TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusiness4 เรื่อง 'ไม่จริง' เกี่ยวกับพ.ร.บ. คุ้มครองส่วนบุคคล (PDPA)

4 เรื่อง ‘ไม่จริง’ เกี่ยวกับพ.ร.บ. คุ้มครองส่วนบุคคล (PDPA)

นับถอยหลังก่อนที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในวันพรุ่งนี้ (1 มิถุนายน 2565) ที่เพจ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) ได้ทำการเผยแพร่ข้อมูล “4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA” เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน ก่อนที่กฎหมายใหม่จะบังคับใช้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

2) ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

3) ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA

ตอบ การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน

4) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้

ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

  1. เป็นการทำตามสัญญา
  2. เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
  3. เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
  4. เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
  5. เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  6. เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณี ๆ ไป

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กสทช. เสนอตั้งคณะทำงานพหุภาคีแก้ปัญหา SCAM ขานรับกฎหมาย PDPA

1 มิ.ย. นี้ กับการบังคับใช้ PDPA ประชาชนได้ประโยชน์อะไร? แล้วธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร?

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ