TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistBook ReviewThe Psychology of Money: รวยหรือมั่งคั่ง เราเลือกได้

The Psychology of Money: รวยหรือมั่งคั่ง เราเลือกได้ [Book Review]

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) นักลงทุนในตลาดหุ้นที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดในโลก เคยกล่าวไว้ว่า
“Your emotional make-up’s more important than some super high degree of skill.” องค์ประกอบด้านอารมณ์ของคุณสำคัญกว่าทักษะความรู้ชั้นยอดบางอย่างซะอีก
ใครที่อยากจะเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ The Psychology of Money ของ Morgan Housel อดีตนักการเงินและคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ที่ได้รับหลายรางวัลจากงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เน้นเรื่องการลงทุน แต่แนะให้เรามีความคิดใหม่เกี่ยวกับเงินและการใช้เงินเพื่อสร้างความสุข และไม่สร้างพฤติกรรมที่จะเป็นกับดักฝังเรา

ด้วยบทเรียนเรื่องความมั่งคั่ง ความโลภ และ ความสุข Housel เน้นว่าคนอยากรวยเพราะอยากอวดความมั่งมีกับคนอื่น แต่เขาเชื่อว่าทุกคนควรฝันถึงความมั่งคั่งไม่ใช่ความรวย ความมั่งคั่งคือการที่เรามีเงินพอสำหรับสิ่งที่เราอยากได้และค่าใช้จ่ายที่เราคาดไม่ถึง ไม่ได้หมายถึงบ้านหรู รถหรู ของหรู ๆ ที่มีไว้แค่โชว์คนอื่น

เขาเชื่อว่าไม่มีสูตรสำเร็จในการสร้างความมั่งคั่ง เพราะไม่มีใครที่จะทำทุกอย่างได้หมือนคนอื่นทั้งหมด แม้ว่าจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน ไม่มีใครเดินตามคนอื่นได้แบบ 100% เนื่องจากทุกคนมีภูมิหลังที่ต่างกัน เช่น ปีที่เกิด ครอบครัว สังคม ที่ทำให้ความคิด ความเชื่อ และความรู้สึกที่กระตุ้นกระบวนการตัดสินใจที่ต่างกัน

เขาเริ่มด้วยเรื่องราวของ Robald Read ที่ทำงานในอู่ซ่อมรถ 25 ปี และเป็นคนทำความสะอาดห้างอีก 17 ปี ตอนเสียชีวิตเขามีเงินเก็บ 8 ล้านเหรียญ กับ Richard Fuscone ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์เมอร์ริล ลินช์ ที่จบจากฮาร์วาร์ด และเกษียณตัวเองตอนอายุ 40 แต่มาเจอวิกฤติการเงินปี 2008 เนื่องจากใช้เงินมากมายไปกับคฤหาสน์ 11 ห้องนอนที่แค่ค่าดูแลต่อปีอย่างเดียวก็เกิน 90,000 เหรียญ เมื่อเกิดวิกฤติ ทุกอย่างที่เขามีถูกยึดและขายทอดตลาด

ทำไมจุดจบของสองคนนี้ไม่เหมือนกัน ทำไมคนบางคนที่เรียนไม่จบปริญญา ไม่ได้รับการอบรมด้านการเงิน ไม่มีภูมิหลังหรือประสบการณ์ด้านการเงิน ถึงได้ประสบความสำเร็จในเรื่องการลงทุนมากกว่าคนที่ได้รับการศึกษาและอบรมอย่างดีที่สุด

Housel คิดว่าในเรื่องความสำเร็จทางการเงิน พฤติกรรมของคนสำคัญมากกว่าความรู้ และเขาใช้บทเรียนจากบุคคลที่มีอยู่จริงหลายเรื่อง เพื่อแนะให้ผู้อ่านตัดสินใจเรื่องเกี่ยวกับการเงินได้ดีขึ้น เพราะโลกของการเงินสมัยใหม่เป็นเรื่องใหม่ มีของใหม่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีสูตรสำเร็จ

เขาเริ่มด้วยเรื่องของ บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้ง Microsoft ในบทนี้ผู้เขียนให้บทเรียนว่า หลายครั้งความสำเร็จของคนก็มาจากโชค แต่ถ้าคนนั้นโด่งดัง เราก็จะบอกว่าไม่ใช่โชค แต่คนนั้นตัดสินใจได้ดี
จะเรียกว่าโชคของบิล เกตส์ได้ไหม ถ้าบอกว่าเขาเป็น 1 ในเด็ก 303 ล้านคนวัยเรียนระดับมัธยมทั่วโลกในปี 1968 ที่ได้ไปโรงเรียนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จนกระตุ้นให้เขาอยากตั้งบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ของตัวเอง

แต่หลายครั้งคนเราก็เจ๊งได้เพราะตัดสินใจผิดพลาด และถ้าคนนั้นเป็นตัวเราเอง เราจะบอกว่าเป็นเพราะความซวย แล้วจะทำยังไงให้เราไม่เจอความซวย และตัดสินใจได้ดีราวกับมีโชคช่วย
1 อย่าหลงใหลไปกับความสำเร็จของบางคน และอย่าดูถูกคนที่อยู่ต่ำกว่า เพราะไม่ใช่ว่าความสำเร็จทุกอย่างมาจากการทำงานหนัก และไม่ใช่ว่าคนจนทุกคนขี้เกียจ
2 อย่าลอกเลียนวิธีการของคนที่ประสบความสำเร็จคนใดคนหนึ่ง เพราะเราไม่สามารถมีอย่างเขาได้ทุกอย่าง ทั้งความคิด ประสบการณ์ และโชค แต่ให้เลือกวิธีการที่คนหลายๆคนใช้และสำเร็จ และปรับใช้กับตัวเอง
และเมื่อใดที่พลาด ก็ให้เรียนรู้จากมัน เพราะโชคดีและโชคร้ายมันก็เหมือนเหรียญที่มี 2 ด้าน

บทต่อ ๆ มา ว่าด้วยเรื่อง
-รู้ว่าเมื่อไหร่ควรพอ อย่าขยับเป้าหมายให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการเปรียบเทียบกับคนอื่นเป็นเรื่องที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นไม่มีประโยชน์ที่จะอยากได้เพิ่มอีกจนยอมเสียทุกอย่างที่มีอยู่
-อย่ามองหาผลตอบแทนที่สูงที่สุด แต่ให้หาผลตอบแทนระดับที่เราพอใจและอยู่ได้นาน ๆ (หลักการของบัฟเฟตต์ที่ลงทุนตั้งแต่อายุ 10 ปี จนปัจจุบันความมั่งคั่งของเขาเกิน 108 พันล้านเหรียญ)
-การสร้างความมั่งคั่ง (การมีเงินแบบไม่ต้องอวดรวย) ยาก แต่การรักษาไว้ยากกว่า
เมื่อปี 1929 ที่ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงเหว มีนักค้าหุ้นคนหนึ่งทำกำไรได้ในวันเดียว 3 พันล้านเหรียญ แต่อีก 4 ปีต่อมา เขาหายตัวไป เพราะกำไรในวันนั้นทำให้เขาผยอง ซื้อหุ้นเพิ่มด้วยการกู้จนหมดตัว
บทสรุปของ Housel คือ การหาเงินทำให้เราต้องเสี่ยง วาดฝันถึงกำไรและทำงานเพื่อให้ถึงฝัน แต่การรักษาเงินไว้คือการถ่อมตัว และกลัวว่าสิ่งที่ได้มาก็สามารถหายไปได้ เราต้องประหยัดและยอมรับว่าสิ่งที่ได้มาส่วนหนึ่งมาจากโชคและมันอาจจะไม่เกิดขึ้นอีก

Housel เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเก็บเงิน และอย่าใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยเกินรายได้ของตน

ทุกคนควรมีเงินเก็บ ลงทุนบ้าง (โดยนโยบายและเป้าหมายการลงทุนอาจปรับเปลี่ยนได้ แต่อย่าให้วางเป้าหมายระยะยาว อย่าใจร้อน
เพราะในหลาย ๆ กรณี การลงทุนระยะยาวให้ผลตอบแทนที่มากกว่า) และต้องมีสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว เผื่อความไม่แน่นอน

ท้ายเล่ม Housel เล่าถึงวิธีส่วนตัวในการสร้างความมั่งคั่ง เขาเกิดมาในครอบครัวที่พ่อเป็นหมอห้อง ER มีลูกเล็ก 3 คน พ่อทำงานมากว่า 20 ปี ใช้ชีวิตแบบประหยัดมาก ๆ และเก็บเงินจนมาถึงจุดที่คิดว่าพอกับงานและมีเงินเก็บเพียงพอสำหรับชีวิตในบั้นปลาย
Housel และภรรยาใช้ชีวิตคู่ด้วยกันตั้งแต่อายุยี่สิบต้น ๆ ทั้งคู่มีความคิดที่ตรงกันในการเก็บเงิน ทั้งคู่ตกลงกันว่าจะเก็บเงินทุกเดือน ไม่ว่าจะได้มากได้น้อย จนถึงวันที่เขามีพอในการซื้อบ้านโดยไม่กู้ แต่ก็ยังเก็บมาเรื่อย ๆ และเมื่อชีวิตการงานเติบโต เขาก็ยังใช้ชีวิตแบบพอเพียงเหมือนเดิม พอใจที่มีบ้านดี ๆ อยู่ มีรถดี ๆ ขับ ไปกินข้าวนอกบ้านบ้าง แต่ไม่มีอะไรที่หรูหรา ทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น พอที่จะเอาไปลงทุน และรอเก็บเกี่ยวผลตอบแทน

Housel เขียนหนังสือเล่มนี้โดยต่อยอดจากบทความชิ้นหนึ่งของเขาเองที่ตีพิมพ์ใน The Wall Street Journal หนังสือมียอดขายตั้งแต่ปี 2020 รวมมากกว่า 2 ล้านเล่ม ถือว่าเยอะมาก ๆ สำหรับหนังสือเกี่ยวกับการเงินที่คนทั่วไปจะคิดว่าอ่านยาก และเป็นเรื่องของคนที่มีเงิน

หนังสือฉบับภาษาอังกฤษมีศัพท์การเงินที่ถือว่าไม่เยอะมาก เพราะเขาเขียนเหมือนบอกให้เพื่อนฟัง มาให้ข้อคิดไม่ใช่ศาสตราจารย์มาเลคเชอร์เรา ความยากไปอยู่ตรงที่ข้ามไม่ค่อยได้ เพราะทุกตัวอย่างที่ยกมาคือการปูพื้นไปสู่จุดประสงค์หลักของแต่ละบท และสำหรับคนที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษ มีฉบับแปลไทย

จัดว่าเป็นหนังสือที่ไม่ใช่นวนิยายที่ควรอ่าน

หลากหลายมุมของความจริง [Book Review]

The Song of Achilles [Book Review]

ความเลว…ดูที่ตรงไหน – If We Were Villain [Book Review]

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ