TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistตลาดรถแลกเงิน ถ้ามีรถก็มีเงิน

ตลาดรถแลกเงิน ถ้ามีรถก็มีเงิน

ธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ (Car for cash) สินเชื่อที่ผู้กู้นำรถยนต์ไปเป็นหลักประกันในการกู้เงิน เป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทน (มาร์จิ้น) ค่อนข้างดี หากมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายหันมาเล่นตลาดนี้กันเยอะมาก ดูได้จากจำนวนผู้ประกอบการที่ยื่นขอใบอนุญาต จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จำนวนมาก

แบงก์ชาติ ให้ตัวเลข ปี พ.ศ. 2562 มีผู้ประกอบกิจการจำนำทะเบียนรถมากกว่า 1,000 ราย และมีผู้ใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนอยู่ราว 3 ล้านราย ปรากฎยอดสินเชื่อคงค้างในระบบกว่า 200,000 ล้านบาท ส่วนต้นปี พ.ศ. 2563 มีบริษัทได้รับไลน์เซนธุรกิจจำนำทะเบียนรถไปแล้ว 38 บริษัท (ณ 10 ก.พ. 2563) และมีรออนุมัติอีก 35 ราย 

สำหรับใบอนุญาตทำธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 

หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาทจะต้องมาขอใบอนุญาตสินเชื่อส่วนบุคคล(Personal Loan) วงเงินปล่อยสินเชื่อขึ้นอยู่กับหลักประกัน คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 28% ต่อปี แต่หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท จะต้องมาขอใบอนุญาตพิโกไฟแนนซ์ให้บริการได้เฉพาะจังหวัดเท่านั้น วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 36% ต่อปี

-การออกแบบเลนส์ตาใหม่ให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้สายตา
-หลักสูตรพิเศษ ความรู้ควบคู่คอนเนคชั่น

กลุ่มผู้ที่ขอใบอนุญาตประกอบการดังกล่าว มีทั้งธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ชื่อสินเชื่อคาร์ฟอร์แคช, ธนาคารทิสโก้ สินเชื่อ ทิสโก้ ออโต้คาร์, ลิสซิ่งกสิกรไทย สินเชื่อ รถช่วยได้, ธนาคารไทยพาณิชย์ สิเชื่อ มายคาร์มายแคช, ธนาคารเกียรติ นาคิน, เงินติดล้อ ฯลฯ และ กลุ่มผู้ให้บริการสินเชื่อที่ ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์หรือที่เรียกว่า (นอนแบงก์) เช่น ศรีสวัสดิ์, เมืองไทย แคปปิตอล เป็นต้น

ยิ่งภาวการณ์แพร่ระบาดของโควิด -19 ส่งผลกระทบเศรษฐกิจในครอบครัว เงินขาดมือ ทางเลือกที่ง่ายที่สุด คือการนำเอายานพาหนะที่มีอยู่เป็นหลักประกันการกู้เงินมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถจักรยานยนต์ ซึ่งก่อนหน้านี้ ราวปี พ.ศ. 2561 ตลาดนี้หดตัวอย่างมาก กลับเพิ่มขึ้นถึง 40% ในปี พ.ศ. 2563

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าผลิตภัณฑ์สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ สามารถตอบโจทย์ความเสี่ยงและการสร้างรายได้ให้ผู้ให้บริการสินเชื่อได้มากกว่าในภาวะนี้ ทำให้การแข่งขันของผู้ประกอบการในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยต่างมุ่งไปที่ตลาดสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ โดยเฉพาะสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีระดับรายได้ใกล้เคียงกับลูกค้าในธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ แต่สามารถพิสูจน์หรือติดตามลักษณะพฤติกรรมจากการทำธุรกรรมทั่วไปได้

ด้านสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ หรือ VTLA (Vehicle Title Loan Trade Association) เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 10 ราย มีสาขารวมกันทั่วประเทศมากกว่า 7,000 สาขา มีฐานลูกค้ารวมกันไม่น้อยกว่า 3 ล้านราย ให้ข้อมูลว่า จากการสำรวจพบว่า เมื่อปี พ.ศ. 2563 ในตลาดมีผู้ประกอบการมากกว่า 100 ราย ขณะที่คนในธุรกิจมองว่า ตลาดจำนำทะเบียนรถมีมูลค่าราว 4 แสนล้านบาท สูงกว่าที่ทางการประเมินว่ามีมูลค่า 2 แสนล้านบาทถึง 1 เท่าตัว

ในปี พ.ศ. 2564 นี้ ตลาดจำนำทะเบียนรถยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังจากความร่วมมือของธนาคารออมสินที่เป็นแบงก์รัฐ ประกาศร่วมลงทุนกับบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD  เปิดตัวบริษัท เงินสดทันใจ จำกัด เพื่อทำตลาดรับจำนำทะเบียนจักรยานยนต์ รถยนต์ และ รีไฟแนนซ์ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2563 โดยช่วงแรกเสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุด ประมาณ 18% ปล่อยวงเงินกู้รายละ 2 แสนบาทต่อคนสำหรับรถยนต์ และ รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 10,000 บาทต่อคน รวม 1 ล้านราย วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท และคาดว่าบริษัทจะมีกำไรสุทธิ 300-400 ล้านบาท ในปีนี้มีแผนขยายสาขาให้ครอบคลุม 800 สาขา เพื่อให้บริการลูกค้าได้มากขึ้น

ก่อนที่ศรีสวัสดิ์จะร่วมมือกับออมสิน มียอดปล่อยสินเชื่อ 67,200 ล้านบาท มีจำนวนสาขา 4,798 สาขา จากความร่วมมือกับออมสิน ทำให้มีแหล่งเงินทุนปล่อยกู้ต้นทุนต่ำ

บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (MTC) บริษัทที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด 40% ให้ข้อมูลว่า ธุรกิจจำนำทะเบียนรถจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 20-30% และเชื่อว่าหนี้เสียในตลาดยังคงมีค่อนข้างต่ำอยู่ที่ประมาณ 5% ส่วนของ MTC หนี้เสียแค่ 1% โดยปีนี้ จะใช้กลยุทธ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถเป็นการทั่วไปลงมาอยู่ระดับ 18% ต่อปี มีเป้าหมายปล่อยสินเชื่อใหม่ 1.2 หมื่นล้านบาท ส่วนจักรยานยนต์ตั้งแต่ 3,000-100,000 บาท รถยนต์ไม่เกิน 500,000 บาท และรถใช้เพื่อการเกษตร วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 400,000 บาท

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR เสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) วิธีการกระจายหุ้นแบบ Small Lot First  บริษัท มียอดสินเชื่อคงค้างปี พ.ศ. 2563 จำนวน 5.13 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น รถยนต์​ 4 ล้อ  64%  รถยนต์จักรยานยนต์ 12% และรถยนต์อื่น ๆ  24% มีหนี้เสียประมาณ 1.7% รายได้ในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 10,558.9 ล้านบาท กำไร 2,416.1 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 22.9% กลยุทธ์ที่ เงินติดล้อ ที่จะเข้าถึงลูกค้าด้วยการลงทุนด้นเทคโนโลยี พัฒนาแพลตฟอร์มทางการเงินและเปลี่ยนผ่านกระบวนต่าง ๆ สู่ดิจิทัล (Digital Transformation) รวมทั้งเพิ่มตัวแทนและพนักงานขายทางโทรศัพท์ นอกจากนั้นยังมีแผนจะขยายสาขาภายในปี 2566 อีกประมาณ 500 แห่ง จากปัจจุบันมีสาขา 1,076 แห่ง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ