TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyKBTG เผยพันธกิจปี 2024 เป็น “บริษัท AI-First” ที่นำ Deep Tech สร้าง “บริการ Human-First” 

KBTG เผยพันธกิจปี 2024 เป็น “บริษัท AI-First” ที่นำ Deep Tech สร้าง “บริการ Human-First” 

KBTG มีนักวิจัยและนักพัฒนาเทคโนโลยีจำนวนมาก ที่ทุ่มเทการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยี Deep Tech เทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน และตระหนักดีว่า “การวิจัยเทคโนโลยี Deep Tech ขั้นสูงจะไร้ความหมาย หากไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่คนหมู่มาก (Human-First)” KBTG จึงประกาศให้ปี 2024 เป็นปีแห่งการนำเทคโนโลยีมาสร้างการใช้งานจริง

เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า KBTG ตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนเทคโนโลยีในปี 2567 ด้วย Machine Learning, AI และ Deep Tech หรือ M.A.D. อย่างต่อเนื่อง เดินหน้าจาก AI-First สู่ Human-First เพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีกลุ่มนี้มาประยุกต์ใช้งานได้จริง 

“เป้าในปี 2567 ของ KBTG คือการนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้จริงเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่คนหมู่มาก (Human-First) รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้และประสบการณ์ตรงเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย KBTG พันธมิตรและประเทศ”

ที่ผ่านมา KBTG ขับเคลื่อนองค์กรด้วยแนวคิดการเป็น AI-First Organization ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้าน Machine Learning, AI, Data (M.A.D.) ของประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้าน AI ใน 2 ส่วนหลัก คือ การทำวิจัย (Research) ผ่านหน่วยงานวิจัยของตัวเองคือ KBTG Labs รวมถึงการทำวิจัยร่วมกับพันธมิตรที่สำคัญคือ MIT และการนำมาประยุกต์ใช้จริง (Application) ผ่านธนาคารกสิกรไทย จนเกิดผลงานเชิงประจักษ์ที่นำมาใช้งานจริงแล้วหลายชิ้น และยังมีใน pipeline อีกหลายผลงานที่คาดว่าจะทยอยปล่อยออกสู่ตลาดในปี 2567 นี้ 

ผลงาน KBTG Labs นวัตกรรมเพื่อธุรกิจจริง

ทีมวิจัย Deep Tech ของ KBTG Labs ได้สร้างผลงานวิจัยออกสู่การใช้งานจริงแล้วหลายชิ้น และเป็นผลงานที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างความแตกต่างและแต้มต่อให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการยืนยันตัวตน (AINU) เทคโนโลยี AI ตรวจจับสภาพรถที่มีความเสียหายจากภาพถ่ายในธุรกิจประกัน (Car AI) และระบบประมวลผลอัจฉริยะสำหรับธนาคารที่ใช้งานและส่งมอบคุณค่าให้ธุรกิจได้จริง 

  • AINU (ไอ-นุ) เป็นการนำเทคโนโลยี AI ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ให้บริการ veification/identification ประกอบด้วยการดึงข้อมูลบัตรประชาชนด้วย OCR ป้องกันการปลอมตัวด้วย Liveness Detection และป้องกันการฉ้อโกงด้วย Face Recognition ซึ่ง AINU เป็นการให้บริการเทคโนโลยี SDK และ API ให้กลุ่มลูกค้า Digital Banking ปัจจุบันบริการนี้ให้บริการแล้ว 
  • Car AI ร่วมกับมืองไทยประกันภัย เวลาเคลมประกัน ไม่ต้องรอพนักงานเคลม ผู้ใช้งานสามารถถ่ายรูปรถยนต์ด้วยตัวเอง และใช้ Car AI ประเมินความเสียหายได้เอง และในปีนี้ทาง KBTG ได้คว้ารางวัล Asian Technology Excellence Awards 2023 สาขา AI – Financial Technology ซึ่งจัดทำโดย Asian Business Review นิตยสารธุรกิจชั้นนำในระดับภูมิภาค
  • ระบบประมวลผลอัจฉริยะสำหรับธนาคาร KBTG นำเทคโนโลยีและผลงานวิจัยด้าน M.A.D. มาต่อยอดเป็นระบบประมวลผลอัจฉริยะสำหรับธนาคาร เพื่อใช้ประกอบกับผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารกสิกรไทยในด้านต่าง ๆ อาทิ การตลาด (Marketing Intelligence) สินเชื่อ (Credit Intelligence) การป้องกันการทุจริต (Fraud Intelligence) และการให้บริการ Call Center ซึ่งการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าได้มากกว่า 500 ล้านบาท

การทำวิจัยและการนำงานวิจัยชิ้นนั้นมาประยุกต์ใช้จริงให้ได้ เป็นเรื่องที่ KBTG ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และผลักดันการเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยี M.A.D. (Machine Learning, AI, Data) ของธุรกิจและอุตสาหกรรม ด้วยการสร้างผลงานวิจัยเชิงลึก การนำเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการให้ตอบสนองความต้องการของตลาดได้จริง โดยให้บริการทางพาณิชย์ผ่าน KX ซึ่งเปิดกว้างสำหรับพันธมิตรทางการเงินและธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สนใจ

ผลงานใน pipeline

  • เทคโนโลยี CCTV Analytics ที่รับข้อมูลเป็นภาพวิดีโอเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิด เพื่อให้ AI วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้คนในภาพวิดีโอได้ มีการนำไปทดลองใช้กับสาขาของธนาคารกสิกรไทยในบางสาขา เพื่อนับคน ดูพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของคนในวิดีโอ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพื้นที่หรือรูปแบบของบริการที่สาขา ทั้งบริการที่เคาน์เตอร์และบริการแบบ self-service ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจที่ต้องการการวิเคราะห์ในลักษณะนี้ อาทิ ร้านอาหาร เป็นต้น 
  • เทคโนโลยี Smart Check-Out สำหรับห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต โดยใช้ AI วิเคราะห์ภาพถ่ายและคำนวนราคาสินค้าจากฐานข้อมูล การใช้งานโดยการวางสินค้าลงบนเคาน์เตอร์คิดเงิน กล้องทำการถ่ายภาพ AI จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลสินค้ามาคำนวนราคาของสินค้าแต่ละชิ้นพร้อมรวมราคาที่ต้องชำระทั้งหมด เทคโนโลยีนี้ยังเป็น PoC (proof of concept) ไม่ถูกนำไปใช้งานจริง ยังต้องการศึกษาและพัฒนาสำหรับการใช้งานในอีกหลายรูปแบบก่อนที่จะนำออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ เพราะสินค้าที่มีลักษณะคล้ายกันระบบอาจจะยังแยกแยะไม่ได้ อาทิ กระป๋องคนละขนาด แต่หากวางแนวตั้งกล้องจะเห็นเป็นขนาดเดียวกันจากขนาดของทรงกลมบนฝา เป็นต้น
  • เทคโนโลยีสำหรับการใช้งาน Wealth Management มีการใช้ Machine Learning เพื่อแนะนำหุ้นและกองทุนให้ลูกค้า ซึ่งยังไม่มีการใช้จริง ยังอยู่ในขั้นการพัฒนาใน KBTG Labs ซึ่งต้องใช้ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลหุ้นและกองทุนย้อนหลัง 8-10 ปี และมีสูตรการลงทุน สูตรการจัดพอร์ต เพื่อการคำนวนให้ออกมาเป็นการแนะนำการลงทุนให้กับลูกค้า และจะมีการนำข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคและข่าวสารเข้ามาเทรน AI ร่วมด้วย คาดว่าจะเริ่มใช้งานจริงปลายปี 2567 
  • Thai NLP การสร้าง Chatbot ชื่อ “น้องรวงข้าว” ด้วย Generative AI ซึ่งข้อดีของการใช้ Generative AI จะทำให้ Chatbot โต้ตอบการสนทนาได้ไหลลื่นมากขึ้นมากกว่า Chatbot เวอร์ชันปัจจุบันที่ K Bank Live ใช้อยู่ ที่ตอบในลักษณะของรูปแบบ คือตอบในบริบทที่เป็นรูปแบบและตอบยาว งานวิจัยนี้จะทำให้ “น้องรวงข้าว” คุยกับลูกค้าเหมือนลูกค้าได้คุยกับคนจริง ๆ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าอยากคุยกับ Chatbot มากกว่าโทรไป Call Center ซึ่ง “น้องรวงข้าว” จะให้คำปรึกษาได้ทั่วไป อาทิ การปรึกษาทางการเงิน การแนะนำบัตรเครดิต การประเมินสินเชื่อเบื้องต้น เป็นต้น “น้องรวงข้าว” ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาอยู่ 
  • ระบบ VDO Analytics โดยใช้ AI วิเคราะห์วิดีโอ ซึ่ง AI จะแยกบทสนทนาในวิดีโอนั้นออกมาว่ามีคนพูดกี่คน แต่ละคนพูดอะไร คุยกันว่าอะไร และแต่ละคนพูดแต่ละประโยคด้วยอารมณ์แบบไหน มีคำหยาบในคำพูดไหม ซึ่งจะถอดเสียงออกมาเป็นตัวอักษร และวิเคราะห์ประโยคอีกที เพื่อวิเคราะห์ sentiment เนื้อหาในวิดีโอ ระบบนี้ยังไม่ออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ 

การันตีคุณภาพในระดับสากล 

ผลงานวิจัยด้าน M.A.D. ของ KBTG การันตีคุณภาพในระดับสากล ด้วย KBTG Labs ที่มีทีมนักวิจัยและพัฒนาด้าน AI ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยมีการทำวิจัยเองในด้านต่าง ๆ อาทิ Facial Recognition, Computer Vision, NLP (Natural Language Processing), Deep Learning เพื่อควบคุมคุณภาพและการนำมาใช้กับธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย KBTG และพันธมิตร 

โดยในปี 2566 KBTG Labs มีผลงานวิจัยทางด้าน M.A.D. ที่ตีพิมพ์ทั่วโลกถึง 6 ฉบับ รวมไปถึงการสนับสนุนงานวิจัยร่วมของ พัทน์ ภัทรนุธาพร นักศึกษาปริญญาเอกไทยคนแรกจาก MIT Media Lab และ KBTG Fellow ในหัวข้อ “Influencing human–AI interaction by priming beliefs about AI can increase perceived trustworthiness, empathy and effectiveness” ซึ่งได้ตีพิมพ์ใน Nature Machine Intelligence วารสารวิชาการระดับโลก

KBTG Labs ทำวิจัยร่วมกับ MIT Media Lab

นอกจากนี้ ยังมีการจับมือกันระหว่าง KBTG Labs และ MIT Media Lab หน่วยงานวิจัยระดับโลก ร่วมกันทำงานวิจัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Future You จำลองตัวตนของผู้ใช้งานในอนาคตที่สามารถโต้ตอบได้แบบเรียลไทม์ และ “คู่คิด” คู่หูที่พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางต่าง ๆ โดยผลลัพธ์ที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบกลับได้ มี AI น้องคะน้าและคชาที่จะตอบคำถามในมุมมองที่แตกต่างกันเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พัฒนาต่อยอดจากงานวิจัย K-GPT (Knowledge-GPT) ซึ่งเป็นการใช้ความสามารถของ ChatGPT ในการให้ความรู้เชิงลึกเฉพาะด้าน มาพร้อมกับความสามารถในการรองรับภาษาไทย และมีแผนจะนำ “คู่คิด” เปิดตัวสู่ตลาดใช้งานจริงในปี 2567

ใช้และแชร์ M.A.D.

นอกจากการนำเทคโนโลยี Machine Learning, AI และ Deep Tech มาใช้พัฒนาเป็นสินค้าและบริการให้กับองค์กรภายนอกแล้ว KBTG เองยังนำเทคโนโลยี AI และ Deep Tech มาใช้ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนาของ KBTG เช่น การนำ Copilot มาช่วยเพิ่มศักยภาพการเขียนโค้ดของพนักงานขึ้น 2 เท่า การจัดตั้ง M.A.D. Guild ภายในองค์กรเพื่อเป็นแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนความรู้และทำให้ AI เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คน KBTG สามารถเข้าถึงได้ง่าย

และ KBTG ต้องการเป็นหนึ่งที่จะช่วยสร้าง AI Literacy ให้กับประเทศไทย จึงนำองค์ความรู้ด้าน Machine Learning, AI และ Deep Tech ที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้และเปลี่ยนกันภายในองค์กรออกสู่ระบบนิเวศ

KBTG จึงมุ่งมั่นที่จะการเผยแพร่ความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนขีดความสามารถทางด้าน M.A.D. ให้กับประเทศไทย โดยทำผ่านหลักสูตร M.A.D. Bootcamp ภายใต้โครงการ KBTG Kampus ClassNest ที่เปิดให้คนสายไอทีที่สนใจพัฒนาทักษะด้าน M.A.D. ได้ลงเรียนและเติบโตแบบก้าวกระโดดไปด้วยกัน 

พร้อมทั้งสนับสนุนชุมชน AI (AI Community) ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ M.A.D. รวมถึงเผยแพร่ Best Practice และ Lesson Learned จากประสบการณ์ตรงของการทำงานภายใน KBTG ผ่าน KBTG Techtopia และเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า

KXVC ลมใต้ปีกให้ Deep Tech และ AI

โดยนอกเหนือจากการทำงานผ่าน KBTG Labs แล้ว KBTG ได้มีการเปิดตัว KXVC กองทุนมูลค่า 3,500 ล้านบาท เพื่อลงทุนด้าน AI, Web3 และ Deep Tech 

เพราะเชื่อมั่นในบทบาทและความสำคัญของ AI และ Deep Tech ที่จะมีต่อโลกธุรกิจ KBTG ตระหนักว่าการทำ venture build เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องมีการลงทุนเพื่อเร่งหนุนการขยายศักยภาพของการพัฒนาให้มากขึ้นทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จึงตั้งเป็นกองทุน KXVC ขึ้นมาด้วยทุนเริ่มต้นประมาณ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปี 2567 ทาง KXVC พร้อมมุ่งหน้าเต็มกำลังสำหรับการลงทุนในสตาร์ตอัพและกองทุน AI ทั่วโลก เพื่อเป็นประตูที่จะนำเทคโนโลยี AI ใหม่ ๆ และเงินทุนจากต่างประเทศมาสู่ประเทศไทย 

ซึ่ง KBTG พร้อมจับมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและนอกประเทศพัฒนาขีดความสามารถด้าน M.A.D. และนำผลงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถใช้งานได้ 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยตอกย้ำความมุ่งมั่นของ KBTG ในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้าน M.A.D. ของประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของการเป็น “บริษัท AI-First” ที่นำ Deep Tech สร้าง “บริการ Human-First” เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้คนในสังคมและประเทศชาติต่อไป 

#KBTG #MAD #TechInnovation #HumanFirst #AIForGood” #AIFirst #KBTG #BeyondBanking #DigitalBanking #AITechnology #MachineLearning #M.A.D 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ