต่าง ๆ ที่แจ้งเกิด ก็ไม่ควรพลาดโอกาสการลงทุนในเมกะเทรนด์นี้ และติดปีกพอร์ตลงทุนของคุณเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนระยะยาวตามไปด้วยกัน

ผู้เขียน: ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ