TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyเอคเซนเชอร์ เผย Fjord Trends 2022 ชี้ ธุรกิจควรปรับวิธีคิดใหม่เรื่องกลยุทธ์การเติบโต

เอคเซนเชอร์ เผย Fjord Trends 2022 ชี้ ธุรกิจควรปรับวิธีคิดใหม่เรื่องกลยุทธ์การเติบโต

รายงาน Fjord Trends ของ Accenture (NYSE : ACN) ในปีนี้ ชี้ให้เห็นว่าระยะเวลาเกือบสองปีที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ไปถึงระดับโครงสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับงาน วัฒนธรรมการบริโภค เทคโนโลยี และโลก ส่งผลให้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวและออกแบบแนวการทำธุรกิจรูปแบบใหม่

รายงานฉบับดังกล่าว จัดทำขึ้นต่อเนื่องมา 15 ปี โดยในปีล่าสุดชี้ให้เห็นถึงแนวทางที่องค์กรสามารถนำไปใช้ปฏิบัติในยุคที่ทุกคนต้องคิดค้นวิธีการต่าง ๆ เพื่อมอบคุณค่าและสร้างการจดจำในใจลูกค้า พนักงาน และสังคม

รายงานระบุว่า พฤติกรรมใหม่ที่จะเป็นปัจจัยท้าทายสำหรับธุรกิจ และจะสร้างผลกระทบทำให้ธุรกิจต้องคิดทบทวนแนวทางการออกแบบ การสร้างนวัตกรรม และการเติบโต เนื่องจากพนักงานมีความคาดหวัง แนวคิด และมุมมองที่เปลี่ยนไป ประกอบกับสภาวะการขาดแคลนในด้านต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการหยุดชะงักของซัพพลายเชน และการเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมในโลกเสมือนจริงที่เกิดขึ้นใหม่อย่างเมตาเวิร์ส

ดาวิน สมานนท์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า “เราไม่ควรมองข้ามเรื่องระดับของความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปอย่างที่เห็นอยู่ตอนนี้ หรือบทบาทของธุรกิจที่ต้องปรับตัวตาม ดังนั้นการตัดสินใจต่าง ๆ ของธุรกิจที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ อาจจะส่งผลต่อโลกและโครงสร้างในหลายด้านมากเกินกว่าจะจินตนาการได้ และทุกสิ่งจะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือเรื่องความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปของคน ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน แบรนด์ สังคม สถานที่ และสิ่งต่าง ๆ ที่คนให้ความสำคัญ ดังนั้น อนาคตที่กำลังมาถึงจะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย ขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสที่ดีอีกมากให้ธุรกิจสานสายสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตที่ดี ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้คน สังคม และโลกใบนี้ต่อไป”

รายงาน Fjord Trends 2022 คาดการณ์กระแสพฤติกรรมมนุษย์และ 5 เทรนด์หลักที่จะส่งผลต่อสังคม วัฒนธรรม และธุรกิจ ดังนี้:

  1. เป็นอย่างที่ตัวเองเป็น (Come as you are): การที่ผู้คนรู้สึกสามารถควบคุมชีวิตตัวเอง (sense of agency) ได้มากขึ้นในช่วงสองปีที่โควิดแพร่ระบาดนั้น ส่งผลกระทบต่อวิธีการทำงาน การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและการบริโภคทั้งสิ้น นอกจากนั้น ผู้คนก็เริ่มตั้งคำถามถึงความสำนึกถึงตัวตน สิ่งที่สำคัญกับชีวิตและความเป็นปัจเจกนิยมมากขึ้นด้วยมุมมอง “me over we” ซึ่งสำคัญต่อองค์กรในแง่ของการบริหารและจูงใจพนักงาน ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างค่านิยมให้แก่พนักงานใหม่ และแนวทางการสานสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
  • หมดยุคเหลือเฟือ? (The end of abundance thinking?): ในช่วงปีที่ผ่านมา หลายคนต้องเผชิญกับสภาพชั้นสินค้าว่างเปล่า บิลค่าไฟเพิ่ม อีกทั้งบริการที่เคยใช้ในแต่ละวันก็ขาดหายไป ด้านการขาดแคลนของปัจจัยหลาย ๆ อย่าง แม้จะเป็นปัญหาระยะสั้นชั่วคราว แต่จะส่งผลที่ต่อเนื่อง นำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิด จากการ “คิดเผื่อ” ที่อยู่บนฐานของการที่ทุกอย่างมีให้ใช้อย่างเหลือเฟือ สะดวก และรวดเร็ว เปลี่ยนไปเป็นถึงความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งธุรกิจต้องรับมือกับความกังวลถึงปัจจัยต่าง ๆ ว่าจะมีพอหรือไม่อย่างที่หลายคนประสบทั่วโลก
  • พรมแดนใหม่ (The next frontier): การแตกตัวทางวัฒนธรรมขนานใหญ่นั้นกำลังรอเวลาที่จะเกิดขึ้น เมตาเวิร์สจะกลายเป็นพรมแดนใหม่ของอินเทอร์เน็ตที่หลอมรวมเลเยอร์ต่าง ๆ ของข้อมูล อินเทอร์เฟซ และพื้นที่ที่ผู้คนสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเข้าไว้ด้วยกัน ขณะเดียวกันก็จะกลายเป็นพื้นที่ใหม่ในการสร้างรายได้ การสร้างงานในรูปแบบใหม่ และการสร้างโอกาสที่ไม่สิ้นสุดให้กับแบรนด์ด้วย เพราะผู้คนคาดหวังให้ธุรกิจสร้างสรรค์และนำพาพวกเขาไปสู่สิ่งใหม่ ซึ่งโลกจะไม่หยุดที่หน้าจอและหูฟังเท่านั้น แต่ยังเปิดประตูไปสู่ประสบการณ์และสถานที่ต่าง ๆ ในโลกจริงที่มีปฏิสัมพันธ์กับโลกดิจิทัลได้อีกด้วย
  • ตอบเร็ว ตอบจริง (This much is true): ทุกวันนี้ ผู้คนคาดหวังที่จะได้รับคำตอบต่าง ๆ จากการกดปุ่มแค่ครั้งเดียวหรือสั่งงานด้วยเสียงผ่านระบบ voice assistant ด้วยวิธีการที่แสนง่ายและได้คำตอบในทันที หมายความว่าผู้คนจะซักถามมากขึ้น ซึ่งสำหรับแบรนด์สินค้าแล้ว หมายถึงขอบเขตของคำถามจากลูกค้าและช่องทางการสอบถาม ก็จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การออกแบบวิธีการตอบคำถามจึงเป็นความท้าทาย และเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่พร้อมเสริมสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในอนาคตด้วย
  • ใส่ใจมากขึ้น (Handle with care): การดูแลใส่ใจทุกด้านเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างเด่นชัดในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเอง ดูแลผู้อื่น การบริการดูแลสุขภาพ และช่องทางที่ให้บริการทั้งทางดิจิทัลและโลกออฟไลน์ สภาวะเช่นนี้ เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับนายจ้างและแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือการดูแลสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบในการดูแลตนเองและผู้อื่นจะยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ในชีวิต นักออกแบบและองค์กรธุรกิจจึงต้องคำนึงเหมือนกันว่าจะการสร้างพื้นที่สำหรับฝึกการดูแลเรื่องต่าง ๆ ในภาคปฏิบัติได้อย่างไร

ดาวินกล่าวเสริมว่า เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนมุมมองเรื่องความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ใหม่หมด แบรนด์จะเผชิญกับความรับผิดชอบสำคัญ 2 เรื่อง คือ การใส่ใจดูแลโลกในวันนี้ ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงเรื่องของการสร้างอนาคตในทางที่ดีต่อโลก ธุรกิจ และสังคมด้วย หัวใจสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องผลกระทบของความสัมพันธ์และแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงแปลงปัจจัยดังกล่าวให้เป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สวพส. นำองค์ความรู้โครงการหลวงสู่ชุมชน ลดจุดความร้อน เพิ่มพื้นที่สีเขียว หวังลดไฟป่า

ลอรีอัล เดินหน้า Beauty Tech จับมือ เวริลี ยกระดับสุขภาพผิวแบบแม่นยำ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ